phenylalanine

Phenylalanine (ฟีนิลอะลานิน)

ฟีนิลอะลานิน (Phenylalanine) คือ กรดอะมิโนที่เป็น “หน่วยโครงสร้าง” ของโปรตีน โดยฟีนิลอะลานินมีอยู่สามแบบคือ D-phenylalanine, L-phenylalanine และแบบที่ผสมขึ้นจากห้องปฏิบัติการณ์ที่เรียกว่า DL-phenylalanine สำหรับ D-phenylalanine นั้นถูกจัดว่าเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น ที่บทบาทยังคงเป็นปริศนา ส่วน L-phenylalanine จัดว่าเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นและเป็นฟีนิลอะลานินเพียงแบบเดียวที่พบในโปรตีน อาหารที่อุดมไปด้วย L-phenylalanine คือเนื้อสัตว์, ปลา, ไข่, ชีส, และนม

ประโยชน์และสรรพคุณของ Phenylalanine

ฟีนิลอะลานินถูกใช้รักษาโรคผิวหนังที่เรียกว่าโรคด่างขาว (vitiligo), ภาวะซึมเศร้า (depression), โรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)), โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease), โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis), บรรเทาอาการเจ็บปวด, ใช้ในการระงับความเจ็บปวดแบบฝังเข็ม, โรคข้ออักเสบ (osteoarthritis), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), ลดน้ำหนัก, และอาการถอนแอลกอฮอล์

บางคนใช้วิธีทาฟีนิลอะลานินบนผิวหนังเพื่อรักษาโรคด่างขาวและจุดด่างดำบนผิวหนังเนื่องจากการแก่ตัว (กระผู้สูงอายุ (liver spots))

ฟีนิลอะลานินออกฤทธิ์อย่างไร?

ร่างกายใช้ฟีนิลอะลานินในการผลิตสารเคมีส่งสัญญาณ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าฟีนิลอะลานินทำงานได้อย่างไร

การใช้และประสิทธิภาพของฟีนิลอะลานิน

ภาวะที่อาจใช้ฟีนิลอะลานินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคด่างขาว (vitiligo) การทาน L-phenylalanine ร่วมกับการทาครีมกัน UVA หรือทา L-phenylalanine บนผิวหนังอาจช่วยรักษาโรคด่างขาวได้ดีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ภาวะที่ฟีนิลอะลานินอาจไม่สามารถรักษาได้

  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าผู้ป่วย ADHD จะมีระดับของกรดอะมิโนอย่างฟีนิลอะลานินที่ต่ำ ดังนั้นการรักษาด้วยฟีนิลอะลานินอาจทำให้อาการของ ADHD ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานฟีนิลอะลานินก็ไม่ได้ส่งผลดังที่คาดการณ์ไว้แต่อย่างใด
  • ความเจ็บปวด การทาน D-phenylalanine ไม่ได้ช่วยลดความเจ็บปวดลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ฟีนิลอะลานินรักษาได้หรือไม่

  • การระงับประสาทแบบฝังเข็ม (Acupuncture anesthesia) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน D-phenylalanine อาจเพิ่มผลจากการระงับประสาทแบบฝังเข็มก่อนการถอนฟันได้ อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้ก็ไม่อาจเพิ่มผลของการระงับประสาทแบบฝังเข็มกับอาการปวดหลังได้
  • ผิวหนังแก่ตัว งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทาครีม undecylenoyl phenylalanine 2% ที่ผิวหนังสองครั้งต่อวันนาน 12 สัปดาห์สามารถลดรอยจุดบนผิวหนังจากการแก่ตัวได้
  • ภาวะติดสุรา (Alcoholismงานวิจัยกล่าวว่าการทาน D-phenylalanine, L-glutamine, และ L-5-hydroxytryptophan นาน 40 วันสามารถลดอาการจากภาวะถอนแอลกอฮอล์ได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depressionมีข้อมูลจากงานวิจัยทางคลินิกที่กล่าวว่า L-phenylalanine หรือ DL-phenylalanin อาจรักษาภาวะซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ยังคงต้องมีการพิสูจน์มากกว่านี้ และการทาน D-phenylalanine ก็ไม่ได้ช่วยให้อาการของภาวะนี้ดีขึ้น
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosisงานวิจัยกล่าวว่าการใช้ Cari Loder’s regiment ที่ประกอบด้วย L-phenylalanine, lofepramine, และการฉีดวิตามิน B12 เข้ากล้ามเนื้อเป็นเวลา 24 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยแก้ไขภาวะพิการของผู้ป่วยจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งแต่อย่างใด
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s diseaseมีข้อมูลงานวิจัยที่กล่าวว่า D-phenylalanine อาจลดอาการของโรคพากินสันได้ อย่างไรก็ตามหากเป็นการทาน DL-phenylalanine นั้นไม่อาจได้ผลเช่นนั้น
  • ภาวะขาดฟีนิลอะลานิน (Phenylalanine deficiencyงานวิจัยกล่าวว่าการทานฟีนิลอะลานินอาจช่วยบรรเทาภาวะขาดฟีนิลอะลานินในเด็กที่เป็นโรค tyrosinemia ได้
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานฟีนิลอะลานินไม่ได้ช่วยลดอาการหิวของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้
  • ข้ออักเสบ (Arthritis)
  • ภาวะสุขภาพอื่น 

