คุณมีความเสี่ยงต่อการเสพติดแอลกอฮอล์มากแค่ไหน


ความเสี่ยงต่อการเสพติดแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์จัดเป็นสารกระตุ้นหรือสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย   และทุกคนทราบดีว่าแอลกอฮอล์ส่งผลกระทบต่อร่างกายและสมองอย่างไร แต่หลายคนก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ไม่ว่าจะเทศกาลใดจะต้องมีแอลกอฮอล์เป็นตัวประกอบหลักเสมอ  บางคนสามารถควบคุมการดื่มเพื่อป้องกันผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดตามมา  แต่มีหลายคนที่ดื่มโดยไม่สามารถควบคุมได้และนั่นเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาตามมาทั้งต่อตัวผู้ดื่มเองและคนรอบข้าง   

ดังนั้น การรู้ว่าการดื่มนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือการดื่มนั้นมีความเสี่ยงสามารถประเมินการดื่มได้จากแบบประเมินความผิดปกติในการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเอง (AUDIT) ซึ่งพัฒนาโดยแผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุราแบบบูรณาการ (ผรส.) โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต ดังนี้ 

การแปลผลตามระดับคะแนน

  • 1 - 7 คะแนน หมายถึง คุณดื่มแบบมีความเสี่ยงน้อยควรระมัดระวังในการดื่ม
  • 8 - 12 คะแนน หมายถึง คุณดื่มแบบก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพควรระมัดระวังและลดปริมาณในการดื่มลง
  • 13 - 40 คะแนน หมายถึง คุณติดแอลกอฮอล์ ควรได้รับการบำบัดจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

จากแบบประเมินจะเห็นว่า การดื่มที่ไม่มีความเสี่ยง หรือ เป็นการดื่มที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณ 1 มาตรฐาน / วัน หรือ ไม่เกิน 2 มาตรฐาน / วัน

หนึ่งดื่มมาตรฐาน คือ เครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ ประมาณ 10 กรัม หรือประมาณ 12.5 มิลลิลิตร โดยปกติคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ตับจะทำหน้าที่ขับแอลกอฮอล์จำนวนหนึ่งดื่มมาตรฐานออกจากร่างกาย โดยจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1ชั่วโมง

ตัวอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่นับเป็นหนึ่งดื่มมาตรฐาน ได้แก่

  • สก็อตช์ วิสกี้ 1 แก้ว ขนาด 30 มิลลิลิตรหรือ 2 ฝาใหญ่ ดีกรีของแอลกอฮอล์ 40%
  • ไวน์ 1 แก้ว ขนาด 100 มิลลิลิตร ดีกรีของแอลกอฮอล์ 12%
  • เบียร์ 1 แก้ว หรือ 1 กระป๋อง ขนาด 285 มิลลิลิตร ดีกรีของแอลกอฮอล์ 5%
  • เบียร์ 1 กระป๋อง หรือ 1ขวดเล็กดีกรีแอลกอฮอล์3.5 % 
  • ไวน์คูเลอร์1 ขวด  ขนาด 330มิลลิลิตร ดีกรีแอลกอฮอล์4 %
  • เหล้าปั่น  ปริมาณ 2 ช็อท

ขอบคุณ แบบประเมินความผิดปกติในการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตนเอง (AUDIT) จากแผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสุราแบบบูรณาการ (ผรส.) โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต


บทความแนะนำ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat