ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย


ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD มีโอกาสติดต่อได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม ทั้งชายและหญิง รวมถึง LGBTQ+ หากไม่มีการดูแล และป้องกันที่ดีเท่าที่ควร
  • วิธีการป้องกันที่ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การใช้ถุงยางอนามัย และยังป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อีกด้วย
  • แต่ถ้าหากว่ามีความเสี่ยง หรือไม่แน่ใจว่ามีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ แนะนำว่าอย่าเขินอาย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา และเริ่มรักษาทันที เพื่อสุขภาพของตัวเราและคู่นอนของเรา
  • ที่ atFirst Clinic เข้าใจและให้ความใส่ใจเรื่องความเป็นส่วนตัว เลยให้บริการลงชื่อแบบนิรนาม สามารถใช้ชื่อหรือนามแฝงพูดคุยขอคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก atFirst Clinic แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight
ราคาตรวจโรค STD

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือ STD คืออะไร?
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง?
  • อาการแบบไหนคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
  • การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำคัญอย่างไร?
  • กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีกี่วิธี?
  • ขั้นตอนการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ถ้าตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรทำอย่างไร?
  • ตรวจ STD ที่ atFirst Clinic ดียังไง?
  • บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

  • การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติของทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดอยู่แค่ชายหรือหญิง แต่รวมถึงชายชายและหญิงหญิง แต่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระมัดระวัง ขาดสติ หรือไม่มีการป้องกันที่ดี อาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึง

    ปัญหาใหญ่ที่ตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจทำให้ทั้งตัวเราและคู่นอนติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่รู้ตัวและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

    สิ่งสำคัญที่หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า “การมีคู่นอนคนเดียว ไม่ได้แปลว่าจะปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราหรือคู่นอนของเรามีคนอื่น หรือมีชู้เสมอไป

    เพราะเราหรือคู่นอนอาจได้รับเชื้อมาจากคนรักเก่าหรือแฟนเก่าแต่ยังไม่แสดงอาการ จึงไม่ได้ตรวจหาโรคอย่างละเอียด จึงไม่ใช่การนอกใจหรือมีคนอื่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    HDmall.co.th ร่วมกับ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน และแพทย์สุขภาพเพศประจำ atFirst Clinic โดยนายแพทย์ศุภวัฒน์ วีรภัทรรุ่งโรจน์ จะมาให้ความรู้ และไขข้อสงสัยในทุกประเด็นเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือ STD คืออะไร?

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าโรค STD (Sexually Transmitted Diseases) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งความจริงแล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีหลายชนิด แบ่งออกมาเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

    • กลุ่มที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบบี หูดหงอนไก่ เริม และฝีดาษลิง (Monkeypox)
    • กลุ่มที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม และแผลริมอ่อน
    • กลุ่มที่เกิดจากพยาธิ เช่น พยาธิช่องคลอด
    • กลุ่มที่เกิดจากเชื้อรา เช่น เชื้อราในช่องคลอด

    โดยแต่ละโรคจะมีอาการแตกต่างกัน และยังเ ป็นอันตรายต่อคู่รักหรือคู่นอนหากไม่มีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างถูกวิธี

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง?

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรคสามารถรักษาให้หายได้ แต่จะมีบางโรคที่หากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในภายหลังหรืออาจถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต

    โดยโรคที่อันตรายถึงชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษา เช่น การติดเชื้อ HIV ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันตกและเกิดภาวะแทรกซ้อนจนอาจอันตรายถึงชีวิต หรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะเกิดปัญหาเรื่องมะเร็งตับ และตับแข็งตามมา

    ซึ่ง HIV ถึงแม้ว่าจะเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงคุมอาการไว้ไม่ให้กำเริบ และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเท่านั้น

    ส่วนโรคที่รักษาให้หายได้ก็มีอยู่หลายโรค เช่น ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม และพยาธิช่องคลอด หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็จะสามารถหายกลับมาเป็นปกติ

