ศัลยกรรมตัดเหงือก ปรับปรุงรอยยิ้มให้มั่นใจยิ่งกว่าเดิม!


ยิ้ม, ฟันขาว, เหงือก, ตัดเหงือก, ศัลยกรรมตัดเหงือก

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • การศัลยกรรมตัดเหงือก (Gum contouring surgery) คือการตกแต่งรูปทรงของเหงือก เหมาะกับผู้ที่ยิ้มเห็นเหงือกเยอะ เหงือกในฟันแต่ละซี่ไม่เสมอกัน หรือบางครั้งอาจทำเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี
  • การศัลยกรรมตัดเหงือกมี 2 ประเภทหลัก คือ การตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์ (Gingivectomy) เป็นการนำเหงือกบริเวณที่เป็นร่องระหว่างเหงือกกับฟันออก และการตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรง (Gingivoplasty) เป็นการนำเนื้อเยื่อเหงือกส่วนเกินที่คลุมฟันมากเกินไปจนฟันดูสั้นออก
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการศัลยกรรมตัดเหงือกมีด้วยกัน 2 ชนิดหลักๆ คือมีดผ่าตัดทั่วไป และการตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ โดยเลเซอร์เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า แผลเล็กกว่า ห้ามเลือดได้ในตัว และเสี่ยงติดเชื้อน้อยกว่า
  • สนใจแพ็กเกจศัลยกรรมตัดเหงือทั้งแบบเลเซอร์และแบบปกติ เปรียบเทียบราคาได้ที่ HDmall.co.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @hdcoth

ยิ้มไม่สวย ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะทำให้ไม่มั่นใจในรอยยิ้ม หากคุณมีปัญหาเช่นนี้ การศัลยกรรมตัดเหงือกอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณ

ศัลยกรรมตัดเหงือกคืออะไร?

การศัลยกรรมตัดเหงือก (Gum contouring surgery) คือการตกแต่งรูปทรงของเหงือก หรือตัดเหงือกส่วนเกินเพื่อเหตุผลด้านความสวยงาม และเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีในบางกรณี

ทันตแพทย์มักแนะนำการศัลยกรรมตัดเหงือกกับผู้ที่มีเนื้อเหงือกเยอะ (Gummy smile) ทำให้ยิ้มแล้วฟันดูสั้น เหงือกนูน เหงือกคลุมฟันแต่ละซี่ไม่เสมอกัน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัญหาสุขภาพเฉพาะบุคคล หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

ศัลยกรรมตัดเหงือกมีกี่ประเภท?

รูปแบบการศัลยกรรมตัดเหงือกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ โดยทั้ง 2 ประเภทนี้มีการนำเนื้อเยื่อบางส่วนของเหงือกออกเช่นเดียวกัน แต่มีจุดประสงค์และรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

1. การตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์ (Gingivectomy)

การตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์ (Gingivectomy) เป็นการนำเนื้อเยื่อเหงือกที่เป็นร่องระหว่างเหงือกกับฟัน (Periodontal Pocket) ออก เพื่อเหตุผลทางสุขภาพช่องปากที่ดี

โดยปกติเหงือกจะแนบกับฟันได้พอดี ดูแข็งแรง แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากบางอย่าง เช่น เหงือกร่นจากอายุ โรคเหงือกอักเสบ การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดการบาดเจ็บที่เหงือก อาจทำให้ฟันและเหงือกไม่แนบสนิทกัน เกิดเป็นร่องเรียกว่าร่องลึกปริทันต์ (Periodontal Pocket)

ร่องนี้จะทำความสะอาดได้ยาก และมีโอกาสที่คราบจุลินทรีย์ เศษอาหาร จะเข้าไปสะสมจนเกิดปัญหาตามมาได้ การตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์จึงมักใช้เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม บางกรณีทันตแพทย์อาจใช้วิธีนี้เพื่อเหตุผลด้านความสวยงามด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์ (Gingivectomy)

การตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพเหงือกแต่ละคน หากตัดแต่งเหงือกรอบฟันไม่กี่ซี่ ก็อาจไม่ต้องพบทันตแพทย์หลายครั้ง หากกับเหงือกทั่วทั้งปากอาจต้องแบ่งทำทีละครั้ง โดยขั้นตอนหลักๆ อาจมีดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณเหงือก เพื่อให้ไม่เจ็บระหว่างการทำ
  2. เมื่อยาชาออกฤทธิ์ ทันตแพทย์จะตรวจดูความลึกของร่องปริทันต์ เพื่อกำหนดว่าควรตัดส่วนไหนออก
  3. ทันตแพทย์จะใช้มีดผ่าตัด หรือเลเซอร์ในการตัดเนื้อเยื่อเหงือกที่ต้องการออก
  4. ระหว่างการทำ ทันตแพทย์อาจใช้เครื่องมือดูดน้ำลายส่วนเกินออกจากปากไปด้วย
  5. เมื่อเนื้อเยื่อเหงือกถูกตัดออกไปแล้ว ทันตแพทย์อาจใช้เลเซอร์แต่งแนวเหงือกอีกครั้ง
  6. หลังตกแต่งเรียบร้อย ทันตแพทย์จะทำการอุดแผล และใช้ผ้าพันแผลปิดบริเวณเหงือกเอาไว้

