โรคมะเร็ง เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก มีรายงานการเสียชีวิตทั่วโลกปีละ เกือบ 8 ล้านคน โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization,WHO )ได้ทำนายว่าอีก 21 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นปีละ 24 ล้านคน
มะเร็งยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยมายาวนาน ต่อเนื่องถึง 13 ปี โดยคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 6 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง 7 คน
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง มาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม รวมถึงการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิด และปัจจัยจากภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันและภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น
หัวใจสำคัญของการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งคือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตและ การตรวจคัดกรองสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาความเสี่ยงให้เร็วที่สุด แล้วทำการรักษาเพื่อป้องกันการลุลามของเซลล์มะเร็งและภาวะแทรกซ้อนอันเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งนั่นเอง
จะตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอย่างไรดี
โรคมะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกาย ส่งผลทำให้เซลล์เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในปริมาณมากกว่าปกติ ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง
ดังนั้น หลายท่านอาจจะสงสัยว่า เราจะเริ่มตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดไหนดี และต้องตรวจคัดกรองอย่างไร เพราะโรคมะเร็งนั้นมีมากมายหลายชนิด
นอกจากนี้ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งบางชนิดนั้น มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และการตรวจไม่สามารถใช้ผลในการตรวจเพียงครั้งเดียวยืนยันว่าจะไม่พบมะเร็งชนิดนั้นๆ แน่นอน (ตรวจครั้งเดียวไม่พบมะเร็งแต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าในอนาคตเราจะไม่เป็นโรคมะเร็ง ทางที่ดีต้องตรวจสุขภาพประจำปีต่อเนื่อง)
แนวทางในการพิจารณาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งมีดังนี้
1. ใช้ผลการตรวจสุขภาพเป็นพื้นฐานในการตรวจคัดกรองหามะเร็งชนิดต่างๆ
เช่น ถ้าผลตรวจสุขภาพผิดปกติ มีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งในระบบของร่างกายท่าผิดปกติ สามารถตรวจเพิ่มเติมในระบบนั้นๆ ต่อไป เช่น ผลการเอ็กซเรย์ปอดผิดปกติ แนะนำให้ตรวจพิเศษอื่นเพิ่มเติม เป็นต้น
2. ปัจจัยทางพันธุกรรม ร่วมกับ อาการผิดปกติอื่นๆ
เช่น มีญาติสายตรงที่มีประวัติผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ก็ควรที่จะเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งชนิดนั้นได้
3. ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ
เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่อย่าง ต่อเนื่องมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งระบบทางเดินหายใจ หรือ ผู้ที่ดื่มสุราอย่างต่อเนื่องก็มีโอกาสเป็นมะเร็งตับ เป็นต้น
4. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานและสิ่งแวดล้อม
เช่น ทำงานที่เกี่ยวข้องกับรังสี สารเคมี ที่มีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง
5. ปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย
เช่น การติดเชื้อไวรัส โรคประจำตัว เป็นต้น
จากที่กล่าวถึง 5 ปัจจัยที่นำไปใช้เพื่อพิจารณาตรวจคัดกรองโรคมะเร็งนั้น เป็นเพียงปัยเสริมในการค้นหาความเสี่ยงเพื่อทำการรักษา แต่การป้องกันและเฝ้าระวังโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือ การที่เราตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพและการตรวจสุขภาพ ดังนั้น สรุปแนวทางในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งง่ายๆ ทำได้ดังนี้
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งด้วยตนเองที่บ้าน
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งนั้น คนที่จะตรวจให้เราคนแรก คือ “ตัวเราเอง” ที่จะต้องประเมินความเสี่ยงและ สภาวะสุขภาพของตัวเราเองอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเพศชายต้องสังเกตและเฝ้าระวังโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย 3 ชนิดคือ มะเร็งและทางเดินน้ำดี มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่และทหารหนัก เนื่องจากเพศชายมักจะสูบบุหรี่ ดื่มสุราและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งทั้ง 3 ชนิดนี้ ดังนั้น เพศชายต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตัวท่านเอง เช่น อาการอ่อนเพลีย ไอเรื้อรัง พบก้อนในร่างกาย เป็นต้น
ส่วนเพศหญิงต้องสังเกตและเฝ้าระวังโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิง 3 ชนิดด้วยกัน คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับและทางเดินน้ำดี ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยตนเอง เริ่มจาก การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผู้หญิงต้องหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเอง ต้องสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เช่น การมีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ การปัสสาวะหรืออุจาระผิดปกติ เป็นต้น
ดังนั้น การตรวจสุขภาพจะเริ่มตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงตามเกณฑ์อายุ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เมื่อพบความผิดปกติแพทย์จะได้พิจารณาส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคได้เพิ่มเติม
หากตรวจพบอาการผิดปกติ หรือ รู้สึกตนเองมีอาการผิดปกติ เช่น คลำได้ก้อนผิดปกติ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารมากผิดปกติ จุกเสียดแน่นท้อง อึดอัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หายใจลำบาก น้ำหนักกลดลงอย่างรวดเร็วให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันแล้วรับทำการรักษากันต่อไป
เปรียบเทียบราคาโปรโมชั่นแพ็กเกจตรวจมะเร็ง
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Cancer Screening Guidelines. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/departments/cancer/patient-education/wellness-prevention/screening-guidelines)
- Screening Tests for Cancer: Facts on Early Cancer Detection. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/cancer_detection/article.htm)
- Cancer Screening Tests. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/dcpc/prevention/screening.htm)