the most common viral hepatitis and vaccines disease definition

ตับอักเสบจากไวรัส รู้สาเหตุและอาการ ก่อนเสี่ยงมะเร็งตับ

ตับอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อไวรัส หรือหลายคนมักจะคุ้นหูในชื่อของโรคไวรัสตับอักเสบ (Viral hepatitis) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับในอนาคตได้ด้วย

ตับอักเสบจากไวรัส คืออะไร 

ตับอักเสบจากเชื้อไวรัสเป็นภาวะที่ตับเกิดความเสียหายจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทำให้ตับทำงานได้น้อยลง หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา 

การอักเสบของตับเป็นผลมาจากภูมิคุ้มกันร่างกายเข้ามาต่อต้าน และพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมในตับ นั่นก็คือ เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี 

เชื้อไวรัสสามารถก่อให้เกิดอาการตับอักเสบแบบเฉียบพลัน และอาการตับอักเสบเรื้อรัง กรณีที่เป็นแบบเฉียบพลันมักจะหายไปได้ โดยไม่ก่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง ส่วนแบบเรื้อรังมักจะเป็นการอักเสบต่อเนื่องยาวนาน มีโอกาสเกิดตับแข็ง โรคตับ และมะเร็งตับตามมา 

ตับอักเสบจากไวรัส เกิดขึ้นได้อย่างไร

ไวรัสตับอักเสบมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดไวรัสตับอักเสบที่พบได้บ่อยในประเทศไทย คือ ไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี แต่ละชนิดจะมีช่องทางการติดต่อต่างกันไป 

ตับอักเสบจากไวรัสชนิด เอ หรือไวรัสตับอักเสบเอ

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลพิโคร์นาไวรัส (Picornavirus) สามารถติดต่อผ่านการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส น้ำหรืออาหารนั้นปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัส   

เชื้อไวรัสตับอักเสบเอมีระยะฟักตัวประมาณ 2–6 สัปดาห์ ถึงเริ่มแสดงอาการ ในเด็กมักไม่ค่อยมีอาการหรือมีน้อยมาก ส่วนผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและชัดเจนกว่า อีกทั้งเชื้อไวรัสนี้สามารถปนออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยได้ ทำให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่าย

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะทำให้ตับอักเสบเฉียบพลัน และอาจทำให้อวัยวะอื่นอักเสบได้ด้วย เช่น เส้นเลือดอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เมื่อรักษาหายแล้วจะไม่เป็นพาหะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง

ตับอักเสบจากไวรัสชนิด บี หรือไวรัสตับอักเสบบี

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีพบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น ติดต่อผ่านสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ เช่น เลือด น้ำลาย น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำนม น้ำตา หรือน้ำเหลือง ทำให้แพร่เชื้อได้หลายทาง เช่น 

  • การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน 
  • การได้รับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อจากการใช้เข็มฉีดยา ของมีคม หรือสิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 
  • การแพร่จากแม่สู่ลูกระหว่างคลอด หรือการเลี้ยงดู 
  • การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ

เชื้อไวรัสตับอักเสบบีมักทำให้ตับแบบเฉียบพลันมากกว่า มีระยะฟักตัวประมาณ 1–3 เดือน ถึงเริ่มแสดงอาการ ส่วนใหญ่มีโอกาสหายได้เองจากการที่ภูมิคุ้มกันกำจัดเชื้อออก มีเพียงบางส่วนที่เชื้อหลงเหลืออยู่ กลายเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งยังแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ แม้ไม่มีอาการแสดง

อีกกรณีพบบ่อยในประเทศไทย มักเป็นการติดเชื้อแต่แรกเกิดจากแม่ขณะคลอด ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของเด็กเล็กยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้หมด เชื้อยังคงอยู่ในร่างกายจนโต ทำให้เป็นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

ตับอักเสบจากไวรัสชนิด ซี หรือไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซีแบ่งย่อยได้หลายสายพันธุ์ สายพันธุ์พบบ่อยในประเทศไทย คือ สายพันธุ์ที่ 1 และสายพันธุ์ที่ 3 ทำให้การรักษาจำเป็นต้องรู้ชนิดของไวรัสตับอักเสบซีด้วย 

ไวรัสตับอักเสบซีสามารถติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบบี  โดยเฉพาะทางเลือด จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาซ้ำ ของมีคมหรือสิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 

ไวรัสตับอักเสบซีมักทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังมากกว่า เพราะมีอาการไม่ชัดเจนช่วงแรก เลยไม่รู้ตัวว่ากำลังติดเชื้ออยู่ ยกเว้นได้รับการตรวจเลือด หรือตรวจเจอโดยบังเอิญจากการตรวจทางการแพทย์อื่น ๆ  

อาการตับอักเสบจากไวรัส เป็นแบบไหน

เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ตับก็จะก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบ ตับทำงานผิดปกติ ส่วนใหญ่แล้วอาการจะคล้ายคลึงกันไม่ว่าชนิดไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และสุขภาพโดยรวมของแต่ละคน

อาการตับอักเสบเฉียบพลัน
ช่วงแรกมักไม่ค่อยมีอาการชัดเจน อาการที่มักพบได้ เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดท้องหรือเจ็บชายโครงขวา ปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ ดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง)

อาการตับอักเสบเรื้อรัง
มีเพียงไวรัสตับอักเสบบีและซีเท่านั้นที่ทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง อาการที่มักพบได้ คือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือบางช่วงอาจไม่มีอาการใดเลย การปล่อยให้เกิดการติดเชื้อไวรัสไปเรื่อย ๆ จะทำให้เซลล์ตับถูกจนนำไปสู่การเกิดภาวะตับแข็ง และเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งตับในอนาคต

อีกสิ่งที่น่ากลัวคือ คนที่เป็นตับแข็งและมะเร็งตับมักไม่มีอาการช่วงแรก อาจรู้สึกอ่อนเพลียเล็กน้อย พอโรคลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อน อาการจะหนักขึ้น เช่น อาเจียนเป็นเลือด ท้องบวม เท้าบวม ตัวเหลือง ตาเหลือง ผู้ป่วยถึงเริ่มสังเกตได้แล้วมาพบแพทย์

การป้องกันตับอักเสบจากไวรัส

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีลดความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีเพียงวัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ และวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ส่วนไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกัน

  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 612 เดือน
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เริ่มฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ฉีดเข็มแรกตามนัด เข็มสองห่างจากเข็มแรก 12 เดือน และเข็มสาม 3 ห่างจากเข็มสอง 6 เดือน 

นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะก่อให้เกิดโรคร่วมด้วย  

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งในร่างกายของผู้อื่น
  • รักษาสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลางในการรักินอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่กินอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส กินอาหารปรุงสุก
  • มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัยป้องกันหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือตรวจเลือดดูค่าตับตามความเสี่ยง ทำให้รู้ถึงสุขภาพโดยรวม และความผิดปกติของสุขภาพตับ หากมีความเสี่ยงจะได้รีบรักษาก่อนอาการรุนแรง
  • ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเข็มฉีดยา ของมีคม และของใช้ส่วนตัว ซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนของเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ

ตับอักเสบ ภัยเงียบคุกคามตับ ป้องกันก่อนด้วย โปรวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ โปรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี จองก่อนหมดโปรที่ HDmall.co.th

Scroll to Top