trigger finger treatment comparison

เปรียบเทียบวิธีรักษาโรคนิ้วล็อค ผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด ต่างกันอย่างไร?

โรคนิ้วล็อคมีสาเหตุมาจากการใช้งานนิ้วอย่างหนักจนเกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็น ได้ยินแบบนี้หลายคนก็อาจเข้าใจว่า ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ๆ ต้องพักนิ้วเป็นเดือน และคงจะมีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อนมาก

มีคำถามเกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อค? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

แต่ความจริงแล้วการรักษาโรคนิ้วล็อคไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป และการผ่าตัดนิ้วล็อคในปัจจุบันก็ยังมีขั้นตอนที่เรียบง่าย มีแผลผ่าตัดเล็ก และพักฟื้นเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

นิ้วล็อคคืออะไร? ใช้งานนิ้วหนักไป รู้หรือไม่ว่าเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อค อ่านต่อคลิกเลย

การเลือกวิธีรักษาโรคนิ้วล็อคขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของโรค ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1. การรักษาโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัด

การผ่าตัดโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัด เป็นการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบประคับประคองอาการให้ทุเลาลง มุ่งเน้นไปที่การปรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น

  • งดการใช้มือข้างที่มีอาการ โดยผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกำ งอ และเหยียดนิ้ว เพื่อให้นิ้วได้พักการใช้งานที่หนักเกินไป
  • การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักการใช้งานนิ้วได้มากขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องเผลอกำ งอ หรือเหยียดนิ้ว นิยมใส่ร่วมกับการงดใช้งามือเป็นการชั่วคราว
  • การกินยา ส่วนมากมักเป็นการกินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ และแพทย์มักแนะนำให้งดการใช้งานมือร่วมด้วย เพื่อให้อาการทุเลาลงเร็วขึ้น
  • การฉีดยา เป็นวิธีรักษาที่นิยมใช้ถัดจากวิธีกินยา หากกินยาแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์มักพิจารณาฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบ
  • การประคบเย็นและประคบอุ่น เพื่อลดอาการอักเสบและอาการติดขัดของข้อนิ้ว
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นที่นิ้ว แต่ต้องรักษากับแพทย์และนักกายภาพบำบัดเท่านั้น การทำกายภาพบำบัดนิ้วผิดวิธีอาจทำให้อาการของโรคนิ้วล็อครุนแรงขึ้นได้ หรือยิ่งทำให้เส้นเอ็นได้รับบาดเจ็บกว่าเดิม

การรักษาโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัดเหมาะกับใคร

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด นิยมใช้ในผู้ป่วยที่อาการจากโรคนิ้วล็อคอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง ยังสามารถกำและเหยียดนิ้วได้ด้วยตนเอง แพทย์จะพิจารณาให้ลองรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดระยะหนึ่งก่อน และจะนัดหมายกลับมาตรวจดูอาการอีกเป็นระยะๆ 

ข้อดีของการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัด

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีผ่าตัด
  • ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ และไม่มีแผลผ่าตัด

ข้อจำกัดของการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัด

  • เห็นผลลัพธ์ได้ช้า หรือเห็นผลลัพธ์ไม่ชัดเจน
  • มักเห็นผลลัพธ์ได้เพียงชั่วคราว 
  • ใช้วิธีรักษาเดิมไม่ได้ตลอด เช่น วิธีฉีดยาเสตียรอยด์สามารถฉีดได้ที่นิ้วเดิมประมาณ 2-3 ครั้งเท่านั้น 
  • หากรักษาหายแล้ว มักมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง
  • รักษาได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หากอาการอักเสบรุนแรงหรือกำแบมือเองไม่ได้ จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดแทน

ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบไม่ผ่าตัด

ค่ารักษาพยาบาลโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัดมีราคาค่อนข้างถูก เช่น ยาแก้ปวดหรือยาอักเสบอาจมีราคาหลักร้อยบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่วิธีรักษาที่แพทย์และผู้ป่วยเลือกใช้

มีคำถามเกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อค? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

2. การรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัด

การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เป็นการแก้ไขต้นตอที่ทำให้เกิดโรคนิ้วล็อคโดยทันที โดยการผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นส่วนที่บวมจากการอักเสบออก ทำให้เส้นเอ็นที่อยู่ด้านในปลอกหุ้มคลายตัวออก สามารถกลับมาเคลื่อนไหว งอ และเหยียดได้อย่างคล่องตัวอีกครั้ง

