รู้ได้อย่างไรว่า กำลังเกิดภาวะมีบุตรยาก?


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะมีบุตรยากแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ และภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ
  • หากอายุต่ำกว่า 35 ปี พยายามมีลูกผ่านการมีเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องมามากกว่า 1 ปี แต่ก็ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ ถือว่า เข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก
  • หากคู่รักที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี พยายามมีลูกผ่านการมีเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน แต่ก็ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ ถือว่า เข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก
  • สนใจแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก เปรียบเทียบราคาได้ที่ HDmall.co.th สอบถามรายละเอียดแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ที่ @hdcoth

การมีลูกถือเป็นความฝันสูงสุดของคู่รักหลายคู่ แต่อาจไม่ใช่โจทย์ที่ง่ายสำหรับทุกคน คู่รักหลายคู่พยายามมีลูกด้วยกันจนกินระยะเวลาหลายปี แต่ก็ยังไม่สามารถมีเจ้าตัวน้อยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวได้

นั่นทำให้คู่รักหลายคู่ต้องกลับมาสังเกตตนเองว่า ร่างกายมีความผิดปกติหรือไม่ ถึงไม่สามารถมีลูกได้โดยง่าย และยังมีคู่รักอีกหลายคู่ที่ไม่รู้ว่า ปัญหามีลูกยากของตนเองเข้าขั้นที่เรียกว่า ภาวะมีบุตรยากแล้วหรือยัง

วันนี้เรารวบรวมปัจจัยเกี่ยวกับผู้ที่เกิดภาวะมีบุตรยาก ให้คุณได้กลับไปสำรวจตนเองกับคนรักว่า เรามีความเสี่ยงเป็นภาวะนี้กันหรือไม่

ก่อนอื่นเรามาจำแนกกันก่อนว่า ภาวะมีบุตรยากมีกี่แบบกันแน่

ประเภทของภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยากแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

  • ภาวะมีบุตรยากแบบปฐมภูมิ (Primary infertility) คือ เป็นภาวะมีบุตรยากที่คู่สามีภรรยายังไม่เคยเกิดการตั้งครรภ์มาก่อนเลย
  • ภาวะมีบุตรยากแบบทุติยภูมิ (Secondary infertility) คือ ภาวะมีบุตรยากที่คู่สามีภรรยาเคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ไม่ว่าผลลัพธ์การตั้งครรภ์ครั้งนั้นจะเป็นการแท้ง หรือการคลอดบุตรก็ตาม

แบบไหนถึงเรียกว่า “ภาวะมีบุตรยาก” ?

หากไม่แน่ใจว่า ตนเองกับคู่รักเป็นกลุ่มผู้ที่เกิดภาวะมีบุตรยากหรือไม่ วิธีวินิจฉัยด้วยตนเองง่ายๆ คือ

  • หากคุณอายุต่ำกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิดมามากกว่า 1 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถือว่า คุณกำลังเผชิญกับภาวะมีบุตรยากอยู่
  • หากเป็นคู่รักที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้คุมกำเนิดมามากกว่า 6 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ถือว่า คุณกำลังเผชิญกับภาวะมีบุตรยากอยู่

อย่างไรก็ตาม ภาวะมีบุตรยากเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งในส่วนนี้คุณจะต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัย และประเมินภาวะนี้อย่างละเอียดต่อไป

ปัจจัยทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

  • อายุที่มากขึ้น หากฝ่ายชายอายุมากกว่า 50 ปี ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 30-35 ปี ก็ถือว่า เป็นช่วงวัยที่โอกาสมีบุตรยากเริ่มสูงขึ้นแล้ว
  • โรคประจำตัว รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งมีส่วนทำให้ระบบสืบพันธุ์ทั้งเพศหญิง และเพศชายทำงานผิดปกติจนเกิดภาวะมีบุตรยาก เช่น โรคเบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง โรคตับแข็ง โรคไต โรคหนองใน โรคซิฟิลิส
  • ฝ่ายชายมีปริมาณ ความหนาแน่น และจำนวนน้ำอสุจิต่ำ โดยปริมาณเกณฑ์วิเคราะห์น้ำอสุจิในระดับปกติขององค์การอนามัยโลก คือ มากกว่า หรือเท่ากับ 2 มิลลิลิตร ความหนาแน่นมากกว่า หรือเท่ากับ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร และจำนวนอสุจิควรมากกว่า หรือเท่ากับ 40 ล้านตัว
  • ความผิดปกติที่ระบบสืบพันธุ์ฝ่ายชาย เช่น อัณฑะพัฒนาไม่สมบูรณ์ ท่อนำอสุจิอุดตัน ภาวะฮอร์โมนเพศชายผิดปกติ มีเนื้องอก หรือก้อนมะเร็งที่อัณฑะ เส้นเลือดขอดที่อัณฑะ ต่อมลูกหมากอักเสบ
  • ความผิดปกติที่ระบบสืบพันธุ์ฝ่ายหญิง เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก การตกไข่ผิดปกติ มีภาวะท่อนำไข่อุดตัน มีเยื่อพังผืดที่ท่อนำไข่
  • มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ซึ่งจะทำให้การมีเพศสัมพันธ์ถี่น้อยลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ปริมาณอสุจิไม่เพียงพอ การตกไข่เกิดความผิดปกติ จนยากต่อการเกิดการตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรควิตกกังวล
  • การได้รับรังสี หรือสารเคมีอันตรายอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้ระบบในร่างกายทรุดโทรมอ่อนแอ ปริมาณอสุจิมีการผลิตน้อยลง การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ และทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ เช่น สารตะกั่วสารปรอท สารนิโคตินจากบุหรี่ ยาฆ่าแมลง

เพื่อให้ร่างกายของคุณพร้อมสำหรับมีเจ้าตัวเล็ก และเพื่อให้แผนการมีลูกของคุณไม่สะดุด รวมถึงได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเต็มที่

คลิกเลยที่ HDmall.co.th เรามีแพ็กเกจการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และตรวจภาวะมีบุตรยาก เพื่อให้คุณ และคนรักได้ตรวจความพร้อม และรู้เท่าทันความผิดปกติของร่างกายก่อนวางแผนมีลูก อีกทั้งจะได้รับคำแนะนำสำหรับการมีบุตรอย่างเหมาะสมจากแพทย์โดยตรงอีกด้วย

รีบดูแลสุขภาพกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้คุณ คนรัก และลูกน้อยได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

ที่มาของข้อมูล

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=390:infertility&catid=42&Itemid=479), 26 มกราคม 2564.

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร, ภาวะมีบุตรยาก (http://www.med.nu.ac.th/fom/th/nuhoffice/file_mt/186_แผ่นพับภาวะมีบุตรยาก.pdf), 26 มกราคม 2564.

น.พ. ธนัท จิรโชติชื่นทวีชัย, ภาวะมีบุตรยากในเพศชา (Male Infertility) (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=907:male-infertility&catid=45&Itemid=561), 26 มกราคม 2564.

รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อยากท้อง….ไม่อยากท้อง? (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=819), 26 มกราคม 2564.

@‌hdcoth line chat