    โดยอาการแต่ละโรคส่วนใหญ่ค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับเชื้อแต่ละกลุ่ม หากเป็นกลุ่มไวรัส อาจมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และมีอาการคล้ายกับไข้หวัด

    ในกลุ่มของแบคทีเรียขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ เช่น หากติดเชื้อในช่องปากและลำคอจะมีอาการไอ เจ็บคอ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ

    หรือหากติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด อาจมีอาการหนองไหล ส่วนของผู้หญิงจะมีอาการตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือว่าสีของตกขาวเปลี่ยนไป

    ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อาจมีปัญหาเรื่องของแผลบริเวณรอบๆ บริเวณขอบรูทวารได้เช่นกัน

    ปัจจุบันรียกได้ว่าโรคทางเพศสัมพันธ์มีโอกาสเสี่ยงเท่ากันในทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือว่าในกลุ่มเพศทางเลือก ซึ่งในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้เจอโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อยๆ อยู่ด้วยกัน 5 โรคดังนี้

    1. ซิฟิลิส
    2. หนองใน
    3. หูดหงอนไก่ (HPV)
    4. HIV
    5. เชื้อในกลุ่มอื่นๆ เช่น เริม และพยาธิช่องคลอด

    อาการแบบไหนคือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?

    นายแพทย์ศุภวัฒน์ ได้ให้วิธีการสังเกตอาการตัวเองหากรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อโรคทางเพศสัมพันธ์แบบง่ายๆ ซึ่งแบ่งได้ดังนั้น

    การสังเกตอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเพศชาย

    ในเพศชาย หากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ หรือสังเกตได้จากการเกิดแผลในบริเวณต่างๆ เช่น แผลบริเวณองคชาต บริเวณหัวหน่าว หรือหนังหุ้มปลาย ซึ่งหากมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหรือตรวจหาโรคต่อไป

    การสังเกตอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเพศหญิง

    ในเพศหญิงสังเกตได้จากตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น สีที่เปลี่ยนไป กลิ่นที่เปลี่ยนไป หรือปริมาณที่เปลี่ยนไป สามารถบ่งบอกได้ถึงว่ามีเชื้อโรคบางตัวซ่อนอยู่ได้ นอกจากนี้อาการที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด หรือปวดท้องน้อย

    การสังเกตอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพศทางเลือก

    การสังเกตในกลุ่มของเพศทางเลือกอื่นๆ เช่น เกย์ ทอม ดี้ อาการที่บ่งบอกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเพศสัมพันธ์ก็จะเหมือนกับในผู้ชาย ผู้หญิง ขึ้นอยู่กับว่ามีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางไหน ถ้าหากว่าเป็นทางทวารหนัก ก็อาจจะมีแผล หรือคราบหนองไหลออกมาได้ หรือบางคนอื่นมีปวดเบ่งเวลาถ่าย หรือมีเลือดออกได้เช่นกัน

    การสังเกตอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพศทางเลือก

    นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับโรคทางเพศสัมพันธ์ก็คือ บางโรคอาจไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย และบางคู่อาจจะมีอาการเพียงคนเดียว แต่อีกคนกลับไม่มีอาการเลยก็ได้ การที่ไม่มีอาการไม่ได้แปลว่าจะปลอดภัยจากโรคทางเพศสัมพันธ์

    สำหรับคนที่ไม่มีอาการ หากไม่ตรวจหาโรคอย่างละเอียด อาจกลายจะเป็นพาหะนำโรคไปสู่คนอื่นได้ โดยแพทย์แนะนำว่า หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยง หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ และทำการตรวจได้

    และสำหรับคนที่เป็นพาหะ บ่อยครั้งที่จะไม่รู้ว่าตัวเองมีโรคอยู่ หากมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ป้องกัน จะมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางใด ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่จะแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนของตัวเองได้

    การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำคัญอย่างไร?

    ตามที่องค์การอนามัยโรคแนะนำเอาไว้ว่า เราควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้าหากมีความเสี่ยงหรือรู้สึกว่าไม่มั่นใจ สามารถตรวจได้มากกว่า 1 ครั้ง เพราะหลายโรคก็ไม่แสดงอาการออกมาให้เห็น และบางครั้งหากรักษาหายไปแล้วก็สามารถกลับติดใหม่ได้เช่นกัน

    และที่สำคัญที่สุด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่มีการเลือกและแบ่งแยกเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็สามารถมีโอกาสติดเชื้อได้เหมือนกัน ดังนั้นควรจะทำการตรวจด้วยกันทุกเพศ และทุกคน

    กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    นายแพทย์ศุภวัฒน์ ได้แนะนำว่า การจะระบุว่าใครเป็นกลุ่มที่เสี่ยงและควรตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นไม่ขึ้นอยู่กับเพศใดเพศหนึ่ง เพราะทุกเพศมีความเสี่ยงในการติดโรคได้เหมือนกัน แต่จะเกิดจากการมีพฤติกรรมที่ความเสี่ยงดังต่อไปนี้

    1. การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย
    2. การมีคู่นอนหลายคน
    3. การใช้เข็มฉีดยา หรือสารเสพติดขณะมีเพศสัมพันธ์
    4. คนรักหรือคู่นอนตรวจเจอโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

    สำหรับผู้ที่มีคู่นอนหลายคนมักจะมีความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น HIV ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี เริม หรือหนองใน ซึ่งตรวจพบได้บ่อยที่สุด

    กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    ในส่วนของกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักมักมีโอกาสเกิดแผล และมีเลือดออกทางเยื้อบุผิวได้ง่ายกว่า ซึ่งจะส่งผลให้มีโอกาสติดโรคจะสูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ในช่องทางอื่น

    กลุ่มที่ใช้สารเสพติดร่วมขณะมีเพศสัมพันธ์ จะทำให้เกิดอาการมึนเมา ขาดสติ อาจทำให้มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยสูงมาก และการใช้เข็มฉีดยายิ่งทำให้เพิ่มโอกาสการติดเชื้อทางเลือดเข้าไปด้วย ซึ่งเชื้อหรือโรคที่ติดต่อผ่านทางเลือด เช่น HIV ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

    และในกรณีที่คนรักหรือคู่นอนตรวจเจอโรคทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะแนะนำและเน้นย้ำให้ตรวจหาเชื้ออย่างละเอียดและรักษาร่วมกัน เพราะเป็นหลักการในการดูแลโรคทางเพศสัมพันธ์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

    โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยมากที่สุด 3 อันดับแรกก็คือ

    1. ซิฟิลิส
    2. หนองใน
    3. หูดหงอนไก่

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ส่วนมากมักมาจากสารคัดหลั่งในช่องทางต่างๆ เช่น จากน้ำอสุจิในองคชาต สารคัดหลั่งในช่องคลอด

    นอกจากนี้หากมีการทำออรัลเช็กช์กับคู่นอน อาจติดเชื้อในลำคอได้ เช่น โรคหนองในในคอ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณช่องปากหรือลำคอ ซึ่งอยู่ใกล้กับต่อมทอนซิล ทำให้มีอาการบวมแดงร่วมกับมีหนอง โดยเชื้อจากโรคหนองในในคอสามารถแพร่ไปที่องคชาตของคู่นอนได้

    การติดต่อของโรคทางเพศสัมพันธ์นั้นไม่จำเป็นต้องเกิดจากการสอดใส่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถติดต่อจากการสัมผัสอวัยวะเพศได้ เช่น เริม หูดหงอนไก่ หูดข้าวสุก สามารถติดต่อได้แม้กระทั้งการทำออรัลเซ็กซ์หรือ Sex Toy หากดูแลความสะอาดไม่ดี หรือว่าใช้งานไม่ถูกวิธี

    วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ Safe Sex สามารถป้องกันได้ดังต่อไปนี้ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง

    1. การใช้ถุงยางอนามัย สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้หลายชนิด
    2. การใช้ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) และยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) สามารถป้องกัน HIV ได้มากกว่า 90% แต่ไม่สามารถป้องการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ดังนั้น จึงควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย
    3. การฉีดวัคซีน HPV สามารถป้องกันเชื้อ HPV สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนักและมะเร็งช่องปาก ได้ประมาณ 90-95%

    ปัจจุบัน ถุงยางอนามัยมีให้เลือกหลากหลาย ทั้งของผู้ชาย ของผู้หญิง ถุงยางสำหรับสวมนิ้ว หรือถุงยางที่ถูกพัฒนามาเพื่อการทำออรัลเช็กช์ เช่น Dental Dam นั้นเอง

    วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    ส่วนการเลือกใช้ยา PREP และ PEP ปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกันอย่างแพร่หลายว่าช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ แต่ถุงยางอนามัยก็ยังคงเป็นวิธีการกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพอยู่ และป้องกันได้หลายโรครวมถึงการตั้งครรภ์ด้วย

    นอกจากนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น Safe Sex ยังรวมไปถึงการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ด้วย เช่น การใช้ยาคุม ทั้งแบบกิน แบบฝัง หรือแบบฉีด

    ซึ่งวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด ในกรณีที่เราไม่รู้ประวัติของคู่นอนมาก่อนเลยว่าในอดีตเคยมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากน้อยแค่ไหน ก็คือการตรวจหาเชื้ออย่างละเอียดโดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายใน หรือตรวจทวารหนัก และหากว่าตรวจพบเชื้อจะได้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

    การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีกี่วิธี?

    ในปัจจุบันการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถทำได้หลากหลายวิธีดังนี้

    • การตรวจเลือด สามารถตรวจหาเชื้อ HIV ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี
    • การตรวจปัสสาวะ สามารถตรวจหาเชื้อหนองในแท้ หนองในเทียม เชื้อไวรัส และแบคทีเรียหลายๆตัวได้ หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะแสบคัด ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้เช่นกัน
    • การตรวจภายใน สำหรับผู้หญิงที่รู้สึกว่าตกขาวมีลักษณะผิดปกติ แตกต่างไปจากเดิม อาจจะมีสี กลิ่น หรือปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไปก็สามารถตรวจหาได้จากการตรวจตกขาวได้
    • การตรวจทางทวารหนัก หากเคยมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือมีอาการผิดปกติเช่น มีแผล มีอาการปวดเจ็บตอนเบ่ง มีเลือดออก หรือมีคราบหนอง ก็ควรตรวจเช่นกัน

    ซึ่งวิธีที่สามารถตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้กับทุกเพศ ทุกช่องทางการมีเพศสัมพันธ์คือ วิธีการตรวจเลือด อย่างไรก็ตาม หากอยากจะเจาะจงถึงวิธีการตรวจที่เหมาะกับแต่ละเพศ นายแพทย์ศุภวัฒน์ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ดังนี้

    • ผู้ชาย แนะนำให้ตรวจปัสสาวะควบคู่ไปกับการตรวจเลือดด้วย
    • ผู้หญิง แนะนำให้ตรวจภายในควบคู่ไปกับการตรวจเลือดด้วย
    • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก แนะนำให้ตรวจทวารหนักควบคู่ไปกับการตรวจเลือดด้วย
    • ผู้ที่มีการทำออรัลเช็กช์สามารถตรวจหาเชื้อที่ช่องปากและลำคอได้เช่นกัน

    ขั้นตอนการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    การตรวจเลือด สามารถเข้ารับการเจาะเลือดได้โดยไม่จำเป็นต้องงดน้ำ และงดอาหาร โดยจุดเด่นของการตรวจหาโรคโดยการตรวจเลือดคือ ทำได้ง่าย รอผลไม่นาน และตรวจหาได้หลายโรคพร้อมกันจากการเจาะเลือดเพียงครั้งเดียว

    การตรวจปัสสาวะคือ การเก็บตัวอย่างปัสสาวะใส่กระบอกเก็บตัวอย่าง โดยจะต้องทิ้งปัสสาวะต้นไปก่อนค่อยเก็บปัสสาวะช่วงกลางและช่วงท้าย เป็นวิธีการเก็บตัวอย่างที่ไม่ซับซ้อน

    การตรวจภายในของเพศหญิง แพทย์จะใช้อุปกรณ์ปากเป็ดและใช้การ SWAB เก็บผลตัวอย่างสารคัดหลั่ง เนื้อเยื่อและเซลล์เพื่อส่งตรวจ

    ขั้นตอนการตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    ในกรณีของผู้หญิงที่ต้องการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยวิธี SWAB ช่องคลอด แพทย์แนะนำว่าให้รอจนประจำเดือนหมดก่อนเข้ามาทำการตรวจ จะทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นด้วย

    ส่วนการตรวจหาเชื้อทางทวารหนัก แพทย์จะใช้การ SWAB เก็บสารคัดหลั่งในทวารหนักออกมา และส่งผลตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อรอผล

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีระยะฟักตัวและระยะแฝงไม่เท่ากัน แต่โดยรวมแล้วถ้าหากว่าได้รับความเสี่ยงมาแล้วเกิน 1 เดือนขึ้นไป สามารถตรวจหาเชื้อได้เกือบจะทุกประเภท และหากว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความเสี่ยงกับโรคไหนมากเป็นพิเศษ แพทย์จะทำการประเมิน และนัดตรวจซ้ำอีกหนึ่ง

    โดยการตรวจคัดกรองโรคทางเพศสัมพันธ์ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโรค แนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้าหากว่ามีความเสี่ยงบ่อย เช่น ผู้ที่ทำอาชีพ Sex Worker หรือมีคู่นอนหลายคน สามารถตรวจมากกว่า 1 ครั้ง หรืออาจตรวจ 2-3 ครั้งต่อปีโดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการก่อน

    ถ้าตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรทำอย่างไร?

    หากตรวจพบติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สิ่งที่ควรรีบทำเป็นอันดับแรกคือ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา เริ่มต้นวางแผนการรักษาว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร และมีแนวทางการรักษาอย่างไร

    สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือ ควรชวนคู่นอนของเรามาเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด เพราะหากเราตรวจพบเชื้อ ก็มีโอกาสที่คู่ของเราจะติดโรคด้วย จึงควรทำการรักษาร่วมกัน หากรักษาเพียงคนเดียวก็มีโอกาสติดซ้ำอีกได้

    ตรวจ STD ที่ atFirst Clinic ดียังไง?

    หากใครที่มีความเสี่ยง กังวลว่าจะติดเชื้อหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเริม ซิฟิลิส พยาธิช่องคลอด หนองในแท้ หนองในเทียม รวมถึงการติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ทางเดินปัสสาวะและทางทวารหนัก แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจทันที

    ตรวจ STD

    HDmall.co.th ขอแนะนำ atFirst Clinic ติด BTS สถานีพญาไท ทางออก 1 ที่ อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 9 ด้วยบรรยากาศสบายๆ ของคลินิก มีความเป็นส่วนตัว และสามารถเข้ารับบริการด้วยการใช้นามแฝงเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว

    สำหรับคนที่เขินอาย ไม่กล้า หรือว่ายังกังวลอยู่ อยากให้รู้ว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ และแพทย์ก็เข้าใจเป็นอย่างดี หากว่ายังลังเลอยู่ ไม่แน่ใจว่าจะตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ดีไหม? สามารถปรึกษาทางออนไลน์ก่อนได้ที่ไลน์ @HDcoth

    อยากให้ทุกคนเข้าใจและคิดว่าเป็นการตรวจสุขภาพประจำปีตามปกติ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการมาก่อนก็ตามหากว่าตรวจแล้วพบปัญหาอะไรจะได้รีบแก้ไข หรือถ้าตรวจแล้วไม่เจออะไร จะได้สบายใจกันทั้งสองฝ่าย


    บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

    @‌hdcoth line chat