รักษารากฟันมีขั้นตอนอย่างไร?

เมื่อเกิดฟันผุ อักเสบ หรือประสบอุบัติเหตุจนฟันบิ่น ฟันแตก หลายคนอาจกังวลว่าเมื่อไปพบทันตแพทย์แล้วจะต้องถูกถอนฟัน และต้องใส่ฟันปลอมทั้งซี่ไปตลอดชีวิต

มีคำถามเกี่ยวกับ รักษารากฟัน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

แต่ปัจจุบันมีวิธีที่สามารถรักษาฟันซี่นั้นเอาไว้ได้หากมาหาทันตแพทย์ตั้งแต่ในเริ่มมีอาการแรกๆ แถมยังอาจกลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิมอีกด้วย วิธีนั้นเรียกว่าการ “รักษารากฟัน” นั่นเอง

การรักษารากฟันคืออะไร?

การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือการกำจัดเนื้อฟัน เส้นประสาท และเส้นเลือดภายในซี่ฟันที่เกิดการติดเชื้อออก ให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ จากนั้นแทนที่ด้วยวัสดุอุดฟัน และครอบฟัน (Crown) เพื่อให้สภาพฟันดูเป็นปกติเหมือนเดิม

โดยปกติหากเกิดความเสียหายขึ้นที่โพรงประสาทฟัน เช่น เกิดการติดเชื้อ เกิดการอักเสบ จะมีทางเลือกในการรักษาหลักๆ อยู่ 2 ทาง คือการถอนฟัน และการรักษารากฟัน

ความแตกต่างของทั้ง 2 วิธีนี้ คือการรักษารากฟันสามารถเก็บฟันแท้ซี่นั้นเอาไว้ได้ ไม่ต้องใส่ฟันปลอมทั้งซี่เหมือนการถอนฟัน อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมของแต่ละคนให้

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

การรักษารากฟันอาจใช้เวลาตลอดระยะเวลารักษานาน และส่วนใหญ่ต้องมาพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง เนื่องจากทันตแพทย์ต้องรักษาอาการติดเชื้อให้หายสนิทก่อน จึงจะเริ่มกระบวนการต่อไปได้

ขั้นตอนที่อาจพบในการรักษารากฟัน อาจมีดังนี้

มีคำถามเกี่ยวกับ รักษารากฟัน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

  1. ทันตแพทย์จะทำการเอกซเรย์ช่องปาก เพื่อดูสภาพฟันและคลองรากฟันเพื่อดูว่าเกิดการติดเชื้อหรือไม่ และจะกำหนดแนวทางการรักษา
  2. จากนั้นทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ แม้บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บจากการที่เส้นประสาทถูกทำลายแล้ว หรืออาการยังไม่เป็นไม่เยอะก็ตาม แต่ยาระงับความรู้สึกก็จะทำให้รู้สึกสบายขึ้นขณะทำการรักษา
  3. ระหว่างรอให้ยาชาออกฤทธิ์ ทันตแพทย์อาจใช้แผ่นยางขนาดใหญ่ครอบไว้รอบพื้นที่ที่ทำฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ที่ทำการรักษาเลอะน้ำลาย
  4. เมื่อเตรียมการพร้อมแล้ว ทันตแพทย์จะทำการกรอฟันที่เสียหายนำเอาเนื้อฟัน เชื้อเบคทีเรีย และเนื้อเยื่อเส้นประสาทภายในออกทั้งหมด
  5. เมื่อนำส่วนที่เสียหายออกแล้ว ทันตแพทย์อาจฉีดพ่นโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) เพื่อทำความสะอาด
  6. ทัตแพทย์อาจให้ยาภายในซี่ฟันบรรเทาอาการอักเสบด้วย
  7. ทันตแพทย์จะนัดหมายครั้งต่อไปให้มาใส่วัสดุอุดฟัน เดือยฟัน และครอบฟันของจริง ในระหว่างนี้ทันตแพทย์จะใส่วัสดุอุดฟันชั่วคราวให้เพื่อปิดไม่ให้เศษอาหารหรือน้ำลายเข้าไปสะสม
  8. เมื่อวัสดุอุดฟันของจริงเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันโดยมีวัสดุ 2 ชนิด คือ วัสดุอุดฟันแกนกลาง (Gutta percha) และวัสดุปิดช่องว่างระหว่างแกนกลางกับผนังคลองรากฟัน (Sealer) เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าไปสะสมในระยะยาว
  9. จากนั้นทันตแพทย์จะการใส่ครอบฟันของจริง บางรายอาจต้องใส่เดือยฟันก่อนทำครอบฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำแนวทางให้

ขั้นตอนการรักษารากฟันอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ และความรุนแรงของอาการแต่ละคน สนใจเช็กราคารักษารากฟันจากคลินิกต่างๆ ได้ที่ลิงก์

รักษารากฟันเจ็บไหม?

ระหว่างรักษารากฟันอาจมีความรู้สึกเจ็บช่วงที่ฉีดยาชา แต่เมื่อยาออกฤทธิ์แล้วจะไม่รู้สึกเจ็บ โดยปากอาจรู้สึกชาไปออีก 2-3 ชั่วโมงหลังจากรักษารากฟันเสร็จแล้ว

ในช่วง 2-3 วันแรกหลังการรักษา อาจรู้สึกเสียวฟันหรือปวดฟันได้ เพราะเนื้อเยื่อยังคงมีการอักเสบจากแผลอยู่ ทันตแพทย์มักจ่ายยาแก้ปวดประเภท ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อบรรเทาอาการ

รักษารากฟันนานไหม?

การรักษารากฟันอาจใช้เวลา 45-90 นาที ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของซี่ฟันที่ทำการรักษา เพราะฟันแต่ละที่มีรากฟันไม่เท่ากัน เช่น ฟันกรามมีรากฟันถึง 4 ราก แต่ฟันหน้าอาจมีเพียงรากเดียวเท่านั้น

ส่วนจำนวนครั้งในการมาหาทันตแพทย์ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน แต่ส่วนมากมักต้องมาพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง

หลังรักษารากฟันควรทำอย่างไร?

ปกติแล้วผู้รับการรักษารากฟันสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที โดยไม่ต้องหยุดหงานหรือหยุดเรียน เพียงแต่อาจมีข้อควรปฎิบัติเล็กน้อย ดังนี้

  • หลังจากรักษาเสร็จแล้ว ควรรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อนกินอาหาร ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
  • ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารด้วยฟันซี่ที่รักษาระหว่างที่รอวัสดุอุดฟันและครอบฟันของจริง
  • หากอาการปวด บวม ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรแจ้งทันตแพทย์ทันที
  • หมั่นแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ เพื่อรักษาสุขอนามัยในช่องปาก
  • ควรพบทันตแพทย์ปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อประเมินความเรียบร้อยของช่องปากตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ
  • หากทำการรักษาครั้งใหม่ หรือใช้บริการคลินิกทันตกรรมอื่นๆ ภายในช่องปาก เช่น ฟอกสีฟัน ควรแจ้งกับทันตแพทย์ทุกครั้งว่ามีวัสดุอุดฟันตำแหน่งใดบ้าง

โดยสรุปแล้ว การรักษารากฟันเป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากเก็บฟันแท้ของตัวเองเอาไว้ และยังเป็นทางเลือกการรักษาที่มีโอกาสสำเร็จสูงมาก หากดูแลรักษาความสะอาดดีก็จะอยู่ได้นานมาก

มีคำถามเกี่ยวกับ รักษารากฟัน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