ข้อดีของการตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์มีจุดประสงค์ด้านสุขภาพปากที่ดีเป็นหลัก ข้อดีที่ได้จึงอาจมีดังนี้

  • เป็นวิธีที่ดี และรวดเร็วในการนำเนื้อเยื่อเหงือกที่เสียหายออก
  • ช่วยลดร่องลึกปริทันต์ได้อย่างเห็นผล
  • ช่วยให้รักษาความสะอาดง่ายขึ้น
  • ช่วยให้ฟันและกระดูกมีสุขภาพดี

2. การตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรง (Gingivoplasty)

การตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรง (Gingivoplasty) เป็นการนำเนื้อเยื่อเหงือกส่วนเกินที่คลุมฟันมากเกินไปจนฟันดูสั้นออก มักมีจุดประสงค์เพื่อความสวยงามเป็นหลัก

การตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรงอาจมีการกรอกระดูกเหงือก (Bone recontouring) ร่วมด้วย หรือบางครั้งอาจทำร่วมกับการตัดเหงือกเพื่อลดร่องปริทันต์ เพื่อให้รูปทรงของฟันเวลายิ้มดูสวยงามมากที่สุด

ขั้นตอนการตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรง (Gingivoplasty)

การตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรงมักทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเหงือก (Periodontist) ขั้นตอนหลักๆ ที่พบอาจมีดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะทำความสะอาดช่องปากให้คุณ
  2. ทันตแพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่บริเวณเหงือก เพื่อให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะทำ
  3. เมื่อยาชาออกฤทธิ์ ทันตแพทย์จะนำอุปกรณ์มาปรับปรุงรูปทรงของเหงือก อาจเป็นมีดผ่าตัดทั่วไป หรือเป็นเลเซอร์ในการทำ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
  4. เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะทำการปิดแผลให้ และอาจมียาฆ่าเชื้อกับยาแก้ปวดกลับไปกินที่บ้าน

ข้อดีของการตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรง

การตัดเหงือกเพื่อปรับรูปทรงมีจุดประสงค์หลักเพื่อความสวยงาม ข้อดีจึงอาจมีดังนี้

  • แก้ไขสภาพเหงือกเยอะเกินไป (Gummy smile)
  • แก้ไขรูปทรงเหงือกที่ไม่สม่ำเสมอ
  • แก้ไขเนื้อเยื่อเหงือกระหว่างฟันเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กรณีนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมินให้ว่าควรทำการรักษาแบบใด หากการตัดเหงือกเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ ควรพูดคุยถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดเหงือกว่าแบบไหนเหมาะสมกว่ากันด้วย

กรอกระดูกเหงือกคืออะไร?

การกรอกระดูกเหงือก จะใช้กับผู้ที่ต้องการตัดหรือตกแต่งเหงือกให้สวยงาม แต่มีกระดูกเหงือกที่นูนและยาวเกินไปจนไม่สามารถตัดออกแค่เนื้อเหงือกได้ จึงต้องทำการกรอให้บางลงเพื่อให้เหมาะขนาดเหงือกที่ต้องการ

ตัดเหงือกด้วยมีดกับเลเซอร์ต่างกันอย่างไร?

การตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ เป็นเทคนิคที่ทันสมัยกว่า มีความแม่นยำกว่า จึงใช้เวลาในการพักฟื้นแผลน้อยกว่า นอกจากนี้เลเซอร์ยังมีความร้อนระหว่างกระบวนการทำ ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อได้

แต่การตัดเหงือกด้วยเลเซอร์มีราคาสูงกว่าการใช้มีดผ่าตัด และแพทย์ที่ใช้เครื่องมือเลเซอร์จะต้องมีความชำนาญการเฉพาะด้วย ดังนั้นทันตแพทย์ที่ทำการรักษาด้วยใบมีดหากไม่ได้รับการอบรมมาเฉพาะ

ตัดเหงือกเจ็บไหม?

ผู้ทำการรักษาจะให้ยาชาเฉพาะที่ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะทำ นอกจากนี้หากเป็นการตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ ก็จะมีแผลที่เล็กประมาณเส้นปากกาเท่านั้น จึงใช้เวลาฟื้นตัวไม่นานก็หายเป็นปกติ

สนใจแพ็กเกจศัลยกรรมตัดเหงือทั้งแบบเลเซอร์และแบบปกติ เปรียบเทียบราคาได้ที่ HDmall.co.th ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินให้บริการตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!

ที่มาของข้อมูล

Dr. Julie Boudreault, Gingivectomy vs Gingivoplasty: What You Should Know, (https://www.milltowndental.com/blog/gingivectomy-vs-gingivoplasty-what-you-should-know/), 2 July 2019.

WebMD, Gum Contouring, (https://www.webmd.com/oral-health/guide/gum-contouring-procedure#1), 7 October 2019.

WebMD, Gum Contouring: Is it Right for You?, (https://www.webmd.com/oral-health/features/gum-contouring-facts), 11 May 2012.

Rachel Nall, MSN, CRNA, Everything to Know About a Gingivoplasty, (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/everything-to-know-about-a-gingivoplasty), 31 July 2020.

Tim Jewell, What to Expect from Gingivectomy, (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/gingivectomy), 9 May 2019.

@‌hdcoth line chat