กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ วิธีคืนความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออีกครั้ง


กายภาพบำบัดกระดูก, กายภาพบัดกล้ามเนื้อ, กายภาพบำบัดนักกีฬา

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical) เป็นการรักษาหรือฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น เส้นเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อ
  • กายภาพบำบัดประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัดจากเหตุผลต่างๆ เช่น ข้อไหล่ติด เคล็ดขัดยอก เอ็นอักเสบ ข้อเข่ามีปัญหา หรือปวดหลัง แต่บางกรณีที่บาดเจ็บรุนแรง อาจต้องให้แพทย์ทำการรักษาก่อน เช่น กระดูกหัก
  • กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อมีด้วยกันหลายวิธี เช่น กายบริหารโดยนักกายภาพบำบัด ออกกำลังกายใต้น้ำ ประคบร้อน ประคบเย็น การดึงคอและหลัง รวมถึงการใช้กระแสไฟฟ้า
  • เปรียบเทียบราคาการทำกายภาพบำบัดจากผู้ชำนาญการสถานที่ต่างๆ ได้ผ่าน HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth

การทำกายภาพบำบัด เป็นหนึ่งในเทคนิคฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันการทำกายภาพบำบัดมีด้วยกันหลายรูปแบบ สำหรับใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

ในบทความนี้จะมาพูดถึงการกายภาพบำบัดประเภทที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ นั่นก็คือ กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อคืออะไร?

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical) หรือบางคนอาจเรียกชื่อตรงตัวว่ากายภาพบำบัดแบบออร์โธปิดิกส์ เป็นการกายภาพเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal) ประกอบไปด้วย

  • กล้ามเนื้อ
  • กระดูก
  • เอ็น และเส้นเอ็น
  • พังผืด (Fascias)
  • เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)

โดยนักกายภาพบำบัดจะสามารถประเมินอาการของคุณ หรือทำงานร่วมกับแพทย์ที่รักษา เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเหมาะกับใคร?

นักกายภาพบำบัดด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical therapists) สามารถให้การรักษาฟื้นฟูอาการที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้เกือบทุกประเภท

ผู้ที่ีเหมาะกับการทำกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อาจมีดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่กระดูกหัก (Fractures)
  • ผู้ที่มีภาวะข้ออักเสบ (Arthritis) และโรคไลม์ (Lyme disease)
  • ผู้ที่เป็นโรคข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
  • ผู้ที่ข้อเข่ามีปัญหา
  • ผู้ที่มีอาการเคล็ดขัดยอก
  • ผู้ที่มีอาการเอ็นอักเสบ
  • ผู้ที่ถุงน้ำข้อต่ออักเสบ (Bursitis)
  • ผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้จำกัด
  • ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังจากการผ่าตัดกระดูก
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลัง
  • ผู้ที่มีภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)
  • ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบ (Muscular dystrophy)
  • ผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
  • ผู้ที่เป็นโรครองช้ำ (Plantar fasciitis) หรือเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้า
  • ผู้ที่กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
  • นักกีฬาที่ต้องการคำแนะนำการ และบริหารกล้ามเนื้ออย่างถูกต้อง

โดยนักกายภาพบำบัดที่ทำการรักษาตามจุดประสงค์ดังกล่าว ก็อาจมีความเชี่ยวชาญต่างกันออกไป เช่น นักกายภาพบำบัดที่ให้บริการผู้สูงอายุ นักกีฬา หรือผู้ป่วยโดยเฉพาะ

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อมีกี่วิธี?

นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จะทำการประเมินอาการของคุณจากการซักประวัติ การสังเกตการเคลื่อนไหวของคุณ จากนั้นจะกำหนดแผนการรักษาให้เหมาะสมกับคุณให้

โดยนักกายภาพบำบัดจะคอยดูการเคลื่อนไหวคุณอย่างต่อเนื่อง และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับคุณที่สุดเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม โดยวิธีการกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อาจมีดังนี้

  1. การประคบร้อน และเย็น (Hot and cold therapy) นักกายภาพบำบัดอาจใช้ทั้งการบำบัดด้วยความร้อน และความเย็นร่วมกันเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม นอกจากนี้ความร้อนและความเย็น สามารถช่วยป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อ แต่ความเย็นสามารถใช้กับกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายทันทีเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ด้วย
  2. การบำบัดด้วยการออกกำลังกาย (Exercise therapy) นักกายภาพบำบัดอาจออกแบบแผนการออกกำลังกายให้เฉพาะบุคคล ซึ่งมักเน้นเรื่องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว และสร้างสมดุล
  3. การบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical stimulation) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านผิวหนัง (TENS) ช่วยบรรเทาอาการปวดเฉียบพลัน และการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (NMES) เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และฟื้นฟูอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  4. การใช้เครื่องดึงคอ (Traction) เป็นการใช้เครื่องมือสร้างแรงดึงแยกผิวข้อต่อกระดูก เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว มักใช้กับผู้ที่มีอาการปวดคอ ปวดหลังส่วนล่าง นักกายภาพบำบัดอาจใช้เครื่องมือ หรือใช้มือก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
  5. การใช้วารีบำบัด (Hydrotherapy) หรือธาราบำบัด ซึ่งเป็นการออกกำลังกายในสระน้ำ หรืออ่างน้ำวน เพราะในสระน้ำมีแรงต้านที่อ่อนโยน อาจช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  6. กายภาพบำบัดด้วยการขยับข้อ (Joint mobilization) เป็นเทคนิคการขยับข้อต่อไปในทิศทางต่างๆ ที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กล้ามเนื้อคลาย ลดอาการเกร็ง และลดอาการปวด

โดยสรุปแล้ว การทำกายภาพบำบัดมีด้วยกันหลากหลายเทคนิคที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับอาการของแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรง แพทย์อาจเป็นผู้ประเมินว่าช่วงไหนควรรับการกายภาพบำบัดเสริม

แต่สำหรับคนอื่นๆ ที่ไม่ได้มีอาการบาดเจ็บร้ายแรง หากมีอาการปวดหลัง ข้อขัดตามจุดต่างๆ ก็สามารถใช้กายภาพบำบัดได้เช่นกัน

เปรียบเทียบราคาการทำกายภาพบำบัดจากผู้ชำนาญการสถานที่ต่างๆ ได้ผ่าน HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth ได้ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat