ระบบภูมิคุ้มกัน ตาข่ายที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย


ระบบภูมิคุ้มกัน ตาข่ายที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย


คนส่วนใหญ่ต่างก็รู้ว่าภูมิแพ้มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบภูมิคุ้มกัน แต่ไม่ใช่ว่า ระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีแล้วจะทำให้เกิดอาการแพ้ ระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายคนก็เหมือนกับตาข่ายที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายถูกรุกล้ำจากวัตถุแปลกปลอมภายนอก เช่น แบคทีเรียหรือเชื้อโรค เป็นต้น โดยปกติ ระบบภูมิคุ้มกัน จะสามารถแยกได้ว่าวัตถุใดเป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตรายเพื่อทำการกำจัดต่อไป

หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่สามารถกำจัดศัตรูออกไปจากร่างกาย ก็จะทำให้เกิดการป่วย หากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถแยกแยะได้ว่าวัตถุใดดีหรือไม่ดีและทำร้ายเซลล์คุ้มกัน หรืออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ก็จะทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

รักษาภาวะสมดุล

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จัดว่าเป็นระบบที่มหัศจรรย์และซับซ้อน การจงใจเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงหรือปล่อยปละละเลยล้วนไม่ใช้สิ่งที่ดี การรักษาภาวะสมดุลต่างหากที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน

การป้องกันโรคภูมิแพ้สามารถเริ่มต้นได้ที่อาหารการกิน โดยเลือกกินอาหารที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่น น้ำมันที่มีส่วนผสมของกรดไขมันไม่อิ่มตัวประเภทต่าง ๆ จะช่วยลดอาการภูมิแพ้และการอักเสบได้ ผักผลไม้ช่วยยับยั้งกระบนการสร้างอนุมูลอิสระ แบคทีเรียโปรไบโอติกส์มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในระบบกระเพอาหารและลำไส้ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย

10 อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย

ระบบภูมิคุ้มกันนับว่าเป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะมีหน้าที่ในการปกป้องร่างกายหากมีสิ่งแปลกปลอมรุกล้ำเข้ามา ไมว่าจะเป็นแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่างๆ อย่างไรก็ดี การเลือกบริโภคอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายเท่านั้นแต่ยังสามารถบรรเทาอาการขณะเจ็บป่วยได้เช่นกัน เราลองมาดู 10 อาหารดังต่อไปนี้ที่จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

1. อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ จะส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง ดังนั้นควรบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ปลาหอย ถั่ว พืชตระกูลกะหล่ำ ผลไม้แห้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟระหว่างมื้ออาหารเพื่อให้ธาตุเหล็กดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น

2. อาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติคส์ (Probiotics)

โพรไบโอติคส์ คือ แบคทีเรียชนิดดีที่อาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้ใหญ่และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานของลำไส้ใหญ่ดีขึ้นโดยจะปกป้องไม่ให้สิ่งแปลกปลอมรุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้มียังการค้นพบอีกเช่นกันว่าโพรไบโอติคส์สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจถึง 42% และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามเราสามารถพบโพรไบโอติคส์ได้ในอาหาร เช่น โยเกิร์ต คีเฟอร์ กิมจิ มิโสะ ผักดอง เป็นต้น

3. ผลไม้ตระกูลซิตรัส (Citrus)

ไม่ว่าจะเป็นส้มหรือเกรปฟรุต ก็ล้วนแต่เป็นผลไม้ในตระกูลซิตรัสที่นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินซีแล้ว ยังเป็นที่รู้กันว่าสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย เนื่องจากวิตามินซีมีคุณสมบัติในการต่อต้านแบคทีเรียและอาการอักเสบต่างๆ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากไข้หวัดได้ อย่างไรก็ดี นอกจากผลไม้ดังกล่าว เรายังสามารถพบวิตามินซีได้ในพริกหวาน ผักใบเขียว ฝรั่ง บล็อกโคลี่ มะเขือเทศ มะละกอ ฯลฯ

4. ขิง

ขิงอุดมไปด้วยสารจินเจอรอล (Gingerol) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่างๆ นอกจากนี้ขิงยังมีสารต่อต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียจำพวก E. coli แคนดิดา (Candida) และซาลโมเนลลา (Salmonella) อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับ HRSV ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ยิ่งไปกว่านั้น ขิงยังสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ขณะที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้อีกด้วย

5. กระเทียม

พืชกลิ่นฉุนอย่างกระเทียมมีสารหลายชนิดที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นสารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารสำคัญในกระเทียมที่ช่วยให้การทำงานของภูมิคุ้มกันดีขึ้นเมื่อร่างกายต้องต่อสู้กับโรคหวัดต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หวัดธรรมดาหรือโรคไข้หวัดใหญ่

6. เบอร์รี

ผลไม้ตระกูลเบอร์รีนับว่าเป็นแหล่งของสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารต่อต้านแบคทีเรียและมีสารเควอซิติน (Quercetin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก นอกจากนี้การบริโภคเบอร์รีเป็นประจำยังสามารถช่วยป้องกันไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่

7. น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดโมเลกุลปานกลางซึ่งเป็นไขมันประเภทที่สามารถช่วยต่อต้านแบคทีเรียได้ อีกทั้งยังมีกรดลอริก (Lauric acid) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสารโมโนลอริน (Monolaurin) ระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร โดยสารดังกล่าวสามารถฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรียและเชื้อราที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น อาหรเป็นพิษ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

8. ชะเอมเทศ

มีผลการวิจัยหนึ่งพบว่าชะเอมเทศมีสรรพคุณที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับแบคทีเรียและเชื้อราชนิดต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไข้หวัดใหญ่ และโปลิโอ อย่างไรก็ดีควรจำกัดปริมาณการบริโภคชะเอมเทศให้เหมาะสม เนื่องจากหากบริโภคมากเกินไปจะส่งผลร้ายต่อร่างกาย เช่น เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพิ่มความเสี่ยงให้ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น

9. ถั่วและเมล็ดพันธุ์ต่างๆ

นอกจากอาหารในกลุ่มนี้จะเป็นแหล่งของไฟเบอร์ แอนตี้ออกซิเด้นท์ (Antioxidants)และไขมันชนิดดีแล้ว ก็ยังอุดมไปด้วยธาตุซิลิเนียม คอปเปอร์ ซิงค์ และวิตามินอี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

10. มันเทศ

มันเทศไม่เพียงแต่จะมีรสชาติที่อร่อยเท่านั้นแต่ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลงและไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ควรระวังไม่ให้ร่างกายได้รับวิตามินเอมากเกินไป มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดผลร้ายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้ ปวดหัว หรือกระดูกพรุน

นอกจากการบริโภคอาหารตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ก็ควรหมั่นออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ

เปรียบเทียบราคาโปรโมชั่นแพ็กเกจวัคซีน


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat