สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ผมเป็นคนนอนได้น้อย ประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็ตื่นแล้ว แม้ว่าจะอยากนอนมากกว่านั้นแต่ก็นอนไม่หลับ เป็นแบบนี้มาหลายปีจนรู้สึกอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขมัน
- ผมตรวจการนอนหลับกับศูนย์ชีวานิทราเวช เพราะเจ้าที่ให้บริการตรวจการนอนหลับที่บ้าน ไม่ต้องไปที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่มาติดตั้งอุปกรณ์ให้ถึงที่เลย
- อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตามตัวจะบอกได้ว่า ขณะที่เรานอนหลับ สมองเราทำงานอยู่มั้ย? มีภาวะหยุดหายใจรึเปล่า ส่งผลอย่างไรกับระดับออกซิเจนในเลือด ตรวจดูว่าเรามีอาการนอนขากระตุก นอนดิ้น หรือนอนกรน
- ผลตรวจการนอนหลับจะต้องรอประมาณ 7 วัน เจ้าหน้าที่ก็จะให้วิดีโอคอลฟังผลตรวจและรับคำแนะนำกับคุณหมอครับ
- จากผลตรวจ ผมมีการหยุดหายใจขณะหลับต่อ 1 นาที ค่าอยู่ที่ 33.7 ซึ่งหากเกินกว่า 30 คุณหมอนับว่าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ถือว่ามีค่าสูงเกินเกณฑ์ปกติ ระดับเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดช่วงที่ต่ำสุดอยู่ที่ 84% ตรงนี้คุณหมอก็แจ้งว่าเป็นค่าที่ถือว่าต่ำ
- ปัญหาที่ผมเป็นคุณหมอก็แนะนำให้ลองใช้เครื่อง CPAP ก็อาจจะทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น นานขึ้น
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ
- ดูรายละเอียด ราคาตรวจการนอนหลับ แบบบริการที่บ้าน กับ ศูนย์ชีวานิทราเวช
- ดูรายละเอียดโปรโมชั่นทั้งหมดจาก ศูนย์ชีวานิทราเวช บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่ต้องการได้ที่นี่
- รีวิวตรวจการนอนหลับที่บ้าน กับ ศูนย์ชีวานิทราเวช
- การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Test ตรวจการนอนหลับที่บ้าน
- ตรวจการนอนหลับ ทำ Sleep Test ตรวจอะไรได้บ้าง?
- การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจการนอนหลับที่บ้าน
- ระหว่างตรวจการนอนหลับที่บ้าน รู้สึกยังไง?
- ฟังผลตรวจการนอนหลับผ่านวิดีโอคอลกับแพทย์
- ตรวจการนอนหลับ ทำ Sleep Test ที่ไหนดี?
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ก่อนที่ผมจะมาตรวจการนอนหลับ หรือทำ Sleep Test มันมีสาเหตุมาจากการที่ผมเป็นคนนอนได้น้อย พอนอนหลับไปประมาณ 5-6 ชั่วโมงก็ตื่นแล้ว แม้ว่าจะอยากนอนมากกว่านั้นแต่ก็นอนไม่หลับ เป็นแบบนี้มาหลายปีจนรู้สึกอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขมัน
และจากที่เห็นรีวิวตรวจการนอนหลับ รีวิวทำ Sleep Test ของหลายๆ คนในอินเทอร์เน็ตมันก็ยิ่งทำให้ผมเริ่มคิดหนักว่าปัญหาการนอนของเรามันส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านใดบ้าง เพราะการนอนหลับพักผ่อนเป็นเหมือนการเติมพลังงานเข้าสู่ร่างกาย หากเรานอนหลับไม่เต็มอิ่มก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นได้
รีวิวตรวจการนอนหลับที่บ้าน กับ ศูนย์ชีวานิทราเวช
ผมก็เลยตัดสินใจว่าจะตรวจการนอนหลับดูครับ โดยผมเลือกตรวจการนอนหลับกับ ศูนย์ชีวานิทราเวช หรือ Brain Dynamics เพราะเจ้าที่ให้บริการตรวจการนอนหลับที่บ้าน ไม่ต้องไปที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่มาติดตั้งอุปกรณ์ให้ถึงที่เลย
ใครที่อยากตรวจการนอนหลับผมแนะนำเลยว่าให้ตรวจกับ ศูนย์ชีวานิทราเวช หรือ Brain Dynamics เพราะเค้ามีโปรโมชั่นลดราคาอยู่บน HDmall.co.th ซึ่งถูกกว่าเราจองเองมากๆ ครับ แถมยังมีแอดมินคอยให้บริการตอบข้อซักถาม และมีข้อมูลการเตรียมตัว มีเช็กลิสต์ให้เราดูด้วยว่าอาการแบบไหนที่ควรตรวจเพื่อจะได้เช็กว่าเรามีปัญหาจริงๆ
หลังจากที่ผมจองคิวทำนัดผ่าน HDmall.co.th เรียบร้อยก็แค่แจ้งวันเวลาที่ต้องการนัดหมาย แล้วก็ส่งที่อยู่ให้กับเจ้าหน้าที่รวมถึงแผนที่เพื่อจะได้เดินทางมาถูกต้อง
เจ้าหน้าที่ก็จะส่งข้อมูลรายละเอียดการตรวจการนอนหลับที่บ้านมาให้ โดยจะอธิบายว่าจะตรวจอะไรระหว่างที่เรานอนหลับบ้าง รวมถึงการเตรียมตัวก่อนตรวจการนอนหลับที่บ้านด้วย
การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Test ตรวจการนอนหลับที่บ้าน
เนื่องจากในช่วงที่สถานการโควิด-19 ยังไม่น่าไว้วางใจ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะให้เราตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK และส่งผลตรวจให้เจ้าหน้าที่ก่อนรับบริการ 1 วัน
ถ้าหากว่าตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด-19 สามารถแจ้งยกเลิกหรือเลื่อนนัดได้ก่อน 6 โมงเย็นของวันที่ตรวจ โดยจะต้องแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ของศูนย์ชีวานิทราเวชโดยตรง
หากแจ้งหลังเวลา 6 โมงเย็น หรือเจ้าหน้าที่มาถึงบ้านของเราแล้วรู้ว่าเราติดเชื้อโควิด-19 ก็จะมีค่าปรับด้วย แนะนำเลยว่าถ้าใครจะตรวจการนอนหลับ ให้ตรวจโควิด-19 ก่อน หรือเลี่ยงไปในพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่แออัดในช่วงที่เตรียมตัวตรวจครับ
การเตรียมตัวก่อนตรวจการนอนหลับสำคัญมากๆ ใครที่อยากจะทำ Sleep Test หรือตรวจการนอนหลับ ไม่ว่าจะตรวจที่บ้านหรือโรงพยาบาลก็จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเลยนะครับ เพราะทุกขั้นตอนเป็นสิ่งที่อาจจะทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้ โดยในเอกสารก็จะระบุการเตรียมตัวก่อนตรวจการนอนหลับดังนี้
- ในวันที่รับบริการ ให้งดการนอนหลับในเวลากลางวัน
- เลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือยากระตุ้นประสาทก่อนตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
- เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- เลี่ยงการออกกำลังกายหนักในก่อนเข้ารับการตรวจ
- รับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยก่อนตรวจ
- ก่อนตรวจอย่างน้อย 5 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำให้น้อย
- ควรอาบน้ำสระผมให้สะอาดแล้วเป่าผมให้แห้ง
- ห้ามใช้ครีมนวด น้ำมัน แว็กซ์หรือสเปรย์ที่ผม ห้ามทาครีม แป้ง โลชั่น เซรั่ม หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความมัน ลงบนผิวหนังหรือศีรษะ เนื่องจากอาจทําให้อุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองบนศีรษะ และจุดต่างๆ บริเวณลําตัวเลื่อนหลุดได้
- หากมียาที่ต้องกินเป็นประจํา หรือใช้ยานอนหลับเป็นประจํา จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจําเป็นต้องงดหรือไม่
- สำหรับผู้ชาย ถ้ามีหนวด เครา ควรโกนให้เรียบร้อย เนื่องจากอาจทําให้อุปกรณ์ที่ตรวจวัดเกิดการเลื่อนหลุดได้
- สำหรับผู้หญิง งดแต่งหน้าและทาเล็บ หากมีการแต่งเล็บอะคริลิก ควรล้างออกให้เรียบร้อย เนื่องจากมีผลต่อการรับสัญญาณออกซิเจนที่นิ้วขณะตรวจ
จากนั้นก็ให้เราเซ็นเอกสารกำกับว่าเราได้ศึกษาข้อมูลนี้อย่างดีแล้ว เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ตรวจการนอนหลับ ทำ Sleep Test ตรวจอะไรได้บ้าง?
หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า ตรวจการนอนหลับ ตรวจอะไรได้บ้าง? ซึ่งจากที่ผมศึกษาข้อมูลมาพอสมควร การตรวจการนอนหลับ หรือทำ Sleep Test สามารถตรวจพบภาวะผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อไปอีกหลายโรคเลย
เพราะการนอนเป็นส่วนสำคัญของชีวิต หากมีความผิดปกติขณะนอนหลับพักผ่อน ก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะอื่นๆ ตามมา หากรุนแรงก็อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตเลยครับ
สำหรับโปรแกรมตรวจการนอนหลับ แบบบริการที่บ้าน ที่ผมเลือกใช้บริการ เป็นโปรแกรม Home Sleep Test Type 2 ที่มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจคลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง (EEG)
- ตรวจคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อลูกตา (EOG)
- ตรวจคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อคาง (Chin EMG)
- ตรวจคลื่นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อขา (Leg EMG)
- ตรวจคลื่นสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
- ตรวจสัญญาณลมหายใจ (Airflow)
- ตรวจความพยายามในการหายใจ (Resp. Effort)
- ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Oximetry)
- ตรวจสัญญาณการกรน (Snoring)
- ตรวจท่าทางการนอน (Body position)
ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็จะบอกได้ว่า ขณะที่เรานอนหลับ สมองเราทำงานอยู่มั้ย? มีภาวะหยุดหายใจรึเปล่า และส่งผลอย่างไรกับระดับออกซิเจนในเลือด รวมไปถึงการตรวจดูว่าเรามีอาการนอนขากระตุก นอนดิ้น หรือนอนกรนได้อีกด้วยครับ
การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจการนอนหลับที่บ้าน
พอถึงวันนัดหมาย เจ้าหน้าที่ก็จะเข้ามากัน 2 คน เพื่อติดตั้งอุปกรณ์สำหรับตรวจการนอนหลับที่บ้าน โดยเค้าจะแนะนำตัวก่อน แล้วก็แนะนำว่าจะมีรายการตรวจอะไรบ้าง จากนั้นก็หยิบอุปกรณ์ออกมาวางเรียงให้เราดูพร้อมกับแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ ว่าจะติดตรงไหน เพื่ออะไร
จากนั้นเค้าก็จะให้เรานั่งบนเก้าอี้ แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะอ้อมไปด้านหลัง ส่วนอีกคนก็จะคอยเตรียมยื่นอุปกรณ์ให้ตลอดเลย
อันดับแรก เจ้าหน้าที่ก็จะใช้สายวัดขนาดรอบคอ และจุดต่างๆ บนศีรษะเพื่อทำเครื่องหมายว่าจะติดอุปกรณ์ตรงไหนของศีรษะเราบ้าง
การติดอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่จะนำสำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดผิวเราก่อน แล้วก็ติดสายส่งสัญญาณตามจุดต่างๆ โดยจะมีครีมเหนียวๆ เป็นตัวเชื่อมแล้วก็ใช้เทปกาวปิดทับอีกหนึ่งชั้นเป็นอันเสร็จ
จากที่ผมพยายามนับดู สายต่างๆ ที่ติดอยู่บนศีรษะจะติดทั้งหมด 6 จุด แล้วก็ติดบนหน้าผาก 1 จุด ข้างดวงตา 2 จุด ใต้คาง 2 จุด หลังหู 2 จุด รวม 13 จุดบนศีรษะครับ
ส่วนตามร่างกายก็ติดบริเวณใต้หน้าอกซ้ายและใต้ไหปลาร้าด้านขวา และสุดท้ายติดบริเวณหน้าแข้งทั้งสองข้าง แล้วก็มีสายรัดด้านนอกเสื้อเป็นสายยางยืดที่จะรัดหน้าอกผมอีก 2 เส้นด้วยครับ
ต่อด้วยสายบริเวณจมูก ที่จะแหย่เข้าไปเล็กน้อยประมาณ 2 มิลฯ แล้วก็มีที่ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนที่จะหนีบอยู่ที่นิ้วชี้ เป็นอันครบถ้วน
อ่านถึงตรงนี้แล้วหลายคนคงรู้สึกได้เลยว่ามันลำบาก และไม่สบายตัวอย่างมากที่มีสายห้อยระโยงระยางเต็มตัวไปหมด ไฟจะช็อตมั้ย? ตรวจการนอนหลับมีอันตรายรึเปล่า? ตอบเลยว่าไม่มีครับ เพราะการติดอุปกรณ์ต่างๆ เป็นการตรวจรับสัญญาณเฉยๆ เค้าไม่ได้ปล่อยคลื่นไฟฟ้าหรือพลังงานเข้ามาที่อุปกรณ์
แต่เป็นตัวอุปกรณ์ต่างหากที่สามารถตรวจรับ ตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของจุดต่างๆ ได้ โดยสายทั้งหมดจะเชื่อมเข้าสู่เต้ารับอันใหญ่ๆ 1 อันที่จะวางไว้ใกล้ๆ ตัวเราครับ
หลังจากติดอุปกรณ์ครบเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะให้เราลองนอนบนเตียง แล้วก็ดูการตั้งค่าของเครื่องว่ามันสามารถตรวจวัดคลื่นต่างๆ ได้แล้วหรือไม่ โดยระหว่างนั้นก็จะให้เราลองขยับร่างกายตามจุดต่างๆ ตามที่เค้าบอก เหมือนเป็นการเช็กว่าจุดที่ติดไปโอเคแล้วรึยัง
จากนั้นเค้าก็จะสอนว่าหากต้องการเข้าห้องน้ำกลางดึกต้องทำยังไง? เพราะการตรวจการนอนหลับที่บ้านจะไม่มีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าอยู่ตลอดทั้งคืน เราต้องดูแลตัวเองหากต้องลุกไปเข้าห้องน้ำ
เจ้าหน้าที่ก็จะสอนให้ถอดสายที่เต้ารับสายสัญญาณ ถอดสายตรวจวัดการหายใจประมาณ 3-4 เส้นตรงจมูก และสายวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนที่นิ้วชี้แค่นั้นเอง
เจ้าหน้าที่เตรียมกระเป๋าสำหรับใส่อุปกรณ์เอาไว้ให้ เวลาเข้าห้องน้ำเราก็เอาเต้ารับใส่ไปในกระเป๋าใบนั้น ขนาดของเต้ารับก็เล็กประมาณกล่องรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต เบามากๆ ส่วนสายที่ยาวๆ ถูกจัดไว้เป็นระเบียบอยู่แล้วใส่ไปในกระเป๋าก็ไม่พันกันแน่นอน
พอกลับมาจากห้องน้ำก็แค่เสียบสายใหญ่ๆ ที่เต้ารับจุดเดียว แล้วก็เสียบสายตรวจวัดการหายใจกับสายวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนที่นิ้วชี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
และสุดท้ายก็สอนวิธีการแกะอุปกรณ์ต่างๆ ในตอนเช้า ระหว่างรอให้เจ้าหน้าที่มาเก็บอุปกรณ์ โดยเค้าแนะนำว่า การถอดอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจการนอนหลับ ให้ใช้น้ำอุ่นชุบเทปกาวให้ชุ่มแล้วค่อยแกะออกเบาๆ เพื่อให้ไม่ไประคายเคืองผิวหนังครับ
พอเจ้าหน้าที่กลับก็เข้านอนได้เลย
ระหว่างตรวจการนอนหลับที่บ้าน รู้สึกยังไง?
จากที่ผมเคยอ่านรีวิวมาว่า หากไปตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล เตียงก็จะเป็นเตียงคนไข้ บรรยากาศก็เหมือนห้องพักผู้ป่วยทั่วไป แม้ว่าจะไม่มีสายน้ำเกลือ แต่บรรยากาศโดยรวมก็คือโรงพยาบาล ทุกคนก็จะไม่ค่อยคุ้นชินกับสถานที่ ทำให้หลายคนนอนไม่ค่อยหลับ
แต่สำหรับผมที่ตรวจการนอนหลับที่บ้านของตัวเอง เป็นสถานที่ที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว มีทั้งหมอนข้าง ผ้าห่มที่นอนด้วยทุกคืนก็ทำให้การมีอุปกรณ์ตามตัวไม่ได้เป็นอุปสรรคในการนอนเลย
ความรู้สึกระหว่างตรวจการนอนหลับที่บ้านก็ชิลๆ มากเลยครับ ไม่ได้อึดอัดอย่างที่คิด ไม่ได้รู้สึกไม่สบายตัวกับการที่มีสายเต็มตัวเลย เพราะเค้าติดค่อนข้างแน่น ไม่ได้หลุดง่ายๆ แน่นอน
แต่จะมีความรู้สึกอยู่บ้างตรงอุปกรณ์ที่หนีบอยู่ตรงนี้ชี้ แต่ก็นอนหลับได้สบาย
เช้าวันรุ่งขึ้น พอตื่นมาผมก็ถอดอุปกรณ์ตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ แล้วก็วางเตรียมไว้ให้เค้ามาเก็บอุปกรณ์ง่ายๆ เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนครับ
ฟังผลตรวจการนอนหลับผ่านวิดีโอคอลกับแพทย์
สำหรับผลตรวจการนอนหลับจะต้องรอประมาณ 7 วัน เจ้าหน้าที่ก็จะให้คิวเพื่อวิดีโอคอลฟังผลตรวจและรับคำแนะนำกับคุณหมอครับ โดยคุณหมอก็จะอ่านผลตรวจให้ผมฟังที่ละจุดเลย ซึ่งผลตรวจหลักๆ ของผมมีดังนี้
จากผลตรวจการนอนหลับ ผมมีการหยุดหายใจขณะหลับต่อ 1 นาที ค่าอยู่ที่ 33.7 ซึ่งหากเกินกว่า 30 คุณหมอนับว่าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ถือว่ามีค่าสูงเกินเกณฑ์ปกติ
ส่วนระดับเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดช่วงที่ต่ำสุดอยู่ที่ 84% ตรงนี้คุณหมอก็แจ้งว่าเป็นค่าที่ถือว่าต่ำพอสมควร
แต่ในทางกลับกัน คุณภาพการนอนของผมอยู่ที่ 92.9% ถือว่าดีมาก นอนหลับได้ลึก ไม่ได้ตื่นระหว่างการนอนหลับ ไม่มีการกัดฟัน ไม่มีการเคลื่อนไหวของขา
ซึ่งคุณหมอก็ได้สรุปอีกครั้งให้ฟังว่า การที่ผมหยุดหายใจขณะหลับส่งผลให้ร่างกายผมตื่นชั่วขณะ แต่โชคดีที่ผมสามารถกลับมานอนหลับลึกได้อีกอย่างรวดเร็ว ก็เลยทำให้คุณภาพการนอนโดยรวมยังไม่ถึงกับแย่
และจากที่ผมไม่มีประวัติการอ่อนเพลีย ง่วงระหว่างวัน ไม่มีความรู้สึกอ่อนล้า นอนไม่พอ ก็เลยยังไม่น่ากังวล แต่จากปัญหาของผมที่นอนไปแค่ 5-6 ชั่วโมงแล้วตื่น คุณหมอก็แนะนำให้ลองใช้เครื่อง CPAP ก็อาจจะทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
โดยเจ้าเครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เป็นเครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ จริงๆ แล้วเจ้าเครื่องนี้มีไว้ใช้รักษาผู้ที่มีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
จากที่ผมมีการหยุดหายใจ 33.7 ครั้งต่อนาที คุณหมอก็แนะนำว่าหากใช้เจ้าเครื่องนี้ การหยุดหายใจตอนนอนก็จะดีขึ้น และอาจจะทำให้ผมนอนหลับได้นานขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดจากการนอนได้อีกด้วย
แต่ถ้าใครที่ตรวจแล้วพบว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับเยอะมากๆ คุณหมอก็จะแนะนำว่าควรใช้เครื่อง CPAP ในการรักษาเบื้องต้นก่อน เพราะหากปล่อยเอาไว้นานเข้าก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากๆ ครับ
ซึ่งเจ้าหน้าที่จาก ศูนย์ชีวานิทราเวช ก็แนะนำด้วยว่า หากผมต้องการทดลองใช้เครื่อง CPAP ทางศูนย์ฯ ก็มีให้ทดลองนำกลับมาใช้ฟรีที่บ้านด้วย โดยจะมีเจ้าหน้าที่มาสอนการใช้งานถึงที่เลย แล้วถึงตอนนั้นค่อยตัดสินใจก็ได้ว่าจะลองซื้อมารึเปล่า
ตรวจการนอนหลับ ทำ Sleep Test ที่ไหนดี?
ใครที่กำลังตัดสินใจว่าจะตรวจการนอนหลับ ทำ Sleep Test ที่ไหนดี ผมแนะนำเลยครับว่า ตรวจการนอนหลับที่บ้าน กับ ศูนย์ชีวานิทราเวช สะดวก คุ้มค่า แถมเจ้าหน้าที่อธิบายรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน และราคาตรวจการนอนหลับก็ไม่แพง อยู่ในราคาที่จับต้องได้
โดยเฉพาะเมื่อจองโปรโมชั่นตรวจการนอนหลับที่บ้านของศูนย์ชีวานิทราเวชกับ HDmall.co.th ได้ส่วนลด แถมมีแอดมินคอยบริการ สะดวกมากๆ ครับ
สำหรับใครที่มีปัญหาการนอนหลับ ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกหลับได้ไม่เต็มอิ่ม นอนกรน นอนกระตุก หรือนอนแล้วหยุดหายใจจนมีคนทัก แนะนำเลยว่าควรตรวจการนอนหลับสักครั้งนึง เพื่อดูความผิดปกติว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงมากน้อยแค่ไหน