รู้เท่าทันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) อันตรายอย่างไร ตรวจได้อย่างไรบ้าง?


รู้เท่าทันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) อันตรายอย่างไร ตรวจได้อย่างไรบ้าง?

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • STD ย่อมาจากโรค “Sexually Transmitted Diseases” หรือที่เรียกกันในชื่อ “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” เป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยมีสาเหตุหลักในการติดต่อมาจากการมีเพศสัมพันธ์
  • โรค STD ที่พบได้บ่อยในคนไทยได้แก่ โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม โรคหูดหงอนไก่
  • โรค STD ที่เกิดจากการ “ติดเชื้อแบคทีเรีย” สามารถรักษาให้หายได้แต่ในส่วนของโรคที่ติดจากการติดเชื้อไวรัสนั้น เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต และทำได้เพียงประคองอาการของโรคให้อยู่ในระดับควบคุมได้เท่านั้น
  • การตรวจคัดกรอง STD สามารถทำได้หลายแนวทาง ได้แก่ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ และการเก็บสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ
  • ความถี่ในการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเสี่ยงของผู้เข้าตรวจ หากเป็นผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็ควรตรวจทุกเดือน
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก MN Medical Clinic พยาบาลผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร?
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยในคนไทยมีโรคอะไรบ้าง?
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ติดต่อผ่านช่องทางไหนบ้าง?
  • ใครคือกลุ่มเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ้าง?
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รักษาให้หายได้หรือไม่?
  • วิธีสังเกตอาการจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยตัวเอง
  • วิธีตรวจหาเชื้อก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำได้กี่วิธี?
  • ตรวจหาเชื้อก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรตรวจบ่อยแค่ไหน?
  • อยากป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำได้อย่างไร?
  • รับบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ MN Medical Clinic
  • บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

  • การมีความสัมพันธ์ทางกายโดยไม่มีการป้องกัน อาจนำมาซึ่งการติดเชื้อที่ยากต่อการรักษา และยังเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่รีบรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ หรือที่เราเรียกกลุ่มโรคเหล่านี้ว่า “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์”

    นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน เพศอะไร ก็ต้องมีข้อมูลและความเข้าใจในการป้องกันกลุ่มโรคชนิดนี้อย่างเหมาะสม หรือหากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรรู้ว่ามีกระบวนการตรวจและดูแลตนเองอย่างไรอย่างถูกวิธี

    ราคาตรวจโรค STD

    หรือหากคุณยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรรู้เลย HDmall.co.th ร่วมกับ MN Medical Clinic โดยนายมัธพงษ์ อ่องคำ พยาบาลวิชาชีพ ประจำ MN Medical Clinic จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เราทุกคนควรรู้ รวมถึงคำแนะนำในการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคชนิดนี้

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คืออะไร?

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD (Sexually Transmitted Diseases) เป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยมีสาเหตุหลักในการติดต่อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ จนทำให้เกิดการส่งต่อเชื้อถึงกันได้ โดยแบ่งออกได้ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อพยาธิต่างๆ ซึ่งเชื้อแต่ละชนิดก็จะสามารถก่อโรคได้แตกต่างกันไป

    โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยและเป็นที่รู้จัก ได้แก่

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยในคนไทยมีโรคอะไรบ้าง?

    5 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยในคนไทย ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม ได้แก่

    • โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV (Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ทำให้ร่างกายผู้รับเชื้ออ่อนแอลง ไม่สามรถป้องกันตนเองจากเชื้อโรคภายนอกร่างกายได้ และนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ รวมถึงอาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่มักรุนแรง และมีโอกาสถึงแก่ชีวิตได้
    • โรคซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum จนทำให้มีอาการผื่นขึ้นตามตัว อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปาก ร่วมกับปวดไขข้อ และผมร่วง หากไม่รีบรักษา ระยะของโรคอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอด หูหนวก กระดูกอักเสบ สมองพิการ และเสียชีวิตได้
    • โรคหนองในแท้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae ทำให้มีอาการปัสสาวะแสบขัด มีน้ำหนองไหลออกจากอวัยวะเพศ มีตกขาวมาก ระยะของโรคอาจรุนแรงได้ถึงขั้นต่อมลูกหมากอักเสบ ท่องรังไข่ตีบตัน หรือเป็นหมันได้
    • โรคหนองในเทียม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Trachomatis มีลักษณะอาการของโรคคล้ายกับโรคหนองในแท้
    • โรคหูดหงอนไก่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จนทำให้ผู้ป่วยมีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อขรุขระเหมือนหงอนไก่บริเวณรอบๆ อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือขาหนีบ

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ติดต่อผ่านช่องทางไหนบ้าง?

    การส่งต่อเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สู่ผู้อื่นแบ่งออกได้หลายช่องทาง เช่น

    • ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของอวัยวะเพศ
    • ผ่านการสัมผัสอวัยวะเพศ ไม่ว่าจะเป็นองคชาต ช่องคลอด และทวารหนัก
    • ผ่านทางปาก โดยอาจเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
    • จากแม่สู่ลูก
    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ติดต่อผ่านช่องทางไหนบ้าง?

    ใครคือกลุ่มเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ้าง?

    กลุ่มผู้ที่เสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มากกว่าคนทั่วไป ได้แก่

    • ผู้ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือคู่นอนไม่สวมถุงยางอนามัย
    • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
    • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง
    • ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HIV อยู่แล้ว
    • กลุ่มคนรักร่วมเพศ

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รักษาให้หายได้หรือไม่?

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการ “ติดเชื้อแบคทีเรีย” สามารถรักษาให้หายได้ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม โรคซิฟิลิส

    แต่ในส่วนของโรคที่ติดจากการติดเชื้อไวรัสนั้น เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต และทำได้เพียงประคองอาการของโรคให้อยู่ในระดับควบคุมได้เท่านั้น เช่น โรคเริม โรคมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อไวรัส HIV

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รักษาให้หายได้หรือไม่?

    วิธีสังเกตอาการจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยตัวเอง

    ผู้ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรายจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ออกมานอกเสียจากจะไปตรวจคัดกรองโรคกับแพทย์เท่านั้น แต่ในบางรายก็จะมีอาการแสดงทางร่างกายออกมาซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น

    • มีตกขาวมากผิดปกติ
    • มีเมือกหรือสารคัดหลั่งสีเขียว มีกลิ่นเหม็นมากออกมาจากอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง
    • มีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือขาหนีบ
    • รู้สึกแสบขัดอวัยวะเพศระหว่างปัสสาวะ

    วิธีตรวจหาเชื้อก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำได้กี่วิธี?

    การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถทำได้ 3 วิธีหลักๆ ได้แก่

    • การตรวจเลือด เป็นวิธีตรวจที่ง่ายและทราบผลการตรวจได้ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจคัดกรองโรคได้หลายอย่าง เช่น ซิฟิลิส การติดเชื้อไวรัส HIV และไวรัสตับอักเสบบี
    • การตรวจปัสสาวะ เป็นอีกวิธีตรวจที่ได้รับความนิยมเช่นกัน และยังทราบผลตรวจค่อนข้างเร็ว โดยสามารถตรวจคัดกรองได้หลายโรค เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม โรคเริม โรคซิฟิลิส
    • การเก็บสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ หรือที่เรียกว่าวิธี Swab สามารถคัดกรองโรคได้หลายอย่างเช่นกัน เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด

    ตรวจหาเชื้อก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรตรวจบ่อยแค่ไหน?

    ความถี่ในการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเสี่ยงของผู้เข้าตรวจ หากเป็นผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็ควรตรวจทุกเดือน

    แต่หากมีพฤติกรรมเสี่ยงรองลงมา ก็อาจตรวจทุกๆ 3-6 เดือน ส่วนผู้ที่ไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยง ก็ให้ตรวจตามแต่โอกาสหรือเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกังวล เช่น พบว่าคู่นอนไม่สวมถุงยางอนามัย มีการเปลี่ยนคู่นอน

    อยากป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำได้อย่างไร?

    การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งระหว่างมีเพศสัมพันธ์ คือ วิธีป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ถึง 90%

    อยากป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำได้อย่างไร?

    ส่วนวิธีการคุมกำเนิด เช่น การใส่ห่วงอนามัย การฝังยาคุมกำเนิด การกินยาคุมกำเนิด ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    หรือหากต้องการป้องกันโรคแบบฉุกเฉิน ก็สามารถใช้วิธีกินยา PrEP หรือยา PEP ซึ่งเป็นยาช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ แต่ในส่วนเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นๆ จะยังไม่สามารถป้องกันได้

    รับบริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ MN Medical Clinic

    MN Medical Clinic เป็นศูนย์บริการตรวจทางการแพทย์ที่เปิดให้บริการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และฟังผลตรวจกับแพทย์ ทั้งในรูปแบบการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเก็บสารคัดหลั่ง

    โดยตลอดทุกขั้นตอนของการตรวจ จะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคอยให้คำแนะนำและดูแลทุกขั้นตอน ในบรรยากาศห้องตรวจที่เป็นส่วนตัว และสะอาดถูกหลักสุขอนามัยทางการแพทย์

    หากคุณมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และต้องการทราบผลตรวจที่แม่นยำเพื่อนำไปสู่การดูแลตนเองในขั้นตอนถัดไปที่เหมาะสม แพทย์และเจ้าหน้าที่ของ MN Medical Clinic พร้อมเป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำกับคุณทั้งในส่วนขั้นตอนการตรวจ และการดูแลสุขภาพหลังผลตรวจออกเรียบร้อยแล้ว

    ราคาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    ขั้นตอนการรับบริการและฟังผลตรวจกับทาง MN Medical Clinic ใช้เวลาไม่นาน ในส่วนของการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น และทราบผลตรวจภายใน 1-3 วัน

    หยุดทุกความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคติดต่อด้วยบริการตรวจทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานและรวดเร็วทันใจ จาก MN Medical Clinic หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจตรวจของทางคลินิกได้ผ่านทางไลน์ @HDcoth


    บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

    @‌hdcoth line chat