โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร? เกิดจากเชื้ออะไร? รักษาหายไหม? ป้องกันอย่างไร?


โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร? เกิดจากเชื้ออะไร? อาการโรคพิษสุนัขบ้า ระยะแรก ระยะสุดท้าย เป็นอย่างไร? ระยะฟักตัวในคน เป็นอย่างไร? รักษาหายไหม? วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำอย่างไร? วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ป้องกันได้ไหม? รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ โรคพิษสุนัขบ้า ไว้ที่นี่แล้ว

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือที่เรียกว่า “โรคกลัวน้ำ” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies virus) ซึ่งพบในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด
  • เชื้อไวรัสเรบีส์ แพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายของสัตว์เลือดอุ่น หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติดเชื้อไวรัสนี้อยู่ จากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณบาดแผล เนื้อเยื่อบุตา หรือปาก
  • ตัวอย่างของสัตว์ที่พบเชื้อไวรัสเรบีส์ เช่น สุนัข (พบมากที่สุด คิดเป็น 95%) แมว (เป็นอันดับสอง) วัว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู หรือค้างคาว
  • ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อเกิดอาการ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคโดยเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างทันท่วงที
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่อถูกสัตว์ดุร้ายกัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สัตว์ตัวนั้นได้แพร่เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้ามาให้เราหรือไม่ จนกว่าจะนำสมองสัตว์ไปตรวจหาเชื้อที่ห้องปฏิบัติการณ์ หรือเฝ้าสังเกตอาการสัตว์เป็นระยะเวลา 10 วัน

แต่กว่าที่จะรู้ผล ก็อาจทำให้เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมองส่วนที่สำคัญแล้ว ทำให้เกิดการอักเสบในสมอง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย

ด้วยเหตุนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จึงแนะนำให้ผู้ที่ถูกสัตว์กัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล เข้ารับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างทันท่วงที

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร?

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือที่เรียกว่า “โรคกลัวน้ำ” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies virus) ซึ่งพบในสัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด แพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายของสัตว์เลือดอุ่น หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ติดเชื้อไวรัสนี้อยู่ จากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณบาดแผล เนื้อเยื่อบุตา หรือปาก

ตัวอย่างของสัตว์ที่พบเชื้อไวรัสเรบีส์ เช่น สุนัข (พบมากที่สุด คิดเป็น 95%) แมว (เป็นอันดับสอง) วัว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู หรือค้างคาว

โดยหลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าไปในร่างกายแล้ว หากไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และทำการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ และไขสันหลังอักเสบ ซึ่งเมื่อเกิดอาการขึ้นแล้ว จะไม่สามารถรักษาให้ได้ และทำให้เสียชีวิตได้

ระยะฟักเชื้อของโรคพิษสุนัขบ้าในคน เป็นอย่างไร?

ระยะฟักเชื้อของโรคพิษสุนัขบ้าในคน จะขึ้นอยู่กับ

  • ระดับการสัมผัสเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
    • สัมผัสโรคระดับ 1 บริเวณที่สัมผัสน้ำลายสัตว์ เป็นผิวหนังปกติ ไม่มีบาดแผล
    • สัมผัสโรคระดับ 2 สัตว์กัด หรือข่วน เป็นรอยช้ำ เป็นแผลถลอก หรือสัตว์เลียบาดแผล
    • สัมผัสโรคระดับ 3 สัตว์กัด หรือข่วน มีเลือดออกชัดเจน น้ำลายสัตว์ถูกเยื่อบุตา ปาก หรือบาดแผลเปิด บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าโดยไม่ทำให้สุก
  • ตำแหน่งที่ถูกกัด ยิ่งอยู่ใกล้สมอง หรือบริเวณที่มีปลายประสาทมากๆ เช่น มือ จะทำให้ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าสั้นลง
  • อายุของผู้ที่ถูกกัด เด็กและผู้สูงอายุจะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป
  • สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจากสัตว์ป่าจะมีอาการรุนแรงกว่าสัตว์ทั่วไป

ผู้ป่วยบางรายอาจแสดงอาการ ตั้งแต่ 4 วัน หลังได้รับเชื้อ ไปจนถึง 1 ปี แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะฟักเชื้อของโรคพิษสุนัขบ้าจะอยู่ที่ 3 สัปดาห์ถึง 1 ปี

ดังนั้นเมื่อถูกสัตว์กัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยเร็วที่สุด เพราะไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าจะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า หรือคาดคะเนระยะเวลาฟักเชื้อของโรคพิษสุนัขบ้าในแต่ละคนที่แน่นอนได้เลย

อาการของโรคพิษสุนัขบ้า เป็นอย่างไร?

ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ หรือมีไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีอาการคัน แสบร้อน บริเวณแผลที่ถูกกัด ทั้งๆ ที่แผลหายดีแล้ว โดยบางรายอาจมีอาการคันแผลมาก และเกาจนกลายเป็นแผลอักเสบ มีน้ำเหลือง

และเมื่อโรคดำเนินไป จะทำให้เกิดอาการของโรคพิษสุนัขในระยะถัดไป ซึ่งแบ่งได้ 2 กลุ่ม ดังนี้

  • อาการแบบคุ้มคลั่ง ได้แก่ กระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม ไม่ชอบเสียงดัง ตาเบิกโพล่งตลอดเวลา นอนไม่หลับ กลืนลำบาก กลัวน้ำ เพ้อคลั่ง อาละวาด กล้ามเนื้อกระตุก ชัก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด โดยส่วนใหญ่มักเสียชีวิตภายใน 5 วัน
  • อาการแบบอัมพาต เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายสมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้แขนขาอ่อนแรงจนเป็นอัมพาต

ในปัจจุบันโรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มียารักษา หากหลังจากได้รับเชื้อไวรัสแล้ว ผู้ป่วยไม่รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปล่อยให้เชื้อไวรัสเดินทางถึงสมอง และแสดงอาการออกมา ก็มักจะลงท้ายด้วยการเสียชีวิตทุกราย

ทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด?

เมื่อถูกสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียที่บาดแผล เสียก่อน ให้ปฏิบัติตัวดังนี้

  • จับสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าขังไว้เพื่อสังเกตอาการ แต่ถ้าหากสัตว์เสียชีวิต ให้นำซากสัตว์แช่น้ำแข็ง แล้วรีบนำไปส่งตรวจภายใน 24 ชั่วโมง
  • หากอยู่ไกลจากสถานพยาบาล ให้ล้างแผลทุกแผลด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง ให้ลึกถึงก้นแผล อย่างน้อย 15 นาทีก่อน ซึ่งอาจช่วยล้างเชื้อไวรัสบริเวณแผลออกไปได้บ้าง
  • เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ 70% และรีบไปพบแพทย์ทันที
  • เมื่อไปพบแพทย์แล้ว แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ให้แพทย์ทราบ เช่น เป็นสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่า มีเจ้าของหรือไม่ ได้รับการฉีดวัคซีนหรือเปล่า หรือมีแรงจูงในการกัดไหม
  • หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาระดับสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อวางแผนในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies vaccine) ต่อไป

วิธีการรักษา โรคพิษสุนัขบ้า ทำอย่างไร?

ในปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อเกิดอาการ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคโดยเร็วที่สุด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างทันท่วงที

โดยแนวทางในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 1-2 ครั้ง
  • ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 4-5 ครั้ง และถ้าหากได้รับเชื้อรุนแรง จะต้องฉีดอิมมูโนโกลบินที่บาดแผลร่วมด้วย

อ่านเพิ่มเติม: วิธีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดอย่างไร? ป้องกันได้กี่ปี?

วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำอย่างไร?

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรค เพื่อทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้า เมื่อถูกกัด หรือข่วนแล้ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยที่ไม่ต้องฉีดอิมมูโนโกลบินที่บาดแผล
  • หากกำลังเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กระรอก หนู กระต่าย หรือลิง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในผู้ที่เลี้ยงสัตว์แบบเปิด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส แหย่ หรือแกล้งสัตว์จรจัด เพราะอาจทำให้สัตว์หงุดหงิด และทำร้ายร่างกายผู้กระทำได้

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่มียารักษา เมื่อได้รับเชื้อแล้ว ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างทันท่วงที สามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ วิธีการที่ดี่ที่สุดในการลดอันตรายที่อาจเกิดจากโรคนี้ จึงเป็นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรคนั่นเอง

สนใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถ เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ได้ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวกับโรงพยาบาล ทุกวัน ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ที่มาของข้อมูล

กรมควบคุมโรค, พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ฉบับที่ 18/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 19 (วันที่ 9 - 15 พ.ค. 64) (https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18450&deptcode=brc), 23 กันยายน 2564.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ระบบรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (http://r36.ddc.moph.go.th/r36/content/index/1), 20 กันยายน 2564.

สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, แนวทางการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (พ.ศ. 2559) (https://saovabha.redcross.or.th/download/2559/thailand%20Rabies-Free/QsmiGuidline2016.pdf), 20 กันยายน 2564.

รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ, วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1144), 20 กันยายน 2564.

รศ.นพ.วินัย รัตนสุวรรณ, ระวัง! โรคพิษสุนัขบ้า (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=804), 20 กันยายน 2564.

CDC, Rabies Vaccine: What You Need to Know (https://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/rabies.html), 20 September 2021.

Mayo Clinic, Rabies (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rabies/diagnosis-treatment/drc-20351826), 20 September 2021.

NHS, Vaccination Rabies (https://www.nhs.uk/conditions/rabies/vaccination/), 20 September 2021.

WHO, WHO Guide for Rabies Pre and Post Exposure Prophylaxis in Humans (https://www.who.int/rabies/PEP_Prophylaxis_guideline_15_12_2014.pdf), 20 September 2021.

@‌hdcoth line chat