ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ดีอย่างไร?


ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ตรวจระดับฮอร์โมน ในผู้ชาย ดีอย่างไร? มีประโยชน์อะไรบ้าง? ฮอร์โมนเพศชายต่ำ รักษาอย่างไร? ตรวจ ที่ไหนดี?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ฮอร์โมน (Hormone) เป็นสารเคมีที่กลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อสร้างขึ้น มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับร่างกายที่ต่างกัน และทำงานพึ่งพาอาศัยกัน การที่ฮอร์โมนในร่างกาย 1-2 ตัว เสียสมดุล ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจได้
  • การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้เรารู้จักร่างกายตัวเองดีขึ้น และวางแผนการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม
  • นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม และอาจได้รับฮอร์โมนทดแทนส่วนที่ขาดจากแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน อย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเฉพาะบุคคลนั้นๆ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน หรือแอดไลน์ @hdcoth

ฮอร์โมน (Hormone) เป็นสารเคมีที่กลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อสร้างขึ้น มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับร่างกายที่ต่างกัน และทำงานพึ่งพาอาศัยกัน การที่ฮอร์โมนในร่างกาย 1-2 ตัว เสียสมดุล ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจได้

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่รู้สึกว่า ตนเองอารมณ์แปรปรวน ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี ท้องผูก มีความเครียดมาก ไม่กระฉับกระเฉง นอนไม่หลับ หรือเป็นภาวะซึมเศร้า การตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกายอาจช่วยทำให้ค้นพบสาเหตุ และวิธีรักษาที่เหมาะสมได้

ประโยชน์ของการตรวจฮอร์โมนเพศชาย หรือตรวจฮอร์โมนในผู้ชาย

ฮอร์โมนมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานในร่างกาย การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้เรารู้จักร่างกายตัวเองดีขึ้น และวางแผนการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น

  • ช่วยให้รู้ระดับฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต และโกรทฮอร์โมน
  • หากพบภาวะไม่สมดุล จะได้ดูแลฟื้นฟูอย่างถูกต้องตรงจุด
  • คัดกรองอาการอ่อนเพลียของร่างกายจากภาวะต่อมหมวกไตล้า
  • คัดกรองภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย
  • คัดกรองภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดผิดปกติ แม้จะรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ
  • คัดกรองภาวะมีบุตรยากจากการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงผิดปกติ ผิวมัน หรือเป็นสิวฮอร์โมนได้อีกด้วย
  • ได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม และอาจได้รับฮอร์โมนทดแทนส่วนที่ขาดจากแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน อย่างใกล้ชิด และเหมาะสมเฉพาะบุคคลนั้นๆ

มีฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือฮอร์โมนเสียสมดุล รักษาอย่างไร?

การรักษาภาวะฮอร์โมนเสียสมดุลทำได้โดยการปรับสมดุลของฮอร์โมนให้เหมาะสม ซึ่งการเพิ่มระดับฮอร์โมนนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

ยกตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล หรืออาหารที่มีไขมันสูง เน้นรับประทานโปรตีน ผักผลไม้ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้หากแพทย์ค้นพบว่า ขาดฮอร์โมนตัวไหนเป็นพิเศษ แพทย์อาจให้ฮอร์โมนทดแทน หรือวิตามินเฉพาะบุคคลนั้นๆ ซึ่งช่วยให้สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดได้อย่างตรงจุด ทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายกลับมาทำงานปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจที่แจ่มใส นั่นเอง

ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ราคาเท่าไร ตรวจที่ไหนดี?

ราคาการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงตรวจระดับฮอร์โมนทั่วไปในผู้ชาย เริ่มตั้งแต่ 700-8,000 บาท ขึ้นอยู่กับรายการตรวจ และโปรโมชันของแต่ละสถานพยาบาล

สำหรับผู้ที่สนใจตรวจระดับฮอร์โมนสามารถสอบถามกับสถานพยาบาลที่สนใจเข้าตรวจได้ หรือกด เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ที่นี่ แล้วสั่งจองแพ็กเกจผ่าน HDmall.co.th ได้เลย

หรืออีกหนึ่งช่องทางที่สะดวกมากๆ เพียงแอดไลน์ @hdcoth จะมีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายกับทางโรงพยาบาล โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องติดต่อกับทางโรงพยาบาลเลย

น้องจิ๊บ และ HDmall.co.th เปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง สนใจแพ็กเกจสุขภาพ ทันตกรรม และความงาม กดแอดไลน์ได้เลยไม่ต้องรอ! การันตีราคาสุดคุ้ม พร้อมโปรโมชันดีๆ มากมาย ที่สำคัญยังสามารถผ่อนฟรี 0% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการได้ด้วยนะ!

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชาย

ที่มาของข้อมูล

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สำรวจโลกฮอร์โมน (https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter5/what_is_sex_hormone.htm), 2 มิถุนายน 2564.

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก, ฮอร์โมนกับสุขภาพเกี่ยวข้องกันอย่างไร (https://www.thrivewellnessth.com/hormones-quiz), 2 มิถุนายน 2564.

นพ.เปรมสันติ สังฆ์คุ้ม, ฮอร์โมนเพศชายในมุมมองที่แตกต่าง (https://www.rama.mahidol.ac.th/th/news-clipping/health/newsclip12sep2019-1345), , 2 มิถุนายน 2564.

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์, ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เมื่อฮอร์โมนอายที่จะออกโรง (https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/low-testosterone), 2 มิถุนายน 2564.

วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 11 ฉบับพิเศษ, ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในชายสูงวัย หรือชายวัยทอง (https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/download/107906/85425/), 2 มิถุนายน 2564.

Hormone health network, Testosterone and Androgens (https://www.hormone.org/your-health-and-hormones/glands-and-hormones-a-to-z/hormones/testosterone), 2 June 2021.

Ryan Wallace, 12 Signs of Low Testosterone (https://www.healthline.com/health/low-testosterone/warning-signs), 2 June 2021.

@‌hdcoth line chat