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของฟีนิลอะลานินเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของฟีนิลอะลานิน

  • L-phenylalanine ถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่พบในอาหารปกติ
  • L-phenylalanine จะถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อบริโภคเป็นยาหรือทาบนผิวหนังในรูปของครีมในช่วงสั้น ๆ
  • ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยของ D-phenylalanine

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: สำหรับกลุ่มสตรีมีครรภ์ที่มีระดับฟีนิลอะลานินในร่างกายปกติ การรับประทานฟีนิลอะลานินจะถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณที่พบได้ในอาหาร อย่างไรก็ตามการที่มีฟีนิลอะลานินในระบบของมารดามีครรภ์มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อความพิการของทารกได้ โดยความเสี่ยงต่อการพิการใบหน้าของทารกจะเกิดขึ้นสูงสุดที่สัปดาห์ที่ 10-14, ที่ระบบประสาทและการเจริญเติบโตที่ระหว่าง 3-14 สัปดาห์, และความพิการที่หัวใจที่ช่วงสัปดาห์ที่ 3-8 สำหรับผู้หญิงที่ใช้ฟีนิลอะลานินเป็นปรกติและมีระดับฟีนิลอะลานินที่ปกติก็สามารถรับฟีนิลอะลานินจากอาหารเพิ่มได้ แต่ไม่ควรได้รับในปริมาณที่สูงไป สำหรับผู้หญิงที่มีระดับฟีนิลอะลานินสูง การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยฟีนิลอะลานินตามปรกติจะถูกจัดว่าไม่ปลอดภัย โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำคนกลุ่มนี้ว่าควรรับประทานอาหารที่มีฟีนิลอะลานินต่ำอย่างน้อย 20 สัปดาห์ก่อนจะเริ่มตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการพิการของทารกลง

ฟีนิลอะลานินสำหรับผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรและมีระดับฟีนิลอะลานินปรกตินั้นถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยที่จะบริโภคในปริมาณที่พบในอาหาร อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรได้รับมากกว่านั้นอีก ซึ่งณ ตอนนี้ยังคงไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ฟีนิลอะลานินทางการแพทย์ว่าส่งผลอย่างไรระหว่างการให้นมบุตร

Phenylketonuria (PKU) และภาวะอื่น  ที่ทำให้มีระดับฟีนิลอะลานินสูงผู้ที่มีภาวะผิดปรกติทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายสะสมฟีนิลอะลานินมากเกินไปควรเลี่ยงการรับประทานฟีนิลอะลานิน โดยPhenylketonuria (PKU) คือหนึ่งในโรคเหล่านั้นที่เมื่อได้รับฟีนิลอะลานินจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation), ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง (stroke), และภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ มากมายตามมา PKU เป็นภาวะที่มีความร้ายแรงมากเสียจนทารกทุกคนจะต้องถูกตรวจคัดกรองหลังคลอดออกมาเพื่อชี้ชัดว่าพวกเขามีภาวะผิดปรกตินี้หรือไม่ และหากเป็น พวกเขาจำต้องได้รับอาหารชนิดพิเศษเพื่อเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ

จิตเภท (Schizophrenia): คนกลุ่มนี้ควรใช้ฟีนิลอะลานินอย่างระมัดระวังเนื่องจากฟีนิลอะลานินอาจทำให้ผู้ป่วยจิตเภทรุนแรงเกิดภาวะเคลื่อนไหวผิดปรกติ (tardive dyskinesia) ได้

การใช้ฟีนิลอะลานินร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้ฟีนิลอะลานินร่วมกับยาเหล่านี้

  • Levodopa ยา Levodopa เป็นยาสำหรับโรคพากินสัน ซึ่งการทานร่วมกับฟีนิลอะลานินจะทำให้โรคพากินสันมีอาการมากขึ้น ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยา Levodopa อยู่ไม่ควรได้รับฟีนิลอะลานินเด็ดขาด

ใช้ฟีนิลอะลานินร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับภาวะทางจิต (Antipsychotic drugs) ยาสำหรับภาวะทางจิตอาจทำให้กล้ามเนื้อมีอาการสั่นกระตุกได้ โดยการทานฟีนิลอะลานินร่วมกับยาภาวะทางจิตเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการนี้ขึ้น

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน

  • สำหรับโรคด่างขาว: L-phenylalanine 50-100 mg/kg หนึ่งครั้งต่อวัน หรือ L-phenylalanine 50 mg/kg สามครั้งต่อสัปดาห์นาน 3 เดือน

ทาบนผิวหนัง

  • สำหรับโรคด่างขาว: ครีมฟีนิลอะลานิน 10% บนผิวหนัง

เด็ก

รับประทาน

  • สำหรับโรคด่างขาว: ฟีนิลอะลานิน 100 mg/kg สองครั้งต่อสัปดาห์นาน 3-4 เดือน

Scroll to Top