varicose veins screening selfcheck

6 สัญญาณ คุณอาจเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอด พร้อมวิธีตรวจวินิจฉัย

เส้นเลือดขอด เป็นภาวะผิดปกติของเส้นเลือดดำที่ทำให้เลือดเลือดขยายขนาดใหญ่ขึ้น โดยทั่วไปมักรับรู้กันว่าเส้นเลือดขอดเป็นปัญหาด้านความงาม ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจ ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่ก่ออันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ถ้าภาวะนี้รุนแรงขึ้นโดยไม่ได้รับการรักษา บางกรณีผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการเจ็บ ปวด ไม่สบายตัวขึ้นได้

เส้นเลือดขอดเกิดที่บริเวณ ขา มากที่สุด แต่เกิดที่บริเวณอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน เช่น เส้นเลือดอันฑะขอด เส้นเลือดขอดในทางเดินอาหาร แม้แต่ ริดสีดวงทวาร ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดเกิดจากความดันภายในเส้นเลือด ร่วมกับความเสื่อมของผนังเส้นเลือดหรือลิ้นเปิดปิดภายในเส้นเลือดซึ่งหน้าที่ควบคุมทิศทางการไหลของเลือด

6 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเป็นเส้นเลือดขอด

ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะสัญญาณบอกว่าเป็นเส้นเลือดขอดบริเวณขา ซึ่งเป็นส่วนของร่างกายที่พบเส้นเลือดขอดได้บ่อยที่สุด โดยเราสามารถสังเกตสัญญาณผิดปกติ ของเส้นเลือดขอดได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  1. เส้นเลือดดำมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีลักษณะขอด คด จนดันผิวหนังให้นูนออกมา
  2. รู้สึกคันๆ แสบร้อน หรือไม่สบายตัวรอบๆ เส้นเลือดดำที่ปูดนูนขึ้นมา
  3. ผิวหนังรอบๆ เส้นเลือดดำเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ
  4. รู้สึกปวดเมื่อยภายในขา
  5. รู้สึกหนักๆ ที่ขาหรือบริเวณเท้า
  6. เป็นตะคริวที่ขาเวลานอนหลับ

พบความผิดปกติ แต่ยังไม่ชัวร์ว่าเป็นเส้นเลือดขอดหรือเปล่า? อยากตรวจเพิ่มเติมให้มั่นใจ ปรึกษาแอดมิน หาแพ็กเกจราคาดีใกล้คุณได้ ที่นี่

ถ้าเป็นเส้นเลือดขอด ปล่อยไว้นาน แล้วสังเกตพบเลือดออกจากเส้นเลือดออกหรือเกิดแผลเรื้อรังขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะบาดแผลอาจเกิดการติดเชื้อ นำไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่นที่ร้ายแรงกว่าเส้นเลือดขอดโดยทั่วไปได้

วิธีตรวจวินิจฉัยเส้นเลือดขอด

วิธีการวินิจฉัยเส้นเลือดขอดนั้นไม่ซับซ้อน โดยแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดขอดได้ ด้วยการตรวจร่างกาย ซักอาการ ประวัติครอบครัว พฤติกรรมการใช้ชีวิต ระหว่างตรวจแพทย์อาจดูบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดด้วยตาเปล่า โดยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าเป็นนั่งหรือยืน

หรืออาจสั่งตรวจอัลตราซาวด์ชนิดที่เรียกว่า Duplex Ultrasound เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดภายในเส้นเลือดดำ และดูโครงสร้างเส้นเลือดดำในขา

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจเส้นเลือดขอดด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดดำของผู้ป่วย แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการอุดตัน หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ในเส้นเลือด จากนั้นจึงวางแผนการรักษต่อไป

ทั้งนี้ การรักษาเส้นเลือดขอดก็มีหลากหลายวิธี โดยวิธีที่นิยมเช่น รักษาเส้นเลือดขอดด้วยคลื่นวิทยุ RFA รักษาเส้นเลือดขอดด้วยกาวทางการแพทย์ หรือ ผ่าตัดรักษาเส้นเลือดขอด โดยแต่ละวิธีก็จะเหมาะกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อผลลัพธ์ที่ดี

แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นเลือดขอดจะไม่ใช่ภาวะอันตราย แต่ก็เป็นความผิดปกติที่ผู้ป่วยไม่ควรละเลย ถ้าเกิดเส้นเลือดขอดขึ้นแล้ว นอกจากควรพยายามปรับพฤติกรรมเพื่อให้อาการทุเลาลง เช่น ไม่นั่งหรือยืนนานๆ แต่หากเลี่ยงไม่ได้ เมื่อกลับบ้านให้นอนลงแล้วยกขาสูงขึ้นกว่าระดับหัวใจ ฯลฯ 

ยังจำเป็นต้องสังเกตบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดว่ามีความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เช่น สี ขนาด รวมไปถึงความรู้สึกคัน เจ็บ เมื่อย ที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นรวมถึงบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเลือดขอดที่ผู้ป่วยเป็นจะไม่พัฒนากลายเป็นโรคอื่นๆ ที่อันตรายขึ้น หรือถ้าดูเหมือนจะเกิดอาการแทรกซ้อน จะได้แก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

ถ้าสังเกตสัญญาณเส้นเลือดขอดด้วยตนเองแล้วอยากรักษา ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจรักษาเส้นเลือดขอด จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top