รีวิว ตรวจความสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2


สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • พราวมองว่า ฮอร์โมนเป็นพื้นฐานในร่างกายเลย การตรวจจะทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้ว สาเหตุอาการไม่สบายต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากอะไร และควรปรับตัวยังไง ถ้าเราทำได้มันก็จะดีต่อร่างกายเรามากๆ เลยค่ะ
  • ควรเจาะเลือดตรวจก่อนประมาณ 10 โมงเช้านะคะ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ค่าฮอร์โมนของเรามักจะอยู่ในระดับคงที่ ทำให้ผลตรวจออกมาแม่นยำตามความจริงที่สุด
  • คุณหมออธิบายว่าการผ่าตัดซีสต์ในรังไข่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายแปรปรวนและส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  • โดยสรุปแล้ว ผลตรวจฮอร์โมนของพราวค่อนข้างปกติ มีแค่พฤติกรรมการนอนกับความเครียดนี่แหละที่เข้ามาเป็นตัวแปรทำให้ค่าฮอร์โมนบางตัวอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ และส่งผลทำให้พราวมีอาการผิดปกติต่างๆ แสดงออกมา
  • รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ โรงพยาบาลพญาไท 2

สารบัญ


ฮอร์โมนกับเพศหญิงเนี่ยเป็นของคู่กันอยู่เสมอ เมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ โอกาสที่เราจะมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุก็จะเกิดขึ้นได้ค่ะ ซึ่งพราวเองก็มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้ระยะนึงแล้ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการ PMS (Premenstrual Syndrome) หรืออาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนค่อนข้างรุนแรง อ่อนเพลีย ไม่ค่อยสดชื่น อารมณ์แปรปรวนง่าย

ส่วนตัวพราวมองว่า คนที่ควรตรวจฮอร์โมนไม่ต้องรอจนแก่ก็ได้นะคะ แต่ผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับมดลูก รังไข่ หรือคนที่มีอาการผิดปกติแต่หาสาเหตุไม่ได้ก็ควรมาตรวจเพื่อเช็กดูว่าฮอร์โมนของเราผิดปกติหรือไม่

เพราะฮอร์โมนเป็นพื้นฐานของทุกอย่างในร่างกายเลย การตรวจฮอร์โมนก็จะทำให้เรารู้ว่าจริงๆ แล้ว สาเหตุอาการไม่สบายต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากอะไร และควรปรับตัว ปรับพฤติกรรมยังไง ซึ่งถ้าเราทำได้มันก็จะดีต่อร่างกายและสุขภาพของเรามากๆ เลยค่ะ

และด้วยความที่พราวชอบค้นหาข้อมูลต่างๆ เรื่องสุขภาพเป็นประจำอยู่แล้ว ก็เลยเข้ามาดูใน HDmall.co.th เพื่อลองตามหาแพ็กเกจตรวจฮอร์โมน และพราวก็ได้พบกับแพ็กเกจตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 ที่มีรายการตรวจฮอร์โมนที่ค่อนข้างครอบคลุมมากๆ ดังนี้ค่ะ

รายการตรวจความสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ รพ. พญาไท 2

  • ตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน (Consultation Anti-Aging Medicine)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ (Luteinizing Hormones: LH)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ (Follicle Stimulating Hormone: FSH)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ (Estradiol: E2)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ (Progesterone)
  • ตรวจะดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
  • ตรวจะดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Free T3)
  • ตรวจะดับฮอร์โมนไทรอยด์ (Free T4)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนต้านความเครียด (ฮอร์โมนความสุข) (Dehydroepiandrosterone Sulphate)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนที่แสดงอายุจริงของร่างกาย (IGF1)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนที่แสดงอายุจริงของร่างกาย (IGFBP3)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนที่แสดงอายุจริงของร่างกาย (Sex Hormone Binding Globulin)
  • ตรวจระดับน้ำตาลในตับอ่อน (Insulin)

ที่พราวชอบมากๆ ก็คือ เราจะได้ฟังผลตรวจกับปรึกษาปัญหาสุขภาพกับคุณหมอด้านแพทย์เวชศาสตร์ป้องกันด้วย พราวเลยตัดสินใจจองคิวทำนัดเพื่อใช้ในการหาคำตอบของอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นค่ะ

ตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ รพ. พญาไท 2

หลังจากจองคิวทำนัดผ่าน HDmall.co.th มาแล้ว ก็จะมีอีเมลยืนยันส่งเข้ามาให้เราเอาไว้ใช้ยื่นที่โรงพยาบาลค่ะ ในคูปองจะบอกรายละเอียดการตรวจ บอกสถานที่ว่าต้องไปจุดไหน ละเอียดมากๆ เลยค่ะ

สำหรับการตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 จะตรวจที่ ศูนย์ Premiere Life ชั้น 8 อาคาร B ซึ่งใครที่ขับรถมาก็มีที่จอดรถเยอะมากๆ และวันที่พราวมาตรวจก็มีคุณพ่อขับรถพามา คุณพ่อจอดรถที่อาคาร A แล้วก็เดินข้ามทางเชื่อมของโรงพยาบาลไปขึ้นลิฟต์ที่ตึก B ได้เลย สะดวกมากๆ

หน้าศูนย์ก่อนตรวจความสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

พอมาถึงที่ศูนย์ Premiere Life ชั้น 8 ก็จะเห็นป้ายของศูนย์ใหญ่ๆ อยู่ตรงหน้าเลยค่ะ ออกจากลิฟต์มาเลี้ยวขวาก็จะเห็นทางเข้าศูนย์ ก็ยื่นคูปองให้กับเคาน์เตอร์พยาบาลตรงนี้ได้เลย

คูปองจาก HDmall สำหรับตรวจฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากทำประวัติข้อมูลส่วนตัวเรียบร้อย พี่พยาบาลก็จะพาพราวไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดความดันโลหิตเพื่อบันทึกเอาไว้ จากนั้นก็รอคิวเพื่อพบกับคุณหมอเพื่อปรึกษาอาการไม่สบายตัวและความผิดปกติของประจำเดือนที่พราวเป็นอยู่

ตรวจวัดความดันโลหิต ก่อนตรวจฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

พอได้พบกับคุณหมอ สิ่งแรกที่คุณหมอถามคือ ทำไมถึงอยากตรวจฮอร์โมน มีปัญหาสุขภาพตรงไหนบ้าง โดยส่วนตัวพราวเคยเป็นซีสต์ที่รังไข่ และต้องผ่าตัดเอารังไข่ออกไป 1 ข้าง แถมยังชอบมีอาการไม่สบายต่างๆ ก่อนมีประจำเดือนค่อนข้างบ่อย

ผ่าตัดซีสต์ในรังไข่ ส่งผลกระทบกับฮอร์โมนไหม?

คุณหมออธิบายว่าการผ่าตัดซีสต์ในรังไข่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายแปรปรวนและส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้มีอาการนอนไม่หลับหรือภาวะอารมณ์อแปรปรวน

แต่ก็ไม่ใช่แค่ฮอร์โมนเพศเท่านั้นนะคะ เพราะอาจมีปัจจัยอื่นๆ จากฮอร์โมนตัวอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็จะต้องรอดูผลตรวจอีกครั้งโดยละเอียดค่ะ

และคุณหมอก็ได้สอบถามเกี่ยวกับประจำเดือนด้วยว่ามาปกติมั้ย ซึ่งแน่นอนค่ะว่าประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเลย โดยรอบประจำเดือนของพราวห่างกันเกือบ 25-40 วันเลยค่ะ แต่พราวจะรู้ล่วงหน้าตลอดว่าช่วงไหนที่ประจำเดือนใกล้จะมา เพราะอาการแสดงของร่างกายมันชัดมากๆ ทั้งปวดท้องน้อย ปวดหัวแบบไมเกรน จู่ๆ ก็รู้สึกเศร้าหรือวิตกกังวลขึ้นมาเฉยๆ เลย

คุณหมอก็แนะนำค่ะว่า ดีแล้วที่มาตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพราะการตรวจนี้จะเป็นการหาคำตอบของอาการที่พราวเล่าให้หมอฟังมาได้ทั้งหมดเลย เพียงแต่การรักษาหลังจากได้ผลตรวจอาจจะไม่ใช่แค่การกินวิตามินหรือรับฮอร์โมนเพิ่มอะไรแบบนั้น แต่พราวจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจจะไปทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลด้วย

นอกจากนี้พราวก็แจ้งกับคุณหมอไปตามความจริงค่ะว่า พราวเป็นคนที่นอนค่อนข้างดึก และไม่ค่อยกินข้าวเช้า ส่วนมากจะกินอาหารวันละ 2 มื้อ ชนิดของอาหารก็จะหลากหลายไม่ได้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเท่าไหร่ และบางครั้งพราวก็ชอบกินอาหารประเภทขนม เบเกอรี หรือขนมปังบ้าง

คุณหมอก็อธิบายว่าอาหารประเภทเนื้อ นม ไข่ หรือชีส ก็อาจมีส่วนทำให้ร่างกายของเราเกิดการอักเสบได้ ยิ่งพราวมีซีสต์ในรังไข่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้อักเสบง่ายขึ้นไปอีก รวมถึงทำให้ฮอร์โมนมีโอกาสแปรปรวนได้ง่ายด้วย

พราวเลยนึกขึ้นได้ค่ะว่า มันมีอีกอาการของร่างกายที่แสดงออกมาและน่าจะเกิดจากพฤติกรรมการกินของพราวนี่แหละ นั่นก็คือ พราวเป็นสิว! ซึ่งคุณหมอก็บอกว่า มันมีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้ผ่านการปรับพฤติกรรมการกินใหม่ค่ะ แต่เราค่อยมาสรุปวิธีการกินอาหารในแต่ละวันกันใหม่ในวันฟังผลตรวจอีกที

เจาะเลือดตรวจฮอร์โมน ที่ รพ. พญาไท 2

หลังจากพูดคุยกับคุณหมอได้หอมปากหอมคอแล้ว ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาพาพราวไปเจาะเลือดที่ห้องเจาะเลือดซึ่งจะแยกออกมาจากศูนย์ Premiere Life อีกที แต่อยู่ในชั้นเดียวกันนะคะ

อ้อ! พราวขอให้ความรู้เสริมสำหรับคนที่อยากมาตรวจฮอร์โมนว่า ทุกคนควรเดินทางมาตรวจก่อนประมาณ 10 โมงเช้านะคะ เพราะเป็นช่วงเวลาเช้าๆ จะเป็นช่วงเวลาที่ค่าฮอร์โมนของเรามักจะอยู่ในระดับคงที่ค่ะ ซึ่งจะทำให้ผลตรวจออกมาแม่นยำตามความจริงที่สุด

เจาะเลือดตรวจฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากตรวจเลือดเสร็จแล้ว พราวก็เดินกลับมารอใบนัดสำหรับเข้ามาฟังผลตรวจกับคุณหมออีกครั้งในสัปดาห์หน้าค่ะ หลังจากนั้นก็กลับบ้านได้เลย

ผลตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ รพ. พญาไท 2

ผ่านไป 1 สัปดาห์ ก็มาถึงวันฟังผลตรวจกันแล้วค่ะทุกคน! พราวตื่นเต้นมากเลย ไม่รู้ว่าจะมีค่าสมดุลฮอร์โมนตัวไหนผิดเพี้ยนมากๆ หรือเปล่า แต่ไม่เป็นไร ยังไงเราก็มีคุณหมอคอยให้คำแนะนำเสริมด้วยอยู่แล้วค่ะ

พอเดินทางมาถึงศูนย์ตรวจ Premiere Life พราวก็แสดงใบนัดฟังผลตรวจให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ด้านหน้าเคาน์เตอร์ค่ะ จากนั้นก็เดินไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันให้เรียบร้อยตามกระบวนการเบื้องต้น แล้วเดินไปนั่งรออยู่ประมาณ 5 นาทีก็ได้พบคุณหมอแล้วค่ะ

ผลการตรวจสมดุลฮอร์โมนทั้งหมดของพราวจะอยู่ในรูปแบบของแฟ้มที่พราวสามารถเก็บกลับไปบ้านได้ด้วย โดยคุณหมอจะอธิบายผลตรวจในแต่ละหน้าให้อย่างละเอียดก่อน รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมโดยอิงจากผลตรวจด้วยค่ะ

ภาพคู่กับคุณหมอหลังรับผลตรวจฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

คุณหมอยังให้ปากกาพราวไว้จดเพิ่มเติมลงในแฟ้มผลตรวจด้วยนะ เพราะมันมีหลายหน้าและน่าจะมีข้อมูลใหม่ๆ ที่พราวไม่เคยได้ยินหลายส่วนด้วยค่ะ

1. ผลตรวจฮอร์โมนอินซูลิน

เริ่มจากหน้าแรกเป็นฮอร์โมนอินซูลินค่ะ หรือฮอร์โมนระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) ซึ่งจะเป็นตัวบอกความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โดยคุณหมอได้บอกเกณฑ์ของระดับฮอร์โมนอินซูลินในคนที่มีร่างกายแข็งแรงซึ่งควรจะอยู่ต่ำกว่า 2 uU/mL ค่ะ ส่วนคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจะอยู่ที่มากกว่า 10 uU/mL ซึ่งระดับฮอร์โมนอินซูลินของพราวอยู่ที่ 3 uU/mL คุณหมอบอกว่า ห่างไกลการเป็นเบาหวานอยู่มากเลย โล่งใจไปได้ 1 ผลแล้วค่า!

2. ผลตรวจฮอร์โมนไทรอยด์

ในผลตรวจหน้านี้จะแบ่งออกเป็น 3 ฮอร์โมนค่ะ ฮอร์โมนตัวแรก คือ ฮอร์โมน TSH (Thyroid Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์จากต่อมไทรอยด์อีกทีค่ะ ตามด้วยฮอร์โมนไทรอยด์อีก 2 ตัว คือ ฮอร์โมน Free T3 และ ฮอร์โมน Free T4 ค่ะ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายด้วย

ซึ่งผลการตรวจฮอร์โมนทั้งสามตัวของพราวออกมาว่า...ปกติดีค่า! เป็นค่าการทำงานที่ไม่ได้เยอะหรือน้อยเกินไป โล่งใจไปได้อีก 3 ผลตรวจ เย้!

3. ผลตรวจฮอร์โมนเพศ

และในหน้าผลตรวจเดียวกัน ก็มีผลการตรวจฮอร์โมนเพศรวมอยู่ด้วยค่ะ คือ ฮอร์โมน Estradiol เป็นฮอร์โมนเพศหลักที่สำคัญมากๆ ของร่างกายผู้หญิงค่ะ และฮอร์โมน Luteinizing ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงเรา ซึ่งผลตรวจก็ออกมาอยู่ในค่าการทำงานที่สมดุลปกติเช่นกันค่า

ในหน้าถัดมาก็ต่อด้วยฮอร์โมนเพศ Progesterone เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผนังมดลูกของเราพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์นั่นเอง ซึ่งถ้าเราไม่ได้ตั้งครรภ์ ผนังมดลูกก็จะลอกออกมาเป็นประจำเดือนนั่นเองค่ะ ตามด้วยฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมฮอร์โมนเพศหญิงทั้งหมด ซึ่งค่าผลตรวจก็ออกมาเป็นปกติเช่นกันค่ะ

สรุปก็คือ ​ฮอร์โมนเพศทั้งหมดของพราวทำงานปกติและอยู่ในระดับที่สมดุลทุกตัวเลยค่ะ

4. ผลตรวจฮอร์โมนความเครียด

โล่งใจไปได้นิดเดียวก็มาถึงผลตรวจที่ค่าออกมาเป็นสีแดงกันแล้วค่ะทุกคน นั่นก็คือฮอร์โมนความเครียดซึ่งมีชื่อว่า ฮอร์โมน DHEA (Dehydroepiandrosterone Sulfate) นั่นเองค่ะ

