เปรียบเทียบการเจาะน้ำคร่ำกับการตรวจ NIPT


เปรียบเทียบการเจาะน้ำคร่ำกับการตรวจ NIPT

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การเจาะน้ำคร่ำ คือ การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะลงไปที่หน้าท้องของมารดาผ่านเข้าไปในถุงน้ำคร่ำซึ่งห่อหุ้มตัวทารก เพื่อดูดเก็บน้ำคร่ำที่มีเซลล์ผิวหนังของทารกปะปนประมาณ 20 ซีซี แล้วนำตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจนิฟ คือ การเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ กลุ่มอาการพาทัวร์ หรือกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด
  • การตรวจ NIPT เป็น “การตรวจคัดกรอง” ในขณะที่การเจาะน้ำคร่ำเป็น “การตรวจวินิจฉัย” แต่ผลการวิเคราะห์โครโมโซมทารกจากวิธีตรวจทั้ง 2 รูปแบบนี้ล้วนมีความแม่นยำสูงถึง 99%
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก G-NIPT Thailand

สารบัญ


การเจาะน้ำคร่ำ เป็นอีกกระบวนการตรวจเช็กความพร้อมด้านสุขภาพของทารกในครรภ์เพื่อตรวจดูความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมซึ่งยังนิยมอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จัดเป็นขั้นตอนการตรวจที่เสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตรได้

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายสถานพยาบาลเลือกเปลี่ยนวิธีตรวจจากเจาะน้ำคร่ำมาเป็นวิธีอื่น เช่น การเจาะเลือด เพราะสามารถตรวจความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับทารกได้เช่นเดียวกัน รวมถึงการตรวจความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมด้วย หรือที่เรียกได้อีกชื่อว่า การตรวจนิฟหรือนิฟตี้ (NIPT)

HDmall.co.th ร่วมกับ G-NIPT สรุปจุดเด่นและความแตกต่างระหว่างการเจาะน้ำคร่ำกับการตรวจ NIPT เพื่อหาความเสี่ยงกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซมทารก เพื่อให้หลายๆ ครอบครัวที่กำลังวางแผนการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ ได้เข้าใจข้อมูลและสามารถนำไปปรึกษากับแพทย์อย่างละเอียดต่อไป

การเจาะน้ำคร่ำคืออะไร?

การเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) คือ การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะลงไปที่หน้าท้องของมารดา ผ่านเข้าไปในถุงน้ำคร่ำซึ่งห่อหุ้มตัวทารก เพื่อดูดเก็บน้ำคร่ำที่มีเซลล์ผิวหนังของทารกปะปนประมาณ 20 ซีซี แล้วนำตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อหาความเสี่ยงการเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมต่างๆ เช่น

  • กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน
  • กลุ่มอาการพาทัวร์ (Patau’s Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกิน หรือเรียกได้อีกชื่อว่า Trisomy 13
  • กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกิน หรือเรียกได้อีกชื่อว่า Trisomy 18
  • กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome)
  • กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome)
  • ระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-Fetoprotein: AFP) ในน้ำคร่ำ ซึ่งบ่งบอกความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกไขสันหลังในทารก

ควรเจาะน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์เท่าไร และควรทำกี่ครั้ง?

อายุครรภ์ที่เหมาะต่อการเจาะน้ำคร่ำอยู่ที่ประมาณ 16-18 สัปดาห์ ไม่ควรอายุครรภ์น้อยกว่านี้ เพราะเซลล์ผิวหนังของทารกจะยังปะปนไม่มากพออยู่ในน้ำคร่ำ

สำหรับความถี่ในการเจาะน้ำคร่ำจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ โดยอาจเจาะตรวจครั้งเดียวก็เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาจากการเจาะน้ำคร่ำ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาหลังจากเจาะน้ำคร่ำมีอะไรบ้าง?

ถึงแม้การเจาะน้ำคร่ำจะยังเป็นวิธีตรวจที่ได้รับความนิยมในแทบทุกสถานพยาบาล และมักดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น

  • การติดเชื้อที่สายสะดือและถุงน้ำคร่ำ
  • ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ
  • มีเลือดออกในช่องคลอด
  • ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด
  • ภาวะแท้งบุตร

เจาะถุงน้ำคร่ำเจ็บหรือไม่?

ระหว่างที่แพทย์ใช้เข็มจิ้มไปบนผนังหน้าท้อง มารดาอาจรู้สึกเจ็บคล้ายกับเวลาเข็มจิ้มเพื่อเจาะเก็บตัวอย่างเลือดได้ แต่โดยปกติแพทย์จะทำทุกกระบวนอย่างเบามือที่สุด เพื่อลดอาการเจ็บและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

กระบวนการเจาะน้ำคร่ำมีอะไรบ้าง?

ก่อนเจาะน้ำคร่ำ หญิงตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารมาก่อน แต่ควรปัสสาวะก่อนจะเริ่มรับบริการ จากนั้นแพทย์จะทำอัลตราซาวด์เพื่อยืนยันอายุครรภ์และตรวจดูตำแหน่งของทารกในถุงน้ำคร่ำสำหรับเลือกบริเวณที่จะเจาะเข็มลงไปอย่างเหมาะสมที่สุด

จากนั้นแพทย์จะใช้เข็มที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วจิ้มลงไปที่ผนังหน้าท้องกับผนังมดลูกลงลึกไปถึงแอ่งน้ำคร่ำ แล้วดูดเก็บน้ำคร่ำออกมา โดยหลังจากเก็บน้ำคร่ำเสร็จแล้ว จะให้หญิงตั้งครรภ์นั่งพักประมาณ 30 นาที จากนั้นสามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ โดยระยะเวลารอผลตรวจจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 สัปดาห์

การตรวจ NIPT คืออะไร? แตกต่างจากการเจาะน้ำคร่ำอย่างไร?

การตรวจนิฟ (Non-Invasive Prenatal Testing: NIPT) คือ การเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ กลุ่มอาการพาทัวร์ หรือกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด โดยควรตรวจในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 10-20 สัปดาห์

แตกต่างจากการตรวจด้วยวิธีเจาะน้ำคร่ำตรงที่ การตรวจ NIPT เป็น “การตรวจคัดกรอง” ในขณะที่การเจาะน้ำคร่ำเป็น “การตรวจวินิจฉัย” แต่ผลการวิเคราะห์โครโมโซมทารกจากวิธีตรวจทั้ง 2 รูปแบบนี้ล้วนมีความแม่นยำสูงถึง 99% ไม่ต่างกัน

อย่างไรก็ตาม การตรวจ NIPT ก็มีข้อได้เปรียบอีกหลายอย่างที่น่าสนใจกว่า ซึ่งในหลายครอบครัวอาจยังไม่ทราบ เช่น

  • ด้านความแม่นยำของผลตรวจ: แม้จะเป็นเพียงการตรวจเลือด แต่ความแม่นยำของการตรวจ NIPT นั้นสูงถึง 99.99% และมีโอกาสแปลผลผิดพลาดได้น้อยมาก
  • ผู้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเลือด​: นักวิทยาศาสตร์การแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วิเคราะห์ผลตรวจ NIPT เช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำที่ต้องส่งตรวจผ่านทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เช่นเดียวกัน
  • ความรู้สึกเจ็บระหว่างตรวจ: การตรวจ NIPT มีกระบวนการเพียงเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากแขนเหมือนกับการเจาะเลือดเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไป ไม่ต้องมีการใช้เข็มเจาะที่หน้าท้องเหมือนกับการเจาะน้ำคร่ำ
  • การทำนายโรคอื่นๆ นอกจากกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม: การตรวจ NIPT สามารถตรวจพบความผิดปกติทางโครโมโซมของทารกได้ใกล้เคียงกับการเจาะน้ำคร่ำทุกอย่าง แต่อาจขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภันฑ์ชุดตรวจด้วย
  • ความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือภาวะแท้ง: เพราะเป็นเพียงการเจาะเก็บตัวอย่างเลือด จึงไม่มีความเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนใดๆ ทั้งนั้น
  • ความถี่ในการตรวจ: ในการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง การตรวจ NIPT เพียง 1 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจบ่อย
  • สถานที่ตรวจ: ชุดตรวจ NIPT หลายยี่ห้อสามารถซื้อและตรวจได้ที่คลินิกสูตนรีเวชหลายแห่งทั่วประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องมาตรวจที่โรงพยาบาลเสมอไป
  • การเตรียมตัวก่อนรับบริการ: ผู้เข้ารับบริการทุกท่านสามารถใช้ชีวิตประจำวันทั้งก่อนและหลังตรวจ NIPT ได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือเตรียมตัวใดๆ เป็นพิเศษก่อนมารับบริการเลย
  • ระยะเวลาในการตรวจ: ใช้เวลาเพียงไม่เกิน 1 ชั่วโมงก็เสร็จ
  • ระยะเวลาในการรอผลตรวจ: การตรวจ NIPT ใช้เวลารอผลเพียงประมาณ 1-2 สัปดาห์หรืออาจเพียง 5 วันทำการเท่านั้น

สามารถตรวจทั้ง 2 วิธีได้หรือไม่?

