ถอนฟัน กับข้อควรรู้ที่หลายคนสงสัย

หากพูดถึงการถอนฟัน หลายคนอาจนึกถึงการถอนฟันคุด เพราะเป็นหนึ่งในปัญหาทันตกรรมที่พบบ่อย แต่การถอนฟันไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงแค่นำฟันคุดออกเพียงอย่างเดียว ในบทความนี้จะพูดถึงข้อควรรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการถอนฟัน

มีคำถามเกี่ยวกับ ถอนฟัน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ถอนฟันคืออะไร?

การถอนฟัน (Tooth extraction) เป็นการนำฟันซี่ที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือฟันที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตออก โดยจะต้องทำภายใต้การดูแลของทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์เท่านั้น

การถอนฟันใช้เวลาไม่นาน สามารถทำได้ในคลินิกทันตกรรมได้เลย และสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ทันที โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำข้อห้าม และข้อควรปฎิบัติให้กับคุณ

อาการแบบไหนควรถอนฟัน?

ปกติแล้วผู้ใหญ่ และวัยรุ่นหลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “ถอนฟันคุด” แต่นอกจากถอนฟันคุดแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการถอนฟันเช่นกัน ดังนี้

  • ฟันผุลึกจนไม่สามารถรักษารากฟันได้
  • ฟันเกิดการติดเชื้อ
  • สภาพฟันผิดปกติ หรือเกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่ต้องการจัดฟัน อาจต้องถอนฟัน 1-2 ซี่ เพื่อให้มีที่ว่างในการขยับของฟันซี่อื่น
  • ผู้ที่กำลังจะรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) บางคน ขึ้นกับแพทย์พิจารณา
  • ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะบางชนิด อาจต้องถอนฟันเพื่อเหตุผลด้านการดูแลรักษาความสะอาด

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ตรงกับเงื่อนไขด้านบนจะรักษาด้วยการถอนฟันเท่านั้น แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมว่าควรถอนฟันหรือไม่

ถอนฟันเจ็บไหม?

เจ็บ แต่ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ หรือยาชาทั่วไปตามความเห็นของทันตแพทย์ นอกจากนี้หลังถอนฟันเสร็จอาจจ่ายยาแก้ปวดให้กินเพื่อลดอาการปวดด้วย

การเตรียมตัวก่อนถอนฟัน

ก่อนนัดวันถอนฟัน ทันตแพทย์จะเอกซ์เรย์ (X-ray) ช่องปากดูสภาพฟันเพื่อวางแผนการรักษา ในช่วงนี้สิ่งสำคัญในการเตรียมตัวคือการให้ข้อมูลกับทันตแพทย์ เพื่อให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาให้เหมาะสม

สิ่งที่ควรแจ้งกับทันตแพทย์ อาจมีดังต่อไปนี้

  • แจ้งทันตแพทย์หากมียา อาหารเสริม และวิตามินที่ใช้เป็นประจำ
  • แจ้งทันตแพทย์หากมีการรักษาประเภทอื่นๆ ที่กำลังจะมาถึง หรือเพิ่งรักษามา
  • แจ้งทันตแพทย์หากมีโรคเรื้อรังต่างๆ ดังนี้
    • โรคเกี่ยวกับหัวใจทุกชนิด เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจผิดติแต่กำเนิด
    • โรคเบาหวาน
    • โรคตับ
    • โรคไทรอยด์
    • โรคไต และภาวะเกี่ยวกับต่อมหมวกไต
    • โรคความดัน
    • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ทันตแพทย์มักแนะนำให้รักษาอาการอื่นๆ ให้หายก่อนที่จะเริ่มถอนฟัน เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจตามมา

ขั้นตอนการถอนฟัน

การถอนฟันสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือถอนฟันทั่วไปในกรณีที่การรักษาดูไม่ซับซ้อน และการผ่าตัดถอนฟัน ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของคุณ

มีคำถามเกี่ยวกับ ถอนฟัน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการรักษาของทั้ง 2 ประเภทอาจไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนี้

1. ขั้นตอนการถอนฟันทั่วไป

ทันตแพทย์อาจใช้การถอนฟันทั่วไปในกรณีที่ฟันซี่ที่ต้องการถอนโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาแล้ว ทำให้การถอนทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ขั้นตอนอาจมีดังนี้

  • ในวันที่ทำการถอนฟัน จะต้องถอดอุปกรณ์ที่สวมไว้ภายในปากออก เช่น ฟันปลอม รีเทนเนอร์
  • ทันแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ (Local anesthetic) ซึ่งจะช่วยให้พื้นที่รอบๆ ฟันไม่รู้สึกเจ็บ แต่อาจยังรู้สึกถึงแรงกดบ้าง
  • ทันตแพทย์ จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Elevator หรืออุปกรณ์แซะเหงือกในการถอนฟัน
  • จากนั้นจะใช้ที่คีบ คีบฟันที่หลุดออกมา

2. การผ่าตัดถอนฟัน

ทันตแพทย์อาจใช้การผ่าตัดถอนฟัน หากต้องมีการเปิดเหงือกเล็กน้อย ขั้นตอนการทำอาจมีดังนี้

  • ในวันที่ทำการถอนฟัน หากถอดอุปกรณ์ที่สวมไว้ภายในปากออก เช่น ฟันปลอม รีเทนเนอร์
  • ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ หรือยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือด ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเจ็บ ในบางกรณีอาจได้รับยาชาแบบทั่วไป (General anesthesia) ขึ้นอยู่กับทันตแพทย์พิจารณา
  • เมื่อยาระงับความรู้สึกออกฤทธิ์ ทันตแพทย์จะทำการผ่าเหงือกเล็กๆ และอาจมีการนำกระดูกรอบฟันออก จากจึงค่อยทำการถอนฟัน
  • เมื่อถอนฟันแล้ว จึงเย็บปิดบาดแผล และอาจนัดมาตัดไหมอีกครั้งใน 7 วันถัดมา

อาการหลังถอนฟัน?

