ชื่ออื่น : กล้วยใต้ (ภาคเหนือ), Pisang Awak, Thai banana
ลักษณะของพืช
พืชล้มลุก ลำต้นสูง ลำต้นที่อยู่เหนือดินรูปร่างกลม มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ก้านใบยาวและเห็นได้ชัดเจน ดอกออกที่ปลายเป็นช่อ ลักษณะห้อยลงยาว 1 – 2 ศอก เรียกว่า ปลี มีดอกย่อยออกเป็นแผง ผลจะติดกันเป็นแผงเรียกว่า หวี ซ้อนกันหลายหวีเรียกว่า เครือ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลูกดิบ หรือ ลูกห่าม
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บลูกกล้วยช่วงเปลือกยังเป็นสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลในช่วงอายุ 8 – 12 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย : ลูกดิบ รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน
วิธีใช้
กล้วยดิบรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรง โดยใช้กล้วยน้ำว้าห่ามรับประทานครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผล หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผลหรือบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอนรับประทานแล้วแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น
เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ
บทความแนะนำ
- ลูกไหน หรือ ลูกพรุน ผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดน้ำหนัก
- ใบบัวบก: ข้อมูล ลักษณะ สรรพคุณ โทษ วิธีใช้เพื่อสุขภาพ
- โซเดียม: แร่ธาตุสำคัญ ควรทานวันละเท่าไหร่
- ฝุ่นพิษ PM 2.5 อันตรายอย่างไร และวิธีเลือกหน้ากากป้องกัน
- เมล็ดทานตะวัน: ประโยชน์ สรรพคุณ ข้อควรระวัง
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- 11 Evidence-Based Health Benefits of Bananas . Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/11-proven-benefits-of-bananas)
- Bananas: A Nutritional Powerhouse. WebMD. (https://www.webmd.com/food-recipes/health-benefits-bananas)
- 11 Banana Health Benefits You Might Not Know About. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/11-banana-health-benefits-you-might-not-know-about/)