หากผู้เข้ารับบริการเคยตรวจ NIPT หรือตรวจด้วยวิธีเจาะน้ำคร่ำอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อนแล้ว และอยากตรวจด้วยวิธีอื่นอีกครั้งเพื่อยืนยันผลความผิดปกติของโครโมโซมทารก ก็สามารถรับบริการตรวจเพิ่มได้

นอกจากนี้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจ NIPT แล้วพบความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ และต้องการยุติการตั้งครรภ์ ก็มักจะตรวจด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำอีกครั้งก่อน เพื่อตรวจให้แน่ใจว่า เด็กมีความผิดปกติจริงๆ และเพื่อยืนยันความประสงค์ในการยุติการตั้งครรภ์อีกครั้ง

ตรวจ NIPT ด้วยชุดตรวจจาก G-NIPT

G-NIPT คือ แบรนด์ผลิตภัณฑ์สำหรับตรวจ NIPT จากประเทศเกาหลีใต้ โดยบริษัท GC Genome ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการด้านการตรวจโรคทางพันธุกรรมแบบครบวงจร มีความเชี่ยวชาญและประสิทธิภาพในการตรวจความผิดปกติด้านโครโมโซมของทารกอย่างล้ำสมัย และเป็นที่ยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลก

โดยทาง HDmall.co.th ได้จับมือกับทาง G-NIPT ในการสั่งจองชุดตรวจ NIPT ของแบรนด์ G-NIPT ผ่านทางเว็บไซต์ HDmall.co.th โดยสามารถเลือกเดินทางไปตรวจได้ที่คลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ประจำอยู่ หรือจะให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปเจาะเก็บตัวอย่างเลือดถึงที่บ้านก็ได้

โดยชุดตรวจ NIPT ของแบรนด์ G-NIPT จะแบ่งออกเป็น 3 โปรแกรมเพื่อเป็นทางเลือกให้กับครอบครัวที่อยากตรวจ NIPT แต่อาจมีข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่ายในการตรวจ หรือในครอบครัวที่อยากตรวจกลุ่มอาหารผิดปกติแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่

  • G-NIPT Lite เป็นชุดตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม 3 คู่ ได้แก่คู่ที่ 13,18 และ 21 ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงเกิดกลุ่มอาการพาทัวซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด และกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ตามลำดับ หรือคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

  • G-NIPT Basic เป็นชุดตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13,18, 21 และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome: XO) กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter's Syndrom: XXY) และโรคทริปเปิลเอกซ์ (Triple X Syndrome: XXX) หรือคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

  • G-NIPT Premium เป็นชุดตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมแบบครอบคลุมทั้งหมด 23 คู่ รวมถึงความผิดปกติของโครโมโซมเพศ และชิ้นเนื้อโครโมโซมที่อาจขาดหายไป (Microdeletions) จนทำให้ร่างกายเด็กบกพร่องด้านภูมิคุ้มกัน การทำงานประสานกันระหว่างอวัยวะและระบบต่างๆ รวมถึงด้านสติปัญญา หรือคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการรับบริการตรวจ NIPT แต่ยังไม่แน่ใจว่า ชุดตรวจแบบไหนที่เหมาะต่อภาวะด้านสุขภาพหรือการตั้งครรภ์ของคนในครอบครัว สามารถแอดไลน์ @HDcoth เพื่อปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางแอดมินของ HDmall.co.th ได้ทันที

รีบตรวจเช็กความแข็งแรงของลูกน้อยตั้งแต่เขายังอยู่ในครรภ์ เพื่อให้คุณได้เตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัวได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ด้วยชุดตรวจจาก G-NIPT ทั้งคุ้มค่า แม่นยำ สะดวกสบาย ไม่ต้องไปโรงพยาบาลก็ตรวจและฟังผลได้จบครบทุกกระบวนการ


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ


ที่มาของข้อมูล

  • โรงพยาบาลพญาไท, ทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ รู้ได้...ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ (https://www.phyathai.com/article_detail/2032/th/ทารกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่_รู้ได้...ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ), 8 ธันวาคม 2564.
  • โรงพยาบาลศีครินทร์, การเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่อการวินิจฉัยก่อนคลอด (https://www.sikarin.com/health/การเจาะตรวจน้ำคร่ำเพื่), 8 ธันวาคม 2564.
  • ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา, การเจาะน้ำคร่ำเพื่อการวินิจฉัยก่อนคลอด (https://www.synphaet.co.th/การเจาะน้ำคร่ำ/), 8 ธันวาคม 2564.
@‌hdcoth line chat