ตรวจภาวะมีบุตรยาก ตรวจอะไรบ้าง ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงจะมีทั้งการตรวจภายใน การตรวจเลือด รวมถึงอัลตราซาวด์ เอกซเรย์หาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ที่อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากตามมา
  • การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นในการตรวจหาภาวะมีบุตรยากทั้งผู้ชาย และผู้หญิง เพราะสามารถติดเชื้อได้ทั้ง 2 เพศ และทำให้ระบบสืบพันธุ์บกพร่องได้
  • การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อของผู้ชาย จะช่วยให้รู้ได้ว่า ภาวะมีบุตรยากเกิดจากเซลล์อสุจิที่ไม่สมบูรณ์ เคลื่อนที่ผิดปกติ หรือปริมาณไม่เพียงพอหรือไม่
  • นอกจากการตรวจภาวะมีบุตรยากโดยเฉพาะ การตรวจคัดกรองสุขภาพทั่วไปก็มีส่วนสำคัญในการหาสาเหตุของภาวะนี้เช่นกัน เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจโรคทางพันธุกรรม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก หรือสอบถามรายละเอียดแพ็กเกจเพิ่มเติมทางไลน์ @hdcoth

ภาวะมีบุตรยากเป็นภาวะที่อาจเกิดได้จากฝ่ายหญิง หรือฝ่ายชายก็ได้ ดังนั้นการตรวจหาสาเหตุการเกิดภาวะนี้ในทั้ง 2 เพศจึงจะแตกต่างกันไป

เรามาดูกันว่า วิธีตรวจภาวะมีบุตรยากของทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงมีอะไรบ้าง

วิธีตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง

วิธีตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้หญิงโดยหลักๆ มีวิธีต่อไปนี้

  1. การฉีดสีดูท่อนำไข่ (Hysterosalpingography) เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติภายในโพรงมดลูกกับท่อนำไข่ ผ่านการฉีดสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนเข้าไปที่ปากมดลูก จากนั้นให้ผู้เข้าตรวจเข้ารับการอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์ เพื่อดูการไหลของสี และทำให้ให้เห็นภาพลักษณะของท่อนำไข่ว่า ผิดปกติหรือไม่

  2. การตรวจเลือด (Blood Test) การตรวจเลือดจะสามารถหาความผิดปกติของฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ได้

    ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจเลือดเพื่อดูภาวะมีบุตรยากอาจต้องอาศัยช่วงเวลาของการมีประจำเดือนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะจะได้ตรวจดูความผิดปกติของการตกไข่ไปด้วย

    นอกจากนี้หากรอบเดือนของผู้เข้าตรวจมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือน แพทย์อาจแนะนำให้มีการตรวจฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Gonadotrophin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นทำให้รังไข่ผลิตไข่ใบใหม่ขึ้นมาตามรอบเดือน

  3. การตรวจหาเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia test) เพราะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ โดยเฉพาะโรคหนองในซึ่งเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะนี้

    แพทย์จึงอาจขอให้ผู้เข้าตรวจตรวจหาเชื้อหนองในเทียมผ่านการเก็บปัสสาวะ หรืออาจรวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis)

  4. การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เห็นโครงสร้างของรังไข่ ท่อนำไข่ และมดลูกได้ทั้งหมด และทำให้เห็นความผิดปกติที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) หรือเนื้องอกมดลูก (Fibroid)

    บริเวณที่แพทย์จะอัลตราซาวด์โดยหลักๆ มีอยู่ 2 ตำแหน่ง ได้แก่ อัลตราซาวด์ผ่านหน้าท้อง และอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด

  5. การเอกซเรย์ (X-ray) เพื่อดูความผิดปกติของมดลูก และท่อนำไข่ซึ่งอาจอุดตันจนทำให้ไข่ไม่สามารถผ่านไปปฏิสนธิกับอสุจิได้ จนเกิดภาวะมีบุตรยากขึ้น

วิธีตรวจภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

วิธีตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ชายโดยหลักๆ มีวิธีต่อไปนี้

  1. ตรวจคุณภาพของน้ำเชื้อ (Semen Analysis) เพื่อดูปริมาณ ความเร็วในการเคลื่อนไหว ขนาด รูปร่าง และความสมบูรณ์ของตัวอสุจิ วิธีตรวจมีอยู่ 2 วิธี คือ ตรวจดูด้วยตาเปล่าผ่านการดูความหนืด การละลายตัว และปริมาตรน้ำเชื้อ หรือตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูความเข้มข้น รูปร่าง และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ

  2. การตรวจหาเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia test) เช่นเดียวกับฝ่ายหญิง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีส่วนทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้โดยเฉพาะโรคหนองใน ทางแพทย์จึงอาจให้ตรวจปัสสาวะเพื่อหาความเสี่ยงของการติดเชื้อโรคนี้ด้วย รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

  3. ตรวจอัณฑะ เพราะการเกิดภาวะมีบุตรยากนั้นอาจเกิดจากหลอดเลือดอัณฑะขอด (Varicoceles) หรือความผิดปกติอื่นๆ ภายในอัณฑะก็ได้

  4. ตรวจฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีส่วนในการสร้างเซลล์อสุจิ

นอกจากรายการตรวจที่กล่าวไปข้างต้น การตรวจภาวะมีบุตรยากยังอาจต้องมีการตรวจคัดกรองร่างกายเบื้องต้น หรือความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ตรวจค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (BMI)
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจโรคทางพันธุกรรม หรือผู้เข้าตรวจต้องแจ้งว่า ตนเองมีโรคประจำตัว หรือมีโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมในครอบครัวหรือไม่ เช่น โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง
  • สอบถามวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เสพสารเสพติด การออกกำลังกาย หรือลักษณะงานที่ทำซึ่งอาจส่งผลต่อร่างกาย ความเครียด

นอกจากนี้แพทย์ยังอาจสอบถามถึงความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ ณ ช่วงเวลานั้นๆ ด้วย

ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยโดยที่เราไม่รู้ตัว ภาวะนี้อาจเกิดจากโรคประจำตัว ฮอร์โมน หรือความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเราไม่มีทางรู้หากไม่เคยเข้ารับการตรวจ

หากคุณกำลังวางแผนจะมีลูก และอยากตรวจภาวะมีบุตรยาก แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ไหน เข้าเลยที่ HDmall.co.th เรามีแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก รวมถึงแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อให้คุณได้เตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนจะขยายสมาชิกครอบครัวให้ใหญ่ขึ้น

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแพ็กเกจ ต้องการคำปรึกษา หรือจองแพ็กเกจ ก็แอดได้เลยที่ไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินที่พร้อมให้บริการประสานงาน ตอบคำถาม และจองแพ็กเกจที่คุณต้องการตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่งครึ่ง

ที่มาของข้อมูล

NHS, Diagnose Infertility (https://www.nhs.uk/conditions/infertility/diagnosis/), 18 February 2021.

WebMD, Your Guide to Female Infertility (https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/guide/male-fertility-tests#1), 18 February 2021.

WebMD, Your Guide to Female Infertility (https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/guide/female-infertility#2), 18 February 201.

นพ. องอาจ บวรสกุลวงศ์, ตรวจภาวะมีบุตรยาก...หาสาเหตุสู่การรักษาที่เหมาะสม (https://www.nakornthon.com/article/detail/ตรวจภาวะผู้มีบุตรยาก-หาสาเหตุสู่การรักษาที่เหมาะสม), 18 กุมภาพันธ์ 2564.

@‌hdcoth line chat