ถุงน้ำในรังไข่ คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกัน ครบ จบในที่เดียว scaled

ถุงน้ำในรังไข่ คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกัน ครบ จบในที่เดียว

ปวดท้องในช่วงเวลามีประจำเดือน ประกอบกับปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย ประจำเดือนมาผิดปกติ คุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ไหม? อย่าชะล่าใจ คิดว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะคุณอาจมีภาวะถุงน้ำในรังไข่ ภาวะถุงน้ำในรังไข่คืออะไร มีสาเหตุ อาการ วิธีการรักษา และป้องกันอย่างไร อันตรายแค่ไหน มาหาคำตอบกันได้เลย

ถุงน้ำในรังไข่ คืออะไร?

ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cyst) หรือที่เรียกว่า ซีสต์รังไข่ คือภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นภายในรังไข่ หรือบริเวณรอบรังไข่ เป็นหนึ่งในภาวะที่พบบ่อยมากประมาณ 1 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ถุงน้ำจะมีลักษณะคล้ายลูกโป่งที่มีของเหลวบรรจุอยู่ ซึ่งจะมีทั้งถุงน้ำที่เกิดขึ้นตามปกติ ไม่ก่อให้เกิดอันราย และถุงน้ำที่ผิดปกติ และอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

สาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่คืออะไร?

ถุงน้ำในรังไข่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการที่เซลล์บริเวณรังไข่แบ่งตัวผิดปกติ จนกลายเป็นถุงน้ำ หรือเกิดจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โดยไปเจริญในรังไข่ หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม ที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่ ก็อาจส่งผลให้คนใกล้ชิด หรือบุตรหลาน มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่ได้ เป็นต้น

กังวลใจใช่ไหม? ว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หรือเปล่า ไม่รู้จะปรึกษาใคร ทักหา HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยดูแลคุณ ปรึกษาความกังวลใจของคุณกับคุณหมอเฉพาะทางผ่านไลน์ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกเลย!

ถุงน้ำในรังไข่มีกี่ชนิด?

ถุงน้ำที่รังไข่ มีหลายชนิด ซึ่งจะมีลักษณะและความผิดปกติที่แตกต่างกัน โดยชนิดของถุงน้ำรังไข่ที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ถุงน้ำที่เกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง (Functional Cyst) เป็นถุงน้ำที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ุของเพศหญิง มักเกิดขึ้นพร้อมกับรอบเดือน จากนั้นจะค่อยๆ ยุบตัวและฝ่อลงไปโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
  • ถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) เป็นถุงน้ำรังไข่ที่จัดอยู่ในเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง และไม่ใช่ชนิดเดียวกับมะเร็ง เกิดจากการที่เซลล์มีการแบ่งตัวผิดปกติ โดยภายในถุงน้ำ มักตรวจพบน้ำ ไขมัน เส้นผม กระดูก หรือฟันอยู่ด้วย สามารถตรวจพบได้ด้วยการเอกซเรย์ หรือตรวจอัลตราซาวด์
  • ถุงน้ำที่มีลักษณะคล้ายเนื้องอก (Endometrioma) เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โดยไปเจริญบริเวณรังไข่ จนทำให้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวภายในคล้ายเลือดเก่า สีข้นคล้ายช็อกโกแลต ทำให้มีอีกชื่อเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)

อาการของภาวะถุงน้ำในรังไข่เป็นอย่างไร?

อาการจะขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำ บางรายอาจไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย และบางรายอาจมีอาการรุนแรง สามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
  • ปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย
  • ท้องขยายใหญ่ขึ้น 
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • อ้วนขึ้น หรือท้องขยายใหญ่ขึ้น แต่รับประทานเท่าเดิม
  • ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย หรือมามากผิดปกติ
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากมีถุงน้ำรังไข่แตก หรือมีการบิดของถุงน้ำ ในกรณีนี้ควรรีบพบแพทย์ทันที อาจทำให้ตกเลือดในช่องท้องและมีโอกาสเสียชีวิตได้ 

หากพบอาการข้างต้น จำเป็นต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดว่าเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่ชนิดใด และแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน เพื่อวางแผนการรักษา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอันตรายได้

อาการที่เป็นอยู่ใช่ภาวะถุงน้ำในรังไข่ไหม? อยากตรวจเพิ่มเติมให้มั่นใจ ปรึกษาทีม HDcare หาแพ็กเกจราคาดี จาก รพ. ชั้นนำใกล้คุณได้ ที่นี่ 

วิธีการรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่ มีวิธีไหนบ้าง?

การรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่ ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาถึงระดับความรุนแรงของโรค โดยจะมี 2 วิธีหลักๆ ดังนี้

  1. ติดตามอาการ รับประทานยา หรือฉีดยา การรักษาโรคถุงน้ำในรังไข่ในกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง เบื้องต้นแพทย์จะนัดติดตามอาการ หากสงสัยว่าจะเป็นถุงน้ำรังไข่ชนิด Functional Cyst อาจตรวจติดตามว่าจะยุบไปเองหรือไม่ หรือมีขนาดโตขึ้นไหม 

ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจจะให้รับประทานยาคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุมกำเนิดสักระยะ แล้วนัดมาตรวจซ้ำ หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือไม่ยุบลง อาจสันนิษฐานได้ว่าไม่ใช่ Functional Cyst และมักต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

2. การผ่าตัด กรณีที่แพทย์ประเมินแล้วว่า ลักษณะของถุงน้ำรังไข่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือเป็นถุงน้ำชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่มีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ

  1. การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่แบบเปิดหน้าท้อง หรือการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
    เป็นการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง อาจเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ ความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำ ขนาดของมดลูก และความชำนาญของแพทย์ที่ทำการผ่าตัด 

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ เป็นการผ่าตัดพื้นฐาน ที่สามารถรักษาความผิดปกติได้ทุกกรณี แต่เนื่องจากเป็นการผ่าตัดแบบเปิด ผู้ป่วยจึงจะมีแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง รวมทั้งใช้ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่า โดยจะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ​ 3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์

2. การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่โดยการส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง
เป็นการผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง โดยจะกรีดเปิดแผลใต้สะดือ ขนาดเพียง 0.5-1 เซนติเมตร ประมาณ 2-3 จุด เพื่อสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องท้อง และทำการผ่าตัดผ่านกล้อง

วิธีนี้ได้รับความนิยมมากกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เนื่องจากแผลจะมีขนาดเล็กเจ็บน้อยกว่า และฟื้นตัวได้ไวกว่า ส่วนใหญ่จะพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1-3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพังผืดในช่องท้อง และภาวะแทรกซ้อนด้วย

มีภาวะถุงน้ำในรังไข่ ต้องผ่าตัด ไม่รู้จะเลือกวิธีไหนดี เหมาะกับเรามากที่สุด? ทักมาหาทีม HDcare ช่วยทำนัดปรึกษากับคุณหมอเฉพาะทาง สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน คลิกที่นี่เลย

การป้องกันภาวะถุงน้ำในรังไข่ ทำได้หรือไม่?

การป้องกันภาวะถุงน้ำในรังไข่ ยังไม่มีวิธีที่แน่ชัด เพราะถุงน้ำในรังไข่ เกิดได้จากหลายปัจจัย แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้มีเกิดความผิดปกติที่รุนแรงได้ ดังนี้

  • การอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ ช่วยให้พบความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับมดลูกและรังไข่ได้ 
  • ตรวจภายใน คัดกรองความผิดปกติของโรคทางนรีเวช 
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรทำเป็นประจำทุกปี สำหรับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรเริ่มตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3 ปี ผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศ แนะนำให้เริ่มตรวจภายในเมื่ออายุ 30 ปีเป็นต้นไป 

อาการปวดท้องน้อยบ่อยๆ ปวดท้องประจำเดือนมาก ประจำเดือนผิดปกติ เป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกาย ว่ารังไข่ของคุณอาจผิดปกติ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการผิดปกติเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจภายในทุกปี จะช่วยให้เราป้องกันความเสี่ยงได้ทันท่วงที

ถ้ายังไม่แน่ใจว่ากำลังป่วยเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่รึเปล่า ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรค จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top