นอกจากนี้ก็ยังมีฮอร์โมน Cortisol ด้วย ซึ่งคุณหมอได้อธิบายเพิ่มกับพราวว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่มักจะหลั่งเยอะในช่วงเช้า เพื่อสร้างความตื่นตัวทำให้ร่างกายของเราสดชื่นมากขึ้นหลังจากตื่นนอน แต่เมื่อไรก็ตามที่ฮอร์โมนตัวนี้หลั่งจากต่อมหมวกไตมากเกินไป ก็มีโอกาสที่ฮอร์โมนตัวนี้จะอ่อนล้าจนรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นไม่ไหวอีกต่อไปค่ะ

เมื่อฮอร์โมนมันล้ามากๆ ก็จะเกิดเป็นอาการแสดงต่างๆ อย่างเช่น ปวดเมื่อยตามตัว ไม่ค่อยมีสมาธิ ความจำสั้น อ่อนเพลียง่ายกว่าเดิม ส่วนฮอร์โมน DHEA ก็เป็นฮอร์โมนคุมความเครียดที่ทำงานกับฮอร์โมน Cortisol เหมือนกันค่ะ ซึ่งผลตรวจออกมาพบว่า ค่าฮอร์โมนความเครียดของพราวมีระดับต่ำกว่าเกณฑ์ค่ะ

แต่คุณหมอก็ได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ค่าฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงภาวะเครียดมากเกินไปของพราวเนี่ย มันไม่ได้หมายถึงสภาพจิตใจอย่างเดียว แต่บางทีถ้าเราออกกำลังกายมากเกินไปจนร่างกายบาดเจ็บ หรือว่าเรานอนน้อย พักผ่อนไม่พอ ค่าฮอร์โมนความเครียดก็สามารถตรวจออกมาแล้วผลตรวจต่ำกว่าเกณฑ์ได้ค่ะ

ทีนี้เราจะมีวิธีแก้ไขหรือฟื้นฟูฮอร์โมนความเครียดของเราอย่างไรกันล่ะ คุณหมอก็ได้แนะนำแนวทางการใช้ชีวิตเพื่อฟื้นฟูฮอร์โมนใหม่นั่นก็คือ การกินดี นอนดี ออกกำลังกายดี ลด ละ และเลิกความเครียดค่ะ ฟังเหมือนง่ายแต่ความจริงแล้วมันไม่ง่ายเลยใช่มั้ยล่ะคะ 555+

นอกจากการปรับวิถีการใช้ชีวิตใหม่ คุณหมอก็ได้แนะนำรายการวิตามินอาหารเสริมที่พราวควรจะรับเพิ่มเพื่อสร้างสมดุลให้กับต่อมหมวกไตด้วยค่ะ โดยหลักๆ ได้แก่ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุแมกนีเซียม แร่ธาตุซิงก์ และน้ำมันปลาหรือฟิชออยล์ค่ะ

คุณหมอยังแนะนำสมุนไพรเสริมด้วยนะอย่างพวกถั่งเช่าหรือโสมอินเดีย ซึ่งจะเสริมความสดชื่นและกะปรี้กะเปร่าให้กับร่างกายของเราด้วยค่ะ

5. ผลตรวจโกรทฮอร์โมน

ในลำดับถัดมาก็จะเป็นโกรทฮอร์โมน (Growth hormone: GH) หรือในแฟ้มผลตรวจของเราจะอยู่ในชื่อ ฮอร์โมน IGF-1 ค่ะ โดยหน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ทำให้สุขภาพองค์รวมของเราแข็งแรงค่ะ และยังสามารถบอกอายุที่แท้จริงของร่างกายเราด้วย โดยผลตรวจโกรทฮอร์โมนของพราวที่แสดงออกมา จัดอยู่ในค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ค่ะ

ปัจจุบันพราวอายุ 27 ปี ควรจะมีค่าโกรทฮอร์โมนอยู่ที่ 160 แต่ผลตรวจออกมาพราวได้ค่าโกรทฮอร์โมนอยู่ที่ 127 ซึ่งเป็นค่าโกรทฮอร์โมนของคนที่อายุ 35-39 ปีค่ะ เรียกง่ายๆ ก็คือ...อายุร่างกายจริงๆ ของพราวไปไกลเกินกว่าอายุที่นับตามปีเกิดไปแล้ว

หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วโกรทฮอร์โมนมันสะท้อนถึงอะไร ซึ่งคุณหมอก็ได้ตอบอย่างเคลียร์และชัดเจนมากๆ ค่ะว่า “สะท้อนถึงการนอน” ซึ่งมันก็เป็นผลสะท้อนกลับมาจากพฤติกรรมการนอนดึกของพราวที่ได้บอกไว้ด้านบนค่ะ 555+

เนื่องจากโกรทฮอร์โมนจะหลั่งในช่วงที่เรานอนหลับ ถ้าเรานอนไม่เป็นเวลาหรือนอนน้อย ฮอร์โมนตัวนี้ก็จะหลั่งได้ไม่สม่ำเสมอ และทำให้เรามีอาการเจ็บป่วยง่าย ไม่สบายบ่อย คุณหมอเลยแนะนำให้พราวนอนเร็วขึ้นหน่อย ทางที่ดีควรนอนก่อน 5 ทุ่มจะดีที่สุด และให้กินอาหารที่มีโปรตีนเยอะขึ้นอีกโดยเฉพาะในมื้อเย็น พยายามหลีกเลี่ยงอาหารประเภทของหวานหรือคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ร่างกายเราพร้อมสำหรับการนอนที่สุดค่ะ

6. ผลตรวจโปรตีนเสริมการทำงานของฮอร์โมนเพศและโกรทฮอร์โมน

และในหน้าสุดท้ายก็เป็นผลตรวจสารโปรตีนในร่างกายที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนเพศและโกรทฮอร์โมนอย่าง Sex Hormone Binding Globulin และ IGFBP-3 ซึ่งก็อยู่ในระดับที่ปกติเช่นกันค่ะ

ผลตรวจฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

สรุปผลตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ รพ. พญาไท 2

โดยสรุปแล้วสมดุลฮอร์โมนในร่างกายของพราวก็ค่อนข้างปกติเกือบทุกตัวเลยค่ะ จะมีก็แค่พฤติกรรมการนอนกับความเครียดนี่แหละที่เข้ามาเป็นตัวแปรทำให้ค่าฮอร์โมนบางตัวอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ และส่งผลทำให้พราวมีอาการผิดปกติต่างๆ แสดงออกมา

สิ่งที่พราวต้องทำหลังจากนี้อย่างจริงจังก็คงเป็นในเรื่องการเข้านอนให้เร็วขึ้นและก่อนห้าทุ่ม เพื่อให้โกรทฮอร์โมนหลั่งมากขึ้นอีกหน่อย กับควบคุมระดับความเครียดให้น้อยลงบ้าง คิดว่าอาจจะไม่ง่ายแน่ๆ ค่ะ แต่พราวอยากจะลองดูอย่างจริงจังก่อน เพราะการมีสุขภาพที่แข็งแรงและสดชื่นเหมือนเก่ามันก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่นะคะ

นอกจากนี้พราวยังต้องรู้จักเลือกกินอาหารในแต่ละมื้อให้มากขึ้นอีกหน่อยค่ะ โดยเฉพาะพวกอาหารประเภทนม ไขมันไม่ดี รวมถึงคาร์โบไฮเดรตจากแป้ง เพราะมันไปกระตุ้นทำให้ร่างกายเราอักเสบอยู่ข้างในได้

มาเอาใจช่วยกับพราวในการลองเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนกันด้วยนะคะ และถ้าใครอยากมาตรวจฮอร์โมนที่มีรายการตรวจแบบองค์รวมและละเอียดแบบนี้ แถมยังได้รับคำแนะนำแบบเฉพาะตัวกับคุณหมอด้วย ก็สามารถซื้อแพ็กเกจ ตรวจสมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ที่เว็บไซต์ HDmall.co.th ได้เลยนะคะ

หรือถ้าทุกคนมีข้อสงสัยอะไร อยากทราบข้อมูลแพ็กเกจด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ตัวเองอยากลองตรวจ พราวแนะนำให้แอดไลน์ @HDcoth ซึ่งเป็นไลน์แอดมินของทาง HDmall.coth ในการพูดคุย หรือถามข้อสงสัยในการรับบริการด้านสุขภาพต่างๆ ได้เลยนะคะ

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat