รู้จัก ไตรกลีเซอไรด์ เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น


ไตรกลีเซอไรด์ Triglycerides

ในปัจจุบันผู้คนต่างหันมาสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เห็นได้จากการที่หลายคนหันมาออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หนึ่งในนั้นคือการตรวจเลือด และมักจะมีศัพท์ที่พบบ่อยคำหนึ่งคือ “ไตรกลีเซอไรด์” เช่น triglyceride 150 mg/dL และแพทย์ก็มักจะใช้ค่านี้มาอธิบายภาวะไขมันในเลือดสูงอยู่เสมอ

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) คืออะไร?

ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคของไขมันที่ลอยอยู่ในเลือดของเราหลังจากที่ถูกดูดซึมมาทางลำไส้ใหญ่ พูดง่ายๆ ว่าเป็นรูปแบบที่พร้อมนำไปแปรรูปที่ตับ เพื่อนำส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ไปสะสมตามเซลล์ร่างกายเช่น ผิวหนัง และเข้าเซลล์เพื่อตัดแต่งดัดแปลงให้เกิดพลังงานขึ้นมา

หลังจากที่ไตรกลีเซอไรด์ถูกดูดซึมทางลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะลำเลียงไปที่ตับเพื่อแปรรูปเป็นอนุภาค 3 แบบ ได้แก่ Very Low Density Lipoprotiens (VLDL), Low Density Lipoprotiens (LDL) และ High Density Lipoprotiens (HDL) 

สามอนุภาคนี้เป็นเสมือนพาหนะที่คอยนำไตรกลีเซอไรด์และคอเรสเตอรอลไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกายได้อย่างสะดวก เพราะอนุภาคทั้งสามนี้มีความสามารถในการละลายอยู่ในกระแสเลือดได้ดีกว่าเดิม 

โดย VLDL จะบรรจุไตรกลีเซอไรด์เป็นหลัก LDL จะบรรจุคอเรสเตอรอลเป็นหลัก ส่วน HDL จะเป็นพาหนะที่ช่วยดึงสองตัวแรกที่เป็นอันตรายต่อร่างกายกลับและทำลายที่ตับ เพราะสองตัวแรกมักจะนำอันตรายสู่ร่างกายเป็นอย่างมาก

ความสำคัญของไตรกลีเซอไรด์

  1. เป็นสารตั้งต้นที่นำไปสร้างเป็นส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เซลล์มีความแข็งแรงและคงรูปได้อย่างดี
  2. เป็นสารที่สำคัญของเซลล์ไขมันในร่างกาย เช่น ทำให้ร่างกายมีความอบอุ่น และช่วยลดแรงกระแทกกรณีร่างกายได้รับอุบัติเหตุ เพื่อปกป้องอันตรายต่ออวัยวะภายใน

ระดับของไตรกลีเซอไรด์ที่เหมาะสม

  • ค่าของไตรกลีเซอไรด์ < 1.70 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่าปกติ หรือมีความเสี่ยงต่ำ
  • ค่าของไตรกลีเซอไรด์ 1.70–2.25 มิลลิโมล/ลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงปานกลาง
  • ค่าของไตรกลีเซอไรด์ 2.26–5.65 มิลลิโมล/ลิตร มีถือว่าความเสี่ยงสูง

อันตรายของไตรกลีเซอไรด์

หากมีไตรกลีเซอไรด์ในปริมาณสูง จะหมายความว่าร่างกายมีโอกาสสร้างคอเลสเตอรอลตัวเลวที่มากขึ้น คือคอเลสเตอรอลชนิด VLDL และ LDL ซึ่งทำให้เกิดผลเสียแก่ร่างกาย โดยเฉพาะการสะสมที่บริเวณผนังของเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีผลทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น 

นอกจากนี้ การสะสมของอนุภาคไขมันดังกล่าวยังมักจะไปเกาะเป็นตะกรันตามเส้นเลือด ทำให้ขนาดของเส้นเลือดตีบลง สิ่งที่น่ากลัวคือเมื่อเลือดไปเลี้ยงอวัยวะปลายทางไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของอวัยวะนั้นๆ 

โดยส่วนมากมักเกิดกับหัวใจ ทำให้เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจขาดเลือด และเข้าสู่ภาวะหัวใจวาย และหากผนังเส้นเลือดเกิดการแตกกลายเป็นก้อนเล็กๆ ไหลตามเส้นเลือด แล้วไปอุดกั้นเส้นเลือดเล็กๆ เช่นเส้นเลือดฝอยในสมอง ก็จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดอีกด้วย

ดังนั้น เราจึงควรป้องกันตนเองให้ห่างจากภาวะเหล่านี้ด้วยการควบคุมการรับไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ คือควบคุมให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพราะอย่างไรก็ดี ไตรกลีเซอไรด์ยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนและวิตามิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะไขมันเกาะตามเส้นเลือด

  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดดี เช่น ปลา ไข่ อะโวคาโด ถั่วต่างๆ โฮลเกรน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีปริมาณไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนประกอบในปริมาณน้อย ทำให้มีสารตั้งต้นที่จะทำไปสร้างคอเรสเตอรอลตัวเลวได้น้อยลง
  2. ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากมีผลการวิจัยที่ชัดเจนแล้วว่า การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดเกิดเส้นเลือดแข็งตัวและตีบตันมากขึ้น
  3. ออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เพราะเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มอัตราการสลายอนุภาคของคอเลสเตอรอลตัวเลวได้เป็นอย่างดี

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

@‌hdcoth line chat