หลังจากถอนฟันเสร็จแล้ว ระหว่างที่แผลยังไม่หายดีอาจมีอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  1. ปวดบวม ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นหลังจากถอนฟันเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด อาการจะเป็นมากที่สุดในช่วง 2-3 วันหลังจากถอนฟัน และจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากนั้น แต่หากอาการเป็นหนักขึ้น ควรไปพบทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา
  2. เลือดไหลไม่หยุด เลือดไหลซึมออกจากแผลผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นอีกหนึ่งอาการที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่หากไหลเยอะผิดปกติ อาจเกิดจากผู้ใช้บริการกัดผ้าก๊อซไม่แน่นพอ ทำให้เลือดไม่หยุด หรือกินอาหารแข็งเกินไป ทำให้แผลกระทบกระเทือน ควรกัดผ้าก๊อซแผ่นใหม่ทันที แต่หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบทันตแพทย์ทันที
  3. อาจเกิดการติดเชื้อ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น รักษาความสะอาดไม่ดีพอ ผู้ใช้บริการมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นเบาหวาน

การดูแลตัวเองหลังถอนฟัน

โดยปกติจะใช้เวลาไม่กี่วันที่แผลจะฟื้นตัวจากการถอนฟัน ต่อไปนี้เป็นข้อควร และไม่ควรปฎิบัติระหว่างการฟื้นตัวของแผล

ข้อควรปฎิบัติหลังถอนฟัน

  • ควรใช้น้ำแข็งห่อผ้าประคบแก้มหลังข้างที่ทำการถอนฟัน โดยทำครั้งละ 10 นาที เพื่อลดอาการบวม
  • หลังจากถอนฟันเสร็ต ทันตแพทย์จะวางผ้าก๊อซบริเวณที่ทำการถอนฟัน ควรกัดผ้าก๊อซให้แน่นพอประมาณเพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหลเร็วขึ้น และอาจเปลี่ยนผ้าก๊อซหลังผ่านไป 2 ชั่วโมง หากยังมีเลือดซึมออกมาอีก สามารถใช้ผ้าก๊อซอีกแผ่นวางไว้ 1 ชั่วโมง
  • ควรกินยาปฎิชีวนะ หรือยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์ให้มาจนครบตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
  • ควรพักผ่อนเยอะๆ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากถอนฟัน
  • ควรใช้หมอนหนุนศีรษะขณะนอน
  • ควรกินอาหารอ่อนๆ และไม่ร้อนจัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม นม โยเกิร์ต จนกว่าแผลจะหายสนิท
  • ควรใช้น้ำเกลือครึ่งช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 8 ออนซ์บ้วนปากเพื่อทำความสะอาด หรืออาจใช้ยาบ้วนปากที่ทันตแพทย์ให้มา
  • ควรแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณที่ถอนฟันในช่วงแรกหลังการถอนฟัน

ข้อควรระวังหลังถอนฟัน

  • ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือทำกิจกรรมที่อาจกระทบกระเทือนแผล
  • ไม่ควรกินอาหารที่เคี้ยวยาก เพราะอาจทำให้แผลกระทบกระเทือน
  • ไม่ควรสูบบุหรี่จนกว่าแผลจะหายสนิท
  • ไม่ควรแคะหรือดูดแผลถอนฟัน
  • ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากอื่นๆ ที่ทันตแพทย์ไม่ได้เป็นผู้จ่ายให้

หากอาการปวดไม่ลดลงหลังจากผ่านไปแล้วหลายวัน อาจเป็นอาการของการติดเชื้อ โดยเฉพาะหากมีไข้ ปวด มีหนองไหลออกมาจากแผล ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์

อาการผิดปกติหลังถอนฟัน

การถอนฟันส่วนใหญ่มีความปลอดภัย ผลข้างเคียงไม่มาก แต่บางกรณีอาจเกิดการติดเชื้อ หรือมีสัญญาณอันตรายอื่นๆ ได้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์โดยทันที

  • มีไข้ หรือรู้สึกป่วย
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • แผลบวมหรือแดงมากผิดปกติ
  • ไอ หายใจถี่ เจ็บหน้าอก

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการถอนฟันลงได้มาก

โดยสรุปแล้ว การถอนฟันอาจเป็นได้ทั้งการรักษา หรือเป็นหนึ่งในขั้นตอนของการรักษาประเภทอื่นก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้รับการรักษา

การถอนฟันใช้เวลาไม่นาน แผลหายไว สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เกือบปกติ เพียงแต่ควรดูแลรักษาความสะอาดให้ดี และเคร่งครัดกับคำแนะนำของทันตแพทย์

มีคำถามเกี่ยวกับ ถอนฟัน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