เที่ยวปีใหม่! มีมาตรการอย่างไร? เที่ยวไหนและทำอะไรได้บ้าง? เช็กเลย!


เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับการเดินทางช่วงปีใหม่ ได้ที่นี่

  • การเดินทางเข้าไทยช่วงปีใหม่
  • กลุ่มที่เดินทางได้ในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (Sandbox Programme)
  • กลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศไทยแต่ต้องกักตัว (Quarantine Facilities)
  • การเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงปีใหม่
  • แต่ละพื้นที่และจังหวัด แบ่งสีอย่างไรบ้าง?
  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดง
  • พื้นที่ควบคุม หรือพื้นที่สีส้ม
  • พื้นที่เฝ้าระวังสูง หรือพื้นที่สีเหลือง
  • พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว หรือพื้นที่สีฟ้า

  • ใกล้ถึงช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 แล้ว หลายคนคงเริ่มวางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวนี้ หรือเตรียมตัวเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมอยู่ แต่หลายคนก็คงกังวลเรื่องของการเดินทางในช่วงที่สถานการณ์การโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดอีกครั้ง โดยเฉพาะสายพันธ์ุใหม่อย่าง โอไมครอน (Omicron) ที่เริ่มแพร่กระจายไปในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย การเดินทางไปไหนมาไหนในช่วงนี้ ทุกคนจึงต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น

    ในบทความนี้รวบรวมสรุปมาตรการสำคัญเกี่ยวกับการเดินทางและการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลปีใหม่ ในรูปแบบถามตอบแบบเข้าใจง่าย

    หมายเหตุ บทความนี้อัปเดตล่าสุด ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2564 ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการต่างๆ ภายหลัง

    การเดินทางเข้าไทยช่วงปีใหม่

    ชาวไทยและชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้าไทย ศบค. ได้สั่งงดรับนักท่องเที่ยวรายใหม่ Test & Go ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคมเป็นต้นไป จนกว่าจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม 65 แต่หากว่ายังมีความประสงค์จะเดินทางเข้าไทยในช่วงนี้ จะต้องลงทะเบียนเข้าไทยในโครงการ Sandbox (เฉพาะจังหวัดภูเก็ต) และ โครงการกักตัวในโรงแรม AQ (Alternative Quarantine) AQ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

    1.กลุ่มที่เดินทางได้ในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (Sandbox Programme)

    กลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศไทยในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (Sandbox Programme) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • สามารถเดินทางมาจากประเทศใดก็ได้
    • จะต้องทำการลงทะเบียนก่อนเข้าประเทศผ่านระบบ Thailand Pass
    • เมื่อเข้าประเทศแล้วจะต้องโหลดและใช้งานแอปพลิเคชันหมอชนะ
    • เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จะต้องมีการตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR (รอผลตรวจที่โรงแรมที่กำหนดไว้) และตรวจอีกครั้งด้วยชุดตรวจ ATK เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือหากไม่มีอาการ ให้ตรวจในวันที่ 6-7
    • ต้องพำนัก หรือเดินทางได้เฉพาะในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (Sandbox) เป็นเวลา 7 วัน
    • ต้องมีหลักฐานว่าได้รับวัคซีนครบกำหนดมาแล้วไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนเดินทาง (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่มากับผู้ปกครอง)
    • ต้องมีหลักฐานการจ่ายค่าที่พักที่มี SHA+ (ตราสัญลักษณ์โครงการเพื่อให้ความมั่นใจในความปลอดภัยด้านสุขอนามัย จากสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย) ในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (Sandbox) เป็นเวลา 7 วัน
    • ต้องมีประกันภัยวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ยกเว้นคนไทยที่มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลอยู่แล้ว)
    • ต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR (ออกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)

    2. กลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศไทยโดยการกักตัวในโรงแรม AQ (Alternative Quarantine)

    กลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศไทย แต่ต้องมีการกักตัวในโรงแรมทางเลือก (Alternative Quarantine) ที่รัฐบาลอนุมัติ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศใดก็ได้ ยกเว้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 8 ประเทศในแอฟริกาที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการติดเชื้อไวรัส โอไมครอน (Omicron) ได้แก่ บอตสวานา, เอสวาตินี, เลโซโท, มาลาวี, โมซัมบิก, นามิเบีย, แอฟริกาใต้ และซิมบับเว เข้าประเทศ ส่วนชาวไทยที่เดินทางจาก 8 ประเทศนี้ สามารถเข้าประเทศไทยภายใต้โครงการนี้ได้
    • ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบกำหนด หรือได้รับวัคซีนครบ แต่ไม่เข้าเกณฑ์กลุ่ม Test and Go และ Sandbox Programme
    • ต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ออกภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง (คนไทยได้รับการยกเว้น)
    • เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย จะต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR โดยมีรายละเอียดดังนี้
      • ผู้เดินทางที่กักตัว 7 วัน ต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR 2 ครั้ง ในวันที่ 0-1 และวันที่ 5-6
      • ผู้เดินทางที่กักตัว 10 วัน ต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR 2 ครั้ง ในวันที่ 0-1 และวันที่ 8-9
      • ผู้เดินทางที่กักตัว 14 วัน ต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR 3 ครั้ง ในวันที่ 0-1 และวันที่ 5-6 และวันที่ 12-13
    • ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ ต้องกักตัวในสถานที่กักตัวที่ราชการกำหนด 7 วัน
    • ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนแล้วเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านทางอากาศหรือทางน้ำ จะต้องกักตัว 10 วัน
    • สำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องกักตัว 14 วัน
    • จะต้องลงทะเบียนก่อนเข้าประเทศ ผ่านระบบ Thailand Pass
    • เมื่อเข้าประเทศแล้วจะต้องดาวน์โหลดและใช้งานแอปพลิเคชันหมอชนะ
    • ต้องมีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก หรือสถานที่กักตัว 7, 10, 14 วัน ตามที่ระบุไว้ด้านบน
    • สามารถเข้าดูรายชื่อโรงแรมกักตัวทางเลือก (Alternative Quarantine) ที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่

    ทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวมานี้ถูกสรุปออกมาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยอ้างอิงจากการประกาศของ ศบค. ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2564 หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามกับศูนย์ข้อมูล COVID-19 เพิ่มเติมได้ทาง Facebook ศูนย์ข้อมูล COVID-19 หรือ โทร 02-618-2323

    การเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงปีใหม่

    ผู้ที่ต้องการเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงปีใหม่เพื่อท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาเดิม ยังคงสามารถเดินทางได้ตามปกติ

    สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะในรูปแบบต่างๆ ทางระบบขนส่งสาธารณะได้มีมาตรการ COVID Free Setting เพื่อรองรับการเดินทางของทุกคนในช่วงปีใหม่นี้ โดยจะมีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ มีการทำความสะอาดจุดสัมผัสและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือแอลกอฮอล์ 70% ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง รวมถึงเข้มงวดกับมาตรการเว้นระยะห่างด้วย

    ผู้โดยสารทุกคนให้มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เลี่ยงการรับประทานอาหารบนรถ หรือบนเครื่องบิน ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ งดการใช้มือสัมผัสใบหน้า

    ทั้งนี้ผู้ที่เดินทางข้ามจังหวัดจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของจังหวัดปลายทาง โดยมีเอกสารการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนอยู่ในช่วง 1-3 เดือน ผลการตรวจโดยวิธี RT-PCR หรือ ATK ภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน

    แต่ละพื้นที่และจังหวัด แบ่งสีอย่างไรบ้าง?

    จากการแถลงมติที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 64 เรื่องการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในประเทศไทย ซึ่งจะมีผลในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดง

    พื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่สีแดง จากเดิมมีทั้งหมด 30 จังหวัด แต่ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 64 เป็นต้นไปจะปรับเหลือ 0 จังหวัด

    พื้นที่ควบคุม หรือพื้นที่สีส้ม

    พื้นที่ควบคุม หรือพื้นที่สีส้ม จากเดิมมีทั้งหมด 23 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 64 เป็นต้นไปจะเพิ่มเป็น 39 จังหวัด ดังนี้

    ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชุมพร, เชียงใหม่, เชียงราย, ตรัง, ตราด, ตาก, นครนายก, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, ประจวบคีรีขันธ์, ปัตตานี, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, พัทลุง, พิษณุโลก, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, ระนอง, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สตูล, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สงขลา, สระแก้ว, สระบุรี, สุพรรณบุรี, สุราษฎร์ธานี, อุดรธานี และอุบลราชธานี

    โดยจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ควบคุมนี้จะไม่มีการจำกัดเวลาออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิว สามารถเดินทางออกนอกบ้านได้ตลอดเวลา แต่ยังคงห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 500 คน สนามกีฬาและการแข่งขันกีฬาในร่มต้องมีผู้ชมไม่เกิน 50% แต่หากเป็นกีฬากลางแจ้งจะมีผู้ชมได้ไม่เกิน 75%

    โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้านในพื้นที่มีเครื่องปรับอากาศเปิดได้ตามปกติ แต่ควรจัดสรรให้มีจำนวนผู้ชมตามมาตรการที่กำหนด ไม่หนาแน่นจนเกินไป

    กรณีศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ รวมถึงสถานที่ลักษณะเดียวกันในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมสามารถจัดได้แต่ต้องมีจำนวนคนไม่เกิน 1,000 คน และดูให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความหนาแน่นเกินไป

    กรณีศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และซิตี้มอลล์ เปิดได้ตามเวลาปกติ แต่ยังคงงดให้บริการสวนสนุก สวนน้ำ ร้านเกม

    กรณีร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ

    ร้านอาหารทั้งในและนอกศูนย์การค้า สามารถนั่งกินอาหารในร้านได้ (ห้ามบริโภคสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน) สามารถให้คณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัด พิจารณากำหนดมาตรการ และเวลาเปิด ปิดเพิ่มเติมได้ตามสถานการณ์

    ร้านเสริมสวย ร้านนวด สปา สถานเสริมความงาม และร้านสักสามารถเปิดบริการได้ตามปกติ แต่ปิดได้ไม่เกิน 23:00 น.

    มาตรการในการจัดงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สามารภบริโภคสุราในร้านอาหารได้เฉพาะวันที่ 31 ธันวาคม 64 ถึง 1 มกราคม 65 ไม่เกิน 01.00 น. และเฉพาะร้านที่เปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทเท่านั้น รวมถึงให้เคร่งครัดตามมาตรการป้องกันที่สาธารณสุขกำหนด

    พื้นที่เฝ้าระวังสูง หรือพื้นที่สีเหลือง

    พื้นที่เฝ้าระวังสูง หรือพื้นที่สีเหลือง จากเดิมมีทั้งหมด 24 จังหวัด แต่ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 64 เป็นต้นไป จะปรับเพิ่มเป็น 30 จังหวัด ดังนี้

    1. กาฬสินธุ์, กำแพงเพชร, ชัยนาท, ชัยภูมิ, นครปฐม, นครพนม, นครสวรรค์, น่าน, บึงกาฬ, บุรีรัมย์, พิจิตร, พะเยา, แพร่, มหาสารคาม, มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, เลย, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สมุทรสงคราม, สิงห์บุรี, สุโขทัย, สุรินทร์, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อุตรดิตถ์, อุทัยธานี, อ่างทอง และอำนาจเจริญ

    โดยจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่เฝ้าระวังสูงนี้จะไม่มีการจำกัดเวลาออกนอกเคหสถาน หรือเคอร์ฟิว สามารถเดินทางออกนอกบ้านได้ตลอดเวลา แต่ยังคงห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 1,000 คน สนามกีฬาและการแข่งขันกีฬาในร่มมีผู้ชมได้ไม่เกิน 75% แต่หากเป็นกีฬากลางแจ้งจะมีผู้ชมได้ตามความจุของสนาม โดยต้องมีมาตรการเว้นระยะห่างไม่ให้หนาแน่นจนเกินไป

    โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้านในพื้นที่มีเครื่องปรับอากาศ เปิดได้ตามปกติและมีจำนวนผู้ชมตามมาตรการที่กำหนด ไม่หนาแน่นจนเกินไป

    กรณีศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ รวมถึงสถานที่ลักษณะเดียวกันในห้างสรรพสินค้า และโรงแรม สามารถจัดงานได้ตามความเหมาะสม

    กรณีศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และซิตี้มอลล์ เปิดบริการได้ตามเวลาปกติ สามารถเปิดสวนสนุกและสวนน้ำได้เฉพาะพื้นที่เปิดโล่ง

    กรณีร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ

    ร้านอาหารทั้งในและนอกศูนย์การค้า สามารถนั่งกินอาหารในร้านได้และสามารถเปิดได้ตามปกติ แต่ยังคงงดการดื่มสุราในร้าน

    ร้านเสริมสวย ร้านนวด สปา สถานเสริมความงาม และร้านสักสามารถเปิดบริการได้ ปิดได้ไม่เกิน 24:00 น.

    มาตรการในการจัดงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สามารภบริโภคสุราในร้านอาหารได้เฉพาะวันที่ 31 ธันวาคม 64 ถึง 1 มกราคม 65 ไม่เกิน 01.00 น. และเฉพาะร้านที่เปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทเท่านั้น รวมถึงให้เคร่งครัดตามมาตรการป้องกันที่สาธารณสุขกำหนด

    พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว หรือพื้นที่สีฟ้า

    พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว หรือพื้นที่สีฟ้า จากเดิมมีทั้งหมด 7 จังหวัด แต่ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 64 เป็นต้นไป จะปรับเพิ่มเป็น 8 จังหวัด และจังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่ 18 จังหวัด ดังนี้

    1. กรุงเทพมหานคร

    2. กาญจนบุรี

    3. กระบี่

    4. ชลบุรี

    5. นนทบุรี

    6. ปทุมธานี

    7. พังงา

    8. ภูเก็ต

    18 จังหวัดที่ดำเนินการบางพื้นที่ ได้แก่

    1. ขอนแก่น (เฉพาะอำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอเปื่อยน้อย อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า และอำเภออุบลรัตน์)

    2. จันทบุรี (เฉพาะอำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอท่าใหม่)

    3. เชียงราย (เฉพาะอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเวียงป่าเป้า)

    4. เชียงใหม่ (เฉพาะอำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภจอทอง อำเภอดอยเต่า อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม)

    5. ตราด (เฉพาะอำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง)

    6. นครราชสีมา (เฉพาะอำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอปากช่อง อำเภอพิมาย อำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอสีคิ้ว)

    7. บุรีรัมย์ (เฉพาะอำเภอเมืองบุรีรัมย์)

    8. ประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะเทศบาลเมืองหัวหิน เฉพาะตำบลหัวหินและตำบลหนองแก)

    9. พระนครศรีอยุธยา (เฉพาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา)

    10. เพชรบุรี (เฉพาะเทศบาลเมืองชะอำ)

    11. ระนอง (เฉพาะเกาะพยาม)

    12. ระยอง (เฉพาะเกาะเสม็ด)

    13. เลย (เฉพาะอำเภอเชียงคาน)

    14. สมุทรปราการ (เฉพาะบริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ)

    15. สุราษฎร์ธานี (เฉพาะเกาะเต่า เกาะพะงัน และเกาะสมุย)

    16. สุรินทร์ (เฉพาะอำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอท่าตูม)

    17. หนองคาย (เฉพาะอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอสังคม)

    อุดรธานี (เฉพาะอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวา อำเภอนายง อำเภอบ้านดุง อำเภอประจัษ์ศิลปาคม และอำเภอหนองหาน)

    โดยจังหวัดในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวนี้จะไม่มีการจำกัดเวลาออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิว สามารถเดินทางได้ตลอดเวลา และสามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่มได้ตามความเหมาะสม สนามกีฬาและการแข่งขันกีฬาในร่มต้องมีผู้ชมไม่เกิน 75% แต่หากเป็นกีฬากลางแจ้งมีผู้ชมได้ตามความจุของสนาม แต่ต้องมีมาตรการเว้นระยะห่าง

    โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้านในพื้นที่มีเครื่องปรับอากาศ เปิดได้ตามปกติและมีจำนวนผู้ชมตามมาตรการที่กำหนด

    กรณีศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ รวมถึงสถานที่ลักษณะเดียวกันในห้างสรรพสินค้า และโรงแรม สามารถจัดงานได้ตามความเหมาะสม

    กรณีศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และซิตี้มอลล์ เปิดบริการได้ตามเวลาปกติ สามารถเปิดสวนสนุก และสวนน้ำได้เฉพาะพื้นที่เปิดโล่ง

    กรณีร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติ

    ร้านอาหารทั้งในและนอกศูนย์การค้า สามารถนั่งกินอาหารในร้านได้โดยเปิดได้ตามเวลาปกติ และสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้

    ร้านเสริมสวย ร้านนวด สปา สถานเสริมความงาม และร้านสักสามารถเปิดบริการได้ตามปกติ

    มาตรการในการจัดงานช่วงเทศกาลปีใหม่ สามารภบริโภคสุราในร้านอาหารได้เฉพาะวันที่ 31 ธันวาคม 64 ถึง 1 มกราคม 65 ไม่เกิน 01.00 น. และเฉพาะร้านที่เปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทเท่านั้น รวมถึงให้เคร่งครัดตามมาตรการป้องกันที่สาธารณสุขกำหนด

    อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ จึงควรติดตามการประกาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตัวเองขั้นสูงสุดตลอดเวลา (Universal Prevention) เช่น ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า และหน้ากากอนามัยของตัวเอง

    ที่สำคัญคือหากรู้ว่าสัมผัสความเสี่ยง ควรแยกตัวเองอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และทำการตรวจโควิดด้วยวิธี RT-PCR หรือชุดตรวจ ATK หลังสัมผัสโรคประมาณ 3-5 วัน

    สำหรับใครที่ต้องการตรวจหาเชื้อโควิด สามารถจองแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิดด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit ได้ทาง HDmall.co.th ได้แล้ววันนี้

    หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจสามารถแอดไลน์ @hdcoth มาสอบถามข้อมูลกับน้องจิ๊บใจดีได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-01.00 น


    บทความโควิด 19 ที่น่าสนใจยังมีอีก กดอ่านต่อด้านล่างได้เลย


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • ศูนย์ข้อมูล COVID-19, ข้อมูลแถลงข่าว ศบค. ประจำวันที่ 22 ธันวาคม 2564, (https://www.facebook.com/106036604348006/posts/470256784592651/), 22 ธันวาคม 2564.
    • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, Universal Prevention For COVID-19 (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล), (https://med.mahidol.ac.th/th/COVID-19/regulation/30aug2021-1702).
    • ราชกิจจานุเบกษา, พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548.
    • ราชกิจจานุเบกษา, แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรการ 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ปรับมาตรการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
    @‌hdcoth line chat