รีวิว ตรวจฮอร์โมนในวัย 60 ปี หาสาเหตุภาวะอารมณ์แปรปรวน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2


สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • วันแรกเราเจาะเก็บตัวอย่างเลือดกันก่อน แล้ววันที่สองจึงจะมาฟังผลตรวจกับคุณหมออีกทีค่ะ ซึ่งในส่วนของวันเจาะเลือด เราใช้เวลาแค่ประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้นเอง แล้วก็กลับบ้านไปรอฟังผลได้เลย
  • คุณหมอจะซักถามอาการวัยหมดประจำเดือนของเรา ซึ่งก็ไม่มีอาการอะไรเลย จะมีแค่อารมณ์ที่แปรปรวนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อยากมาตรวจฮอร์โมน
  • ฮอร์โมนความสุขช่วงวัย 60 มีค่าฮอร์โมนความสุขถึงเกณฑ์ 100 ก็เก่งแล้ว แต่ของเรามีค่าฮอร์โมนความสุขสูงถึง 146 เลย
  • คุณหมอสันนิษฐานว่า ที่เรามีอารมณ์แปรปรวนง่าย น่าจะเพราะต้องใช้สมาธิและเวลาในการดูแลหลานมากขึ้น ทำให้ไม่ค่อยได้พักและไม่มีเวลาอยู่กับตัวเองเหมือนเดิม
  • คุณหมอขอให้ลดเวลาในการดูแลหลานลงมาให้เหลือสัก 90-95% และให้อีก 5-10% ที่เหลือเป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเราเองค่ะ โดยให้เน้นทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดสมาธิเป็นหลัก
  • รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ โรงพยาบาลพญาไท 2

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่


อายุของเราตอนนี้ก็เข้าสู่ 60 ปีแล้วค่ะ กิจวัตรประจำวันหลักๆ คือการอยู่บ้านเลี้ยงหลาน 2 คน แต่ตอนนี้เริ่มมีอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่ายขึ้น เลยอยากมาลองตรวจฮอร์โมนเพื่อเช็กสักหน่อยว่ามีความผิดปกติตรงไหนมั้ยจากการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปแล้ว

ซึ่งในบทความนี้จะมารีวิวขั้นตอนและผลตรวจฮอร์โมนให้ทุกคนอ่านกันค่ะ โดยลูกสาวเป็นคนจัดแจงซื้อแพ็กเกจ ตรวจฮอร์โมน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 ผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th แล้วก็ทำนัดให้เรียบร้อย สะดวกมากๆ ค่ะ

รีวิว ตรวจฮอร์โมน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

การตรวจฮอร์โมนที่โรงพยาบาลพญาไท 2 จะต้องไปที่ศูนย์ Premier Life ชั้น 8 อาคาร B ของโรงพยาบาลค่ะ

กำหนดการตรวจจะแบ่งเป็น 2 วัน โดยที่วันแรกเราเจาะเก็บตัวอย่างเลือดกันก่อน แล้ววันที่สองถึงจะมาฟังผลตรวจกับคุณหมออีกที ซึ่งในวันเจาะเลือด เราก็มากับลูกสาว พอมาถึงที่ศูนย์ Premier Life ก็ยืนคูปองในอีเมลที่ได้รับจาก HDmall.co.th ให้เจ้าหน้าที่ก่อนค่ะ

เจ้าหน้าที่ก็จะขอบัตรประชาชนเพิ่มเพื่อทำประวัติก่อน แล้วจะมีเจ้าหน้าที่พาไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ซักถามประวัติโรคประจำตัวเล็กน้อย แล้วค่อยพาไปเจาะเลือดอีกที

พอเจาะเก็บตัวอย่างเลือดเสร็จ เราก็กลับบ้านกันได้เลยค่ะ เบ็ดเสร็จใช้เวลาในส่วนของวันแรกแค่ประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้นเอง

ผลตรวจฮอร์โมน หาสาเหตุภาวะอารมณ์แปรปรวน

ในวันฟังผลตรวจ เรากับลูกสาวก็เดินทางกลับมายังศูนย์ Premier Life อีกครั้งค่ะ เรามีการตรวจเช็กความดันกันก่อนสักครู่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็เชิญเข้าไปฟังผลตรวจกับคุณหมอ

ในโปรแกรมตรวจฮอร์โมนนี้ มีรายการตรวจหลายอย่างมาก เราจะรีวิวในส่วนของผลตรวจที่ไม่คาดคิดให้ทุกคนฟังเป็นหลักนะคะ

อย่างแรกที่คุณหมอจะซักถามก่อนฟังผลตรวจก็คือ เราหมดประจำเดือนตั้งแต่ตอนอายุ 54 ปี ซึ่งก็ผ่านมาได้หลายปีแล้ว แต่อาการหลังหมดประจำเดือนที่หลายคนชอบเจอกัน อย่างอาการร้อนวูบวาบ ผิวแห้งขึ้น เราไม่เป็นเลย ปกติมากๆ แค่ไม่มีประจำเดือนแล้วเท่านั้นเองค่ะ

ที่จะมีอยู่อย่างเดียวและเป็นสาเหตุที่ทำให้อยากมาตรวจฮอร์โมนก็คือ อาการอารมณ์ที่แปรปรวนนี่ล่ะ เพราะมันก็เป็นหนึ่งในอาการวัยหมดประจำเดือนเหมือนกัน คุณหมอจึงสอบถามต่อถึงกิจวัตรประจำวันในตอนนี้ ซึ่งก็ไม่ค่อยได้ทำอะไรนอกจากเลี้ยงหลานวัยเตาะแตะ 2 คน

คุณหมอพลิกผลตรวจพร้อมกับอธิบายว่า ไม่น่าจะเป็นอาการจากภาวะหมดประจำเดือน เพราะเราก็เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมาหลายปีแล้ว ถ้าจะอารมณ์แปรปรวนเพราะสาเหตุนี้ ก็น่าจะเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงหมดประจำเดือนใหม่ๆ ประมาณ 2 ปีแรก

คุณหมอสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากความเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงหลานมากกว่า แต่ตอนนี้ขอเริ่มการอ่านผลตรวจให้ฟังกันก่อนค่ะ ซึ่งภาพรวมของผลตรวจเกือบทั้งหมดถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติดีมาก ฮอร์โมนอินซูลินซึ่งบ่งบอกความเสี่ยงเรื่องโรคเบาหวานก็ปกติ

คุณหมอเสริมด้วยว่า เรามีระบบเมตาบอลิซึมดีกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า ซึ่งจะทำให้เหงื่อออกง่ายเวลาออกกำลังกายหรือทำงานบ้าน และไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูกเลย ซึ่งเป็นเรื่องจริงค่ะ เวลาทำงานบ้านอะไรนิดหน่อยเหงื่อก็มาแล้ว

ส่วนของลูกสาว คุณหมอก็บอกว่าก็น่าจะมีพันธุกรรมเรื่องเมตาบอลิซึมดีจากแม่ไปด้วยเหมือนกัน เพราะตัวเล็กเหมือนแม่เลยเปี๊ยบเลย

ผลตรวจเอสโตรเจน โดยปกติแล้วในวัยทองบางคนวัดผลออกมาไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ เพราะแทบไม่มีฮอร์โมนตัวนี้เหลืออยู่แล้ว แต่ของเราวัดออกมาได้ 8.3 เลย

ส่วนตัวฮอร์โมน LH กับฮอร์โมน FSH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่วัดว่าเข้าสู่วัยทองจริงๆ หรือยัง ผลตรวจก็ออกมาตามเกณฑ์ของผู้ที่อยู่ในวัยทองจริงๆ ค่ะ แต่คุณหมอบอกว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร ถือเป็นผลตรวจที่อยู่ในเกณฑ์ตามปกติของวัยหมดประจำเดือน

ผลตรวจที่ขึ้นตัวแดงจะมีอยู่ตัวเดียวเท่านั้นและทำให้แปลกใจมากๆ ก็คือ Happy Hormone (ฮอร์โมน DHEAs) หรือฮอร์โมนความสุขค่ะ ไม่ใช่ค่าฮอร์โมนต่ำหรือไม่มีนะ แต่มีฮอร์โมนตัวนี้เยอะมากจนขึ้นตัวแดงเลยต่างหาก คุณหมอบอกว่าคนช่วงวัยแบบเรา มีค่าฮอร์โมนความสุขถึงเกณฑ์ 100 ก็เก่งแล้ว แต่ของเรามีค่าฮอร์โมนความสุขสูงถึง 146 เลย

ไข้ข้อสงสัยเรื่องปัญหาอารมณ์แปรปรวนในวัยทอง

ทีนี้เราก็มาไขข้อสงสัยเรื่องอาการอารมณ์แปรปรวนกันต่อ ผลตรวจฮอร์โมนความสุขก็เยอะดี แต่ทำไมถึงมีอาการหงุดหงิดอยู่เรื่อยๆ คุณหมอจึงขอให้เล่าถึงภาพรวมการใช้ชีวิตก่อนหน้าที่จะต้องเลี้ยงหลานให้ฟังก่อน

ซึ่งก่อนหน้านี้เราเป็นคนทำทำกิจกรรมเยอะมากค่ะ ทั้งไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ชอบรดน้ำต้นไม้ ไปเล่นโยคะ ลูกสาวเองก็เสริมให้คุณหมอฟังว่า แม่เป็นคนไม่ค่อยเก็บอะไรมาคิดเยอะ เวลาโกรธหรือเจอเรื่องหงุดหงิดมา แม่จะชอบใช้วิธีโพล่งระบายออกไปเลย หลังจากนั้นก็จะผ่อนคลายลง เป็นคนที่ปล่อยวางกับปัญหาได้ดี

แต่พอมีหลาน 2 คนให้เลี้ยง แล้วเขาก็ติดย่าเสียด้วย แม่ก็เลยไม่ค่อยมีเวลาให้กับตัวเองเท่าไหร่ เพราะเอาเวลาทั้งหมดในชีวิตไปทุ่มให้กับการเลี้ยงหลานอย่างเดียวเลย

คุณหมอจึงสันนิษฐานว่า ที่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย น่าจะเพราะก่อนหน้านี้ เราได้ทำกิจกรรมอยู่กับตัวเองค่อนข้างเยอะ

แต่พอต้องเปลี่ยนมาใช้สมาธิและเวลาในการดูแลคนอื่นมากขึ้น มันเลยทำให้ไม่ค่อยได้พักและไม่มีเวลาอยู่กับตัวเองเหมือนเดิม ฮอร์โมน DHEAs หรือฮอร์โมนความสุขจึงลดลงและทำให้หงุดหงิดง่ายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

แล้วต้องทำอย่างไร ฮอร์โมนความสุขถึงจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น?

เมื่อเราไขปริศนาส่วนของต้นตอปัญหาเจอ ก็มาถึงวิธีการปรับตัวกันบ้าง คุณหมอแนะนำให้ลองปรับกิจวัตรประจำวันใหม่ค่ะ

จากที่ทุ่มเทเวลาให้หลาน 100% คุณหมอขอให้ลดเวลาเหล่านั้นลงมาให้เหลือสัก 90-95% และให้อีก 5-10% ที่เหลือเป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเราเอง โดยให้เน้นทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดสมาธิเป็นหลัก จะเป็นนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือสวดมนต์ก็ได้ หรือถ้าไม่สะดวกจริงๆ จะเป็นนั่งนิ่งๆ เฉยๆ ฟังเพลง หรือไปทำสปาบำบัดก็ได้ค่ะ

จริงๆ คุณหมออยากให้แบ่งเวลา 5-10% นี้ให้ได้ทุกวัน แต่ถ้ายังไม่ไหว อาจเริ่มต้นโดยแบ่งเวลาสัก 5% ประมาณ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ก่อนก็ได้

คุณหมอสนับสนุนเรื่องโยคะมากหน่อย เพราะมันจะทำให้เราได้ปรับสมาธิทั้งจิตใจและร่างกายทั้ง 2 ส่วน หรือจะเป็นการรดน้ำต้นไม้ก็ได้ สักวันละ 15-20 นาที ซึ่งก็เหมาะดีเหมือนกัน เพราะที่บ้านมีพื้นปลูกต้นไม้เยอะ

ในส่วนของกลุ่มวิตามินเสริมหรือสมุนไพรเสริม เราไม่ค่อยชอบกินสักเท่าไรค่ะ แต่ก็สอบถามคุณหมอเพิ่มไว้ก่อน เผื่อสนใจซื้อมากินในอนาคต คุณหมอก็แนะนำเป็นกลุ่มวิตามินซี วิตามินดี โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) ถังเช่า กับโสมอินเดีย

แต่หลักๆ คุณหมออยากให้เน้นเรื่องการปรับวิธีการใช้ชีวิตดูก่อน ไม่จำเป็นต้องทำให้ได้เท่ากับเมื่อก่อน แต่ให้ค่อยๆ เพิ่มเวลาในการอยู่กับตัวเองให้มากขึ้นค่ะ

หลังจากนั้นในอีกสัก 3 เดือน ค่อยลองมาตรวจเช็กการเปลี่ยนแปลงกันอีกทีก็ได้ เคยมีคนไข้คนอื่นปรับระดับฮอร์โมนความสุขให้สูงเองได้ โดยไม่ต้องกินอะไรเสริมเลย แต่เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเดียว ดังนั้นคุณหมอจึงอยากให้เราลองแนวทางนี้ดูก่อนค่ะ

คุณหมออธิบายเพิ่มด้วยว่า ที่เรายังตรวจเจอฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะเรามีฮอร์โมนความสุขค่อนข้างเยอะ ซึ่งฮอร์โมนความสุขก็เป็นตัวต้นต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายเหมือนกัน

เราก็เลยวางแผนว่าจะลองปรับตารางชีวิตตามคำแนะนำของคุณหมอดูค่ะ จริงๆ การเลี้ยงหลานก็เป็นอีกความสุขของเราเหมือนกันนะ บางทีเวลาสวดมนต์เด็กๆ ก็มานั่งสวดข้างๆ ด้วย เวลาหลานหัวเราะเราก็มีความสุขไปกับเค้าเหมือนกัน แต่คงต้องมีเพิ่มส่วนของช่วงเวลาที่อยู่กับตัวเองดูค่ะ ซึ่งก็คิดว่าไม่ยากเกินไปอยู่แล้ว

จากการฟังผลตรวจในวันนี้ก็ได้ความรู้หลายอย่าง และได้ไขข้อกระจ่างเกี่ยวกับอาการหงุดหงิดของตัวเองแทบทั้งหมดเลยค่ะ เราเลยอยากจะแนะนำคุณผู้หญิงท่านอื่นๆ ที่มีปัญหาอารมณ์แปรปรวน หรือมีปัญหาสุขภาพแต่ยังหาต้นตอไม่เจอ ลองมาตรวจฮอร์โมนและฟังคำแนะนำจากคุณหมอดูนะคะ

ไม่จำเป็นต้องเป็นวัยทองแบบเราก็ได้ เพราะการตรวจฮอร์โมน สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัยเลยค่ะ ซึ่งความผิดปกติหลายๆ อย่างก็มีสาเหตุมาจากปัญหาความไม่สมดุลของฮอร์โมนนี่แหละค่ะ

และถ้าอยากจะซื้อแพ็กเกจตรวจฮอร์โมนโดยที่ได้รับส่วนลด ก็สามารถซื้อผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th ได้เลยค่ะ

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat