สารสื่อประสาทในสมอง มีกี่ชนิด สำคัญอย่างไร


สารสื่อประสาทในสมอง

สารสื่อประสาท เป็นสารเคมีชนิดพิเศษที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ มีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทจากสมองส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง และส่งสัญญาณจากสมองไปสู่ทั่วร่างกาย สารสื่อประสาททำงานโดยการส่งสัญญาณทางเคมีระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า นิวรอน (Neuron) ซึ่งพบได้ทั่วสมอง ไขสันหลัง และระบบประสาททั้งหมด

ในสมองของมนุษย์มีสารสื่อประสาทหลายสิบตัวที่แตกต่างกัน เช่น

  • กลูตาเมต (Glutamate)
  • เซโรโทนิน (Serotonin)
  • โดปามีน (Dopamine)
  • อะซีติลโคลีน (Acetylcholine)
  • กาบา (GABA)
  • ฮิสทามีน (Histamine)

สารสื่อประสาท แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก ได้แก่

  1. สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (Excitatory neurotransmitters) เช่น อิพิเนฟริน (Epinephrine) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาท 
  2. สารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (Inhibitory neurotransmitters) เช่น เซโรโทนิน และกาบา มีหน้าที่ยับยั้งหรือลดการทำงานของเซลล์ประสาท
  3. สารสื่อประสาทชนิดเปลี่ยนแปลง (Modulatory neurotransmitters) สารสื่อประสาทประเภทนี้ สามารถส่งผลต่อเซลล์ประสาทหลายๆ เซลล์ในเวลาเดียวกัน และอาจส่งผลต่อสารสื่อประสาทชนิดอื่นๆ ได้ด้วย

ทั้งนี้ สารสื่อประสาทบางชนิดก็มีหน้าที่เป็นทั้งตัวกระตุ้นและตัวยับยั้งได้เช่นกัน เช่น โดปามีน 

ยารักษาโรค กับตัวรับสารสื่อประสาท

มียารักษาอาการเจ็บป่วยทางจิตและระบบประสาทหลายตัวที่ออกฤทธิ์โดยพุ่งเป้าไปที่สารสื่อประสาทในสมอง หรือตัวรับสารสื่อประสาทบนเซลล์ที่มีทำหน้าที่รับสัญญาณทางเคมี 

ยาที่เข้าไปจับกับตัวรับสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นการเลียนแบบการทำงานของสารสื่อประสาทนั้นๆ จะเรียกว่าอะโกนิสต์ (Agonist) เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) เช่น มอร์ฟีน (Morphine) และโคเคน (Cocaine) ที่มีกลไกออกฤทธิ์โดยเข้าไปจับกับตัวรับสารสื่อประสาทและกระตุ้นให้ความรู้สึกปวดคลายลง

ในขณะที่ยากลุ่มแอนตาโกนิสต์ (Antagonist) จะทำหน้าที่ยับยั้งการตอบสนองทางเคมีของตัวรับสารสื่อประสาท เช่น โคลซาปีน (Clozapine) และฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ที่ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของตัวรับโดปามีนภายในสมอง

สารสื่อประสาทกับอาการติดยา

ยาเสพติดบางชนิด เช่น โคเคน (Cocaine) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) เฮโรอีน (Heroin) กัญชา (Marijuana) นิโคติน (Nicotine) แอลกอฮอล์ และยาแก้ปวดบางชนิดที่มีฤทธิ์รุนแรงสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหลังใช้ได้ โดยจะไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทและการสื่อสารระหว่างเซลล์ในสมอง


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสมอง


บทความแนะนำ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat