คนที่มีปัญหาการนอนหลับ หลับไม่เต็มอิ่ม กลางวันไม่สดใสโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร การตรวจการนอนหลับอาจช่วยให้คุณวางแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น
สารบัญ
ตรวจการนอนหลับคืออะไร?
ตรวจการนอนหลับ (Sleep test) หรือเรียกอีกอย่างว่า Polysomnography (PSG) เป็นการบันทึกค่าความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในร่างกายระหว่างการนอนหลับ เพื่อหาว่าความผิดปกติเกิดขึ้นช่วงใดของวงจรการนอนหลับ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร
เมื่อทราบว่าการนอนของคุณผิดปกติตรงไหน ก็จะสามารถรวางแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ไม่ต้องทดลองด้วยตัวเองอย่างไม่มีทิศทาง
ขั้นตอนการตรวจการนอนหลับเป็นอย่างไร?
การตรวจการนอนหลับอาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เมื่อเตรียมตัวสำหรับการนอนเรียบร้อยแล้ว ผู้ชำนาญการจะติดเซนเซอร์ไว้ที่ศีรษะ ขมับ หน้าอก และขาของผู้ใช้บริการ
- จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจะติดอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดออกซิเจนในเลือดไว้ที่นิ้วมือหรือบริเวณหู
- ผู้ใช้บริการบางรายอาจได้รับเครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินทายใจ (Continuous positive airway pressure: CPAP) ก่อนการนอน เพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวกระหว่างหลับ
- เมื่อเริ่มหลับ ร่างกายจะเข้าสู่วงจรการนอนที่เรียกว่า Non-rapid eye movement (NREM) โดยปกติช่วงนี้คลื่นสมองจะทำงานน้อยลง หายใจช้าลง และดวงตาจะไม่กลอกไปมาอย่างรวดเร็ว หากเกิดความผิดปกติในช่วงนี้เครื่องจะสามารถบันทึกได้ หรือผู้ชำนาญการอาจสังเกตได้
- เมื่อถึงตอนเช้า ผู้ชำนาญการจะถอดอุปกรณ์ทุกอย่างออก จากนั้นจะนัดให้มาฟังผลใน 5-7 วัน
หากนอนไม่เต็มอิ่มในระหว่างการตรวจการนอนหลับก็ไม่ต้องกังวลเกินไป เพราะการหลับลึกหรือหลับตื้นไม่ได้กระทบกับผลการทดสอบมากนัก
ตรวจการนอนหลับตรวจอะไรบ้าง?
การตรวจการนอนหลับจะเป็นการบันทึกข้อมูลต่างๆ ดังนี้
- ตรวจคลื่นสมอง (Brain waves)
- ตรวจระดับออกซิเจนในเลือด
- ตรวจการหายใจ (Air flow)
- ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ
- ดูการกระตุกหรือสะดุ้งขณะนอนหลับ
- ดูการเคลื่อนไหวของช่องท้องและหน้าอก
- ดูการขยับตัวไปมาระหว่างนอนหลับ
- ดูการกรอกตาขณะหลับ
- ดูพฤติกรรมการกรนหรือส่งเสียงแปลกๆ ขณะหลับ
การตรวจการนอนหลับมีทั้งบริการติดเครื่องวัดที่บ้านและแบบนอนพักที่โรงพยาบาล ทำให้รายการตรวจการนอนหลับอาจมีความแตกต่างกันออกไป ปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกโปรแกรมการตรวจที่เหมาะกับคุณที่สุด แตะที่นี่
ใครควรตรวจการนอนหลับ?
การตรวจการนอนหลับ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้
- ผู้ที่มีปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea)
- ผู้ที่มีอาการขากระตุกขณะนอนหลับ (Periodic limb movement disorder: PLMD)
- ผู้ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy) หรืออาการง่วงผิดปกติตอนกลางวัน นอนมากแค่ไหนก็ยังรู้สึกง่วง บางครั้งอาจรู้สึกแขนขาอ่อนแรง คอตก ปวดศีรษะ เป็นต้น
- ผู้ที่มักละเมอทำร้ายคนข้างๆ เมื่อฝันร้าย (REM sleep behavior disorder: RBD) หรือมีพฤติกรรมผิดปกติรุนแรง เช่น ลุกขึ้นเดินขณะหลับ
- ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง (Insomnia)
หากมีอาการเข้าข่าย สามารถเลือกดูแพ็กเกจตรวจการนอนหลับจาก HDmall.co.th
อ่านรีวิวการใช้เครื่อง CPAP และตัวทำความชื้น Humidifier เพื่อรักษาอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ
เตรียมตัวก่อนตรวจการนอนหลับ
เพื่อให้การตรวจการนอนหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรมีการเตรียมตัว ดังนี้
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ หลังเที่ยงของวันที่จะไปตรวจการนอนหลับ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังเที่ยงของวันที่จะไปตรวจการนอนหลับ
- หลีกเลี่ยงการนอนกลางวันของวันที่จะตรวจการนอนหลับ
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ ก่อนรับการตรวจการนอนหลับ
- ไม่ควรทาโลชั่น ครีมเจล ครีมนวดผม หรือฉีดโคโลญก่อนตรวจการนอนหลับ (ช่วงก่อนนอน) เพราะอาจรบกวนสัญญาณของเครื่องตรวจได้
- หากมียาประจำตัวที่ใช้เป็นประจำ ควรแจ้งผู้ให้บริการก่อนการทดสอบด้วย
- กรณีตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาลและต้องค้างคืน ควรเตรียมของใช้ส่วนตัวให้พร้อม เช่น ชุดนอนที่ใส่ประจำ
ตรวจการนอนหลับ ราคาเท่าไร?
การตรวจการนอนหลับมีหลายโปรแกรมตรวจ ขึ้นอยู่กับสถานที่ให้บริการ ราคาโดยประมาณที่ HDmall รวบรวมมามีดังนี้
- ปรึกษาแพทย์เรื่องปัญหาการนอนหลับ ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,000-1,500 บาท
- ตรวจการนอนหลับที่บ้าน ราคาอยู่ที่ประมาณ 3,500-9,000 บาท
- ตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล ราคาอยู่ที่ประมาณ 5,500-15,000 บาท
หากผู้ชำนาญการสั่งตรวจเพิ่มเติม หรือสั่งยา วิตามิน เพื่อการรักษา อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม