รู้จักกับซากเชื้อโควิด-19


ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร? อันตรายไหม? ยังแพร่เชื้อได้ไหม? อยู่ในร่างกายได้กี่วัน? จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นซากเชื้อโควิด-19? หลังหายป่วยจากโควิด-19 แล้ว จำเป็นต้องตรวจหา RT-PCR ไหม?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ซากเชื้อ คือซากของเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว และตกค้างอยู่ในร่างกาย มีปริมาณน้อยมาก ไม่สามารถแบ่งตัว หรือแพร่เชื้อได้ สามารถพบได้ในผู้ที่หายป่วยจากโรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัสต่างๆ ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 (COVID-19)
  • ซากเชื้อโควิด-19 สามารถตกค้างอยู่ในร่างกายได้นานถึง 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือแสดงอาการ
  • การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่พบนั้น เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากเชื้อโควิด-19 ทำให้ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว ยังสามารถตรวจพบเชื้อ หรือผลเป็นบวก (Positive) อยู่
  • กรมการแพทย์ ไม่แนะนำให้ผู้ที่พ้นระยะเวลากักตัว หรือออกจากโรงพยาบาล เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เพราะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผลการรักษา เว้นแต่จะยังมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่า ยังติดเชื้ออยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

“หลังหายจากโรคโควิด-19 แล้ว ทำไมถึงยังตรวจพบเชื้ออยู่”

เป็นหนึ่งในคำถามที่พบบ่อย ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้สึกกังวล เพราะเกรงว่า ผู้ที่ตรวจพบเชื้อจะยังคงสามารถแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ ทั้งที่จริงๆ แล้ว เชื้อที่ตรวจพบเป็นเพียง “ซากเชื้อ” ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ตายแล้วเท่านั้น

แล้วซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร ยังสามารถแพร่เชื้อได้ไหม อันตรายไหม​ อยู่ในร่างกายได้นานเท่าไร HDmall.co.th จะได้หาคำตอบมาให้แล้ว

ซากเชื้อโควิด-19 คืออะไร?

ซากเชื้อ คือซากของเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว และตกค้างอยู่ในร่างกาย มีปริมาณน้อยมาก ไม่สามารถแบ่งตัว หรือแพร่เชื้อได้ สามารถพบได้ในผู้ที่หายป่วยจากโรคที่เกิดจากติดเชื้อไวรัสต่างๆ ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 (COVID-19)

โดยปกติแล้ว ร่างกายจะสามารถสร้างแอนติบอดีขึ้นมาจัดการกับเชื้อไวรัสได้ภายใน 14 วัน เมื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาครบ 14 วันแล้ว ก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะพ้นช่วงระยะเวลาที่เชื้อไวรัสสามารถแพร่เชื้อได้

อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่พบนั้น เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากเชื้อโควิด-19 ทำให้ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว ยังสามารถตรวจพบเชื้อ หรือผลเป็นบวก (Positive) อยู่ 

ทางกรมการแพทย์จึงไม่แนะนำให้ผู้ที่พ้นระยะเวลากักตัว หรือออกจากโรงพยาบาล เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เพราะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผลการรักษา เว้นแต่จะยังมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่า ยังติดเชื้ออยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา

หลังออกจากโรงพยาบาลแล้ว ต้องกักตัวต่อหรือไม่?

เมื่อกักตัวครบ 14 วัน หรือออกจากโรงพยาบาลแล้ว และยังตรวจพบซากเชื้อโควิด-19 อยู่ สิ่งต่อไปที่คนส่วนใหญ่มักสงสัยก็คือจำเป็นต้องกักตัวต่อหรือไม่

โดยปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องกักตัว เพราะพ้นระยะของแพร่เชื้อแล้ว

อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 เป็นโรคชนิดใหม่ที่ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา และแม้ว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้หลังเข้ารับการรักษาตัวครบ 14 วัน

แต่ก็มีผู้ติดเชื้อส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง หรือมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง ที่ระยะเวลาในการสร้างแอนติบอดีในการกำจัดไวรัสอาจเพิ่มขึ้นเป็น 21 วัน

เพื่อความมั่นใจ” แพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้หลังพ้นระยะเวลากักตัว หรือออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 ควรกักตัวต่ออีก 14 วัน หรือจนกว่าจะครบ 1 เดือน

อ่านเพิ่มเติม: ผู้ป่วยโควิด-19 หลังกักตัวครบ 14 วันแล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเลยหรือไม่?

ซากเชื้อโควิด-19 ตกค้างอยู่ในร่างกายได้นานเท่าไร?

ซากเชื้อโควิด-19 สามารถตกค้างอยู่ในร่างกายได้นานถึง 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือแสดงอาการ

ตรวจพบซากเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้หรือไม่?

ไม่ เพราะพ้นระยะเวลาในการแพร่เชื้อแล้ว โดยปกติแล้ว เชื้อไวรัสจะมีระยะเวลาแพร่เชื้อภายใน 1-3 วัน ก่อนมีอาการ จนถึง 10 วันหลังมีอาการ

จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นซากเชื้อโควิด-19?

วิธีการแยกระหว่างเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากเชื้อโควิด-19 โดยทั่วไป แพทย์จะนำตัวอย่างเชื้อที่เก็บได้จากการป้ายจมูกไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการณ์

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นวิธีที่ยุ่งยาก เพราะต้องเก็บตัวอย่างเชื้อให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม นำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการณ์ที่ได้รับมาตรฐาน และใช้ระยะเวลานาน

จึงทำให้ในปัจจุบันยังไม่มีบริการตรวจหาซากเชื้อโควิด-19 ในสถานพยาบาลทั่วไปนั่นเอง

โรคโควิด-19 เป็นโรคใหม่ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีการกลายพันธุ์อยู่เสมอ

แม้ว่า ผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 จะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยมาก ภายในระยะเวลา 3 เดือน แต่ก็ควรที่จะปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อเหมือนกับคนทั่วไป จนกว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในวงกว้างได้

สำหรับผู้ที่สนใจตรวจหาเชื้อโควิด-19 กด เปรียบเทียบข้อมูลแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่ และสามารถจองแพ็กเกจผ่าน HDmall.co.th หรือแอดไลน์ @hdcoth มีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวนิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640721115923AM_CPG_COVID_v.16.4.n.pdf?fbclid=IwAR2SpyLksJ5sfrpVaewwukDh0jkyAWByRQImnY_P6wyRyNQvgePFcKldvns), 9 สิงหาคม 2564.

ศ.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, Q: “ซากเชื้อ” คืออะไร? สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วย COVID-19 อย่างไร? (https://covid19.thaipbs.or.th/faq/?post=23956), 9 สิงหาคม 2564.

นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก, ‘ซากเชื้อ’ โควิด-19 คืออะไร การตรวจพบเชื้อไม่เท่ากับความสามารถในการแพร่เชื้อจริงหรือไม่ (https://thestandard.co/what-is-coronavirus-carcass/), 9 สิงหาคม 2564.

องค์การพิพิธฑภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, ซากเชื้อ (https://www.nsm.or.th/other-service/669-online-science/knowledge-inventory/sci-vocabulary/sci-vocabulary-science-museum/4660-killed-covid-19.html), 9 สิงหาคม 2564.

RAMA Channel, “ซากเชื้อ” โควิด-19 คืออะไร ? l RAMA CHANNEL (

), 9 สิงหาคม 2564.

@‌hdcoth line chat