ในปัจจุบันการผ่าตัดโรคนิ้วล็อคเป็นการผ่าตัดเล็ก สามารถทำหัตถการได้ในห้องตรวจ ไม่จำเป็นทำในห้องผ่าตัด แบ่งออกได้ 2 เทคนิคหลักๆ ได้แก่

  1. เทคนิคการผ่าตัดแบบเปิด (Open Trigger Finger Release Surgery) เป็นการกรีดเปิดแผลบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็นส่วนที่อักเสบ จากนั้นแพทย์ตัดและนำปลอกหุ้มเส้นเอ็นส่วนที่อักเสบออก และเย็บปิดแผล ขนาดของแผลจะอยู่ที่ประมาณ 3-7 มิลลิเมตร เป็นวิธีผ่าตัดที่มีความแม่นยำสูง เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดโรคนิ้วล็อคได้ชัดเจนนัก รวมถึงผู้ที่มีอาการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นอย่างหนัก
  2. เทคนิคการผ่าตัดแบบเจาะผ่านผิวหนังหรือแบบสะกิด (Percutaneous Trigger Finger Knife) เป็นการผ่าตัดที่ไม่มีการผ่าเปิดแผลที่ผิวหนังเลย โดยแพทย์จะใช้มีดผ่าตัดที่มีลักษณะเป็นเข็มขนาดเล็กเจาะลงไปที่โคนนิ้ว เข็มผ่าตัดจะเข้าไปสะกิดและตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นส่วนบวมออก ขนาดรูแผลจะอยู่ที่ 2 มิลลิเมตร เหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดโรคนิ้วล็อคได้ชัดเจน และมีอาการอักเสบในระดับปานกลาง

การรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัดเหมาะกับใคร

การรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัดเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นในระดับปานกลาง-รุนแรง หรือไม่สามารถกำแบนิ้วได้เองอีก รวมถึงนิยมใช้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดมาก่อน แต่อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้วิธีผ่าตัดแทน

ข้อดีของการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัด

  • เห็นผลการรักษาเร็ว
  • เป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาทำหัตถการโดยเฉลี่ยไม่เกิน 45 นาที
  • แทบไม่ต้องเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า และไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
  • แผลหายภายในไม่ถึง 1 สัปดาห์
  • แผลมีขนาดเล็กไม่ถึง 1 เซนติเมตร เจ็บแผลน้อย
  • มีตัวเลือกในการผ่าตัด 2 รูปแบบ สามารถรักษาผู้ป่วยได้หลากหลายอาการ

ข้อจำกัดของการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัด

  • มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีไม่ผ่าตัด
  • มีโอกาสเจ็บแผลได้บ้าง แต่มักอยู่ในระดับเพียงเล็กน้อย

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัด

  • การบาดเจ็บที่เส้นประสาทรอบปลอกหุ้มเส้นเอ็น แต่มักเป็นอยู่เพียงชั่วคราว และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องกลับมารักษากับแพทย์
  • อาการชารอบๆ นิ้วที่ผ่าตัด มักเป็นอยู่เพียงชั่วคราวเช่นกัน และสามารถหายได้เอง
  • อาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปจากการผ่าตัด เช่น ภาวะแผลติดเชื้อ แผลบวมช้ำ มีเลือดออกจากแผล 

ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนิ้วล็อคแบบผ่าตัด

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโรคนิ้วล็อคจะอยู่ที่ประมาณ 8,000-15,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้บริการของสถานพยาบาลแต่ละแห่ง

กำแบนิ้วไม่คล่อง อยากผ่าตัดนิ้วล็อคให้หายเร็วๆ แถมได้โปรโมชั่นค่าผ่าตัดสุดคุ้ม ทักหาทีมงาน HDcare ได้ที่นี่เลย

การรักษาโรคนิ้วล็อคสามารถทำได้หลายวิธี และไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยวิธีผ่าตัดเสมอไป หรือหากใครจำเป็นต้องผ่าตัด การผ่าตัดรักษาโรคนี้ก็ไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำได้ในห้องตรวจที่ให้บรรยากาศผ่อนคลายกว่าได้เลย

ดังนั้นหากรู้สึกว่าตนเองมีอาการคล้ายกับโรคนิ้วล็อค อย่าลังเลที่จะรีบเดินทางมาปรึกษาแพทย์ เพื่อไม่ให้อาการของโรคนี้สร้างอุปสรรคในการทำงานหรือการใช้ชีวิตของคุณ

มีอาการนิ้วล็อค รักษาด้วยวิธีไหนดี? ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจผ่าตัดจาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

มีคำถามเกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อค? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ HDcare โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ พยาบาล HDcare