รู้จัก “หูดหงอนไก่” ก้อนเนื้อตัวร้ายที่เป็นผลพลอยได้จากการติดเชื้อ HPV


รวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคหูดหงอนไก่

พูดถึงเชื้อไวรัส HPV หลายคนอาจทราบกันอยู่แล้วว่ามันเป็นต้นตอที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายอย่าง เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งอัณฑะ โรคมะเร็งในช่องปาก เป็นต้น

แต่นอกจากนี้มันยังก่อให้เกิด “โรคหูหงอนไก่” ซึ่งเป็นอีกโรคติดต่อที่สามารถเกิดได้กับทั้งชายและหญิงอีกด้วย รวมถึงยังกลับมาเกิดซ้ำได้แม้รักษาหายแล้วก็ตาม


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับโรคหูดหงอนไก่ได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


หูดหงอนไก่คืออะไร?

โรคหูดหงอนไก่ (Anogenital Warts) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ที่ผิวหนัง ก่อนที่เชื้อจะไปสร้างรอยโรคในลักษณะก้อนหูดขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่บริเวณผิวหนังที่รับเชื้อ

หูดหงอนไก่เกิดจากอะไร?

โรคหูดหงอนไก่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งส่วนมากเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น สายพันธุ์ 6, 11, 42, 43, 44 โดยสามารถรับเชื้อได้เพียงจากการสัมผัสเยื่อบุผิวหนังของผู้ที่เป็นพาหะนำเชื้อ จากนั้นตัวเชื้อไวรัสก็จะแทรกซึมเข้าร่างกายผ่านชั้นเซลล์ผิวหนังกำพร้า ซึ่งส่วนมากมักมาจากการมีเพศสัมพันธ์

ดังนั้นตำแหน่งของร่างกายที่มักจะรับเชื้อไวรัส HPV จนกลายเป็นโรคหูดหงอนไก่ได้ง่ายที่สุด ก็คือ บริเวณเยื่อบุผิวที่ตำแหน่งอวัยวะเพศ เช่น ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ เยื่อหุ้มปลายองคชาต

เด็กทารกที่มารดาเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส HPV ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากสัมผัสเชื้อในระหว่างที่คลอดบุตรผ่านทางช่องคลอด

อันตรายของโรคหูดหงอนไก่

จากปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ด้านบน หลายคนอาจคิดว่างั้นก็เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก็คงพอจะป้องกันได้แล้ว แต่ความจริงโรคหูดหงอนไก่ยังติดเชื้อถึงกันได้แม้จะมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้สอดใส่อวัยวะเพศก็ตาม

นอกจากนี้โรคหูดหงอนไก่ยังส่งเชื้อถึงกันได้ผ่านการสัมผัสอวัยวะส่วนอื่นนอกเหนือจากอวัยวะเพศของผู้ที่เป็นพาหะนำเชื้อด้วย ไม่ว่าจะเป็นมือ นิ้ว เส้นผม แม้แต่สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อก็สามารถทำให้ติดเชื้อไวรัส HPV ได้เช่นกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว สบู่ อุปกรณ์ของเล่นสำหรับมีเพศสัมพันธ์

โรคหูดหงอนไก่ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้อีกด้วย เนื่องจากทารกที่รับเชื้อจากมารดาที่เป็นพาหะมักมีปัญหาเกิดก้อนหูดที่คอหอย หลอดลม หรือเส้นเสียง จนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิจในที่สุด

ใครเสี่ยงเป็นโรคหูดหงอนไก่บ้าง?

  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • กลุ่มคนรักร่วมเพศ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ หรือมีโรคประจำตัวที่ไปกดภูมิคุ้มกันร่างกายให้ลดต่ำลง เช่น โรคเบาหวาน การติดเชื้อไวรัส HIV
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด

หูดหงอนไก่ผู้หญิงเป็นได้ไหม?

โรคหูดหงอนไก่สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และมักพบในคนช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกกันแล้ว แต่โดยส่วนมากผู้หญิงมักมีรอยโรคที่ชัดเจนกว่าผู้ชาย จึงทำให้ผู้ชายหลายคนที่ติดเชื้อไม่ทันรู้ตัวว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่อาการเป็นอย่างไร?

โรคหูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อที่มีระดับอาการตั้งแต่แทบไม่มีอาการใดๆ ไปจนถึงมีอาการหนักจนสร้างอุปสรรคในการใช้ชีวิต และยังทำให้เสียความมั่นใจ

โดยตัวอย่างอาการที่สังเกตได้เมื่อเป็นโรคหูดหงอนไก่ ได้แก่

  • คัน หรือแสบร้อนที่อวัยวะเพศหรือที่ทวารหนัก
  • รู้สึกเจ็บอวัยวะเพศหรือทวารหนักเวลามีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวมากผิดปกติ
  • ในผู้หญิง อาจพบก้อนเนื้อหรือหูดตรงตำแหน่งช่องคลอด ปากมดลูก ผนังมดลูก ทวารหนัก ขนาดของหูดอาจมีขนาดเล็กจนไปจนถึงใหญ่จนอุดกั้นช่องคลอด
  • ในผู้ชาย อาจพบก้อนเนื้อหรือหูดตรงตำแหน่งเยื่อหุ้มปลายองคชาต รูเปิดท่อปัสสาวะ หรือทวารหนัก

หูดหงอนไก่รักษาอย่างไร?

การรักษาโรคหูดหงอนไก่สามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนมากนิยมใช้วิธีทายา โดยตัวยามักมีจุดมุ่งหมายทั้งเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย หยุดการแบ่งเซลล์ที่ทำให้เกิดก้อนหูด และเพื่อให้เซลล์หูดที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมตัวจนหลุดออกไป โดยจะมีทั้งยาที่แพทย์ต้องเป็นผู้ทาให้เท่านั้น และยาที่ผู้ป่วยสามารถเอากลับไปทาเองที่บ้านได้

นอกเหนือจากวิธีทายา การรักษาโรคหูดหงอนไก่ยังสามารถใช้วิธีการจี้ไฟฟ้า จี้ด้วยยา หรือผ่าตัดด้วยใบมีดได้ ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยเอง

หูดหงอนไก่ รักษาเองได้ไหม?

โรคหูดหงอนไก่ควรรักษาโดยแพทย์เท่านั้น หรือหากแพทย์มีการจ่ายยาให้กลับมาทาเองที่บ้าน ผู้ป่วยก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาเห็นผลและลดโอกาสกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำอีก

เพราะโรคหูดหงอนไก่สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ แม้ผู้ป่วยจะเคยรักษาโรคนี้หายแล้วก็ตาม โดยการกลับมาเป็นโรคหูดหงอนไก่ซ้ำมักเกิดกับผู้ที่ยังมีเชื้อไวรัส HPV หลงเหลืออยู่ในร่างกาย ผู้ที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำจนกลับมาติดเชื้อไวรัส HPV อีก หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นพาหะนำเชื้ออีกครั้งจนเกิดการติดเชื้อซ้ำ

โรคหูดหงอนไก่ห้ามกินอะไร?

โรคหูดหงอนไก่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV และสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเราติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยง่ายนั่นก็เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายของเรากำลังอ่อนแอนั่นเอง

ดังนั้นในระหว่างที่กำลังรักษาโรคหูดหงอนไก่ ผู้ป่วยควรงดกินอาหารทุกชนิดที่ไม่มีประโยชน์และส่งผลทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงกว่าเดิม เช่น

  • เครื่องดื่มแอลกออฮอล์
  • อาหารหรือเนื้อสัตว์แปรรูปทุกชนิด เช่น แหนม ลูกชิ้น หมูยอ กุนเชียง
  • อาหารหมักดอง
  • เนื้อสัตว์ดิบ อาหารดิบ หรืออาหารที่ยังไม่ได้ผ่านความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อมาก่อน
  • ควรงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

อยากป้องกันโรคหูดหงอนไก่ ควรทำอย่างไร?

โรคหูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้ไม่ยาก ในเมื่อโรคนี้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV งั้นเราทุกคนก็ต้องสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้มีการต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนี้ ผ่านการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ให้ครบทุกเข็ม ซึ่งสามารถฉีดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง และเป็นบริการที่มีทั่วไปในสถานพยาบาลแทบทุกแห่ง

เช็กราคาแพ็กเกจตรวจ STD หรือตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมหาราคาฉีดวัคซีน HPV แบบ 9 สายพันธุ์ 3 เข็มที่สถานพยาบาลชั้นนำ บนหน้าเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือหากคุณอยากควบบริการตรวจสุขภาพ ตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชาย ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงไปพร้อมกับแพ็กเกจฉีดวัคซีน เว็บไซต์ HDmall.co.th มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่หลากหลายให้คุณได้เลือกซื้อเช่นกัน

หรือหากคุณสนใจบริการเพื่อสุขภาพด้านใดเพิ่มเติม เช่น แพ็กเกจตรวจภายใน แพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน สามารถแอดไลน์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมินได้ ผ่านไลน์ไอดี @hdcoth


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Saint Luke.s Concierge, HPV and Genital Warts: Taking Care of Yourself (https://www.saintlukeskc.org/health-library/hpv-and-genital-warts-taking-care-yourself), 29 December 2022.
  • Siriraj Online, หูดหงอนไก่ “เรื่องใหญ่” กว่าที่คิด (https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1510), 29 ธันวาคม 2565.
  • ผศ.พญ.เจนจิต ฉายะจินดา, “หูดหงอนไก่ ไม่ถึงตาย แต่ (อาจ) ทำลายชีวิตคู่” (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1289), 29 ธันวาคม 2565.
  • พญ. ปวีณา พังสุวรรณ, หูดอวัยวะเพศ (Anogenital wart) (https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5257/), 29 ธันวาคม 2565.
  • โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชย์การุณย์, หูดหงอนไก่คืออะไร? (https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/933), 29 ธันวาคม 2565.
@‌hdcoth line chat