โรคความดันต่ำ ควรกินอะไรบ้าง เมนูไหนถึงจะเหมาะ

โรคความดันต่ำ (Low blood pressure) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะลิ่มเลือดไปอุดตันภายในหลอดเลือด จึงทำให้การนำส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง จนเกิดเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ร่างกายขาดน้ำ หลอดเลือดมีการขยายตัวมากเกินไป โรคนี้สามารถเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ด้วย

อาการของผู้เป็นโรคความดันต่ำ

ผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย แม้จะพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ได้ทำงานหนักมากก็ตาม  บางทีมักเวียนศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ค่อยมีสมาธิ บางรายอาจมีอาการปวดหัว ปวดหลัง และปวดตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย

การรักษาอาการของผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ

ส่วนมากผู้ป่วยโรคนี้จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก หากมีอาการมากขึ้น หรืออาการขาดเลือด แพทย์จะเติมเลือดเข้าไปให้ และรักษาตามอาการ

แต่ในกรณีที่อาการของโรคอยู่ในระดับร้ายแรงขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ หรือตามที่ร่างกายต้องการ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น หลังจากนั้นการไหลเวียนของเลือดก็จะค่อยๆ มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเก่า จนอาจไม่แสดงอาการของโรคให้เห็นอีกเลย

อาหารที่คนเป็นโรคความดันต่ำควรรับประทาน

1. เครื่องดื่มประเภทชาต่าง ๆ

ชาโสม และชาขิงช่วยแก้อาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายได้ดี ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ไม่เหนื่อยง่าย

2. ผลไม้ที่มีวิตามินซี

อาหารวิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม ส้ม มะม่วง สตรอว์เบอร์รี ช่วยลดความดันต่ำ ควรรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดอาการเวียนศีรษะจากอาการของโรคได้

3. อาหารประเภทเนื้อสัตว์

ปลาซาร์ดีน สาหร่ายทะเล หอยนางรม ตับ และไตของสัตว์ อาหารเหล่านี้ช่วยลดภาวะการขาดเลือดอย่างฉับพลัน ช่วยให้เลือดไปบำรุงร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

4. วิตามินอีในผลไม้บางชนิด

ผลไม้สุกที่มีรสหวาน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอสุก กล้วยไข่ มะปรางหวาน สับปะรด สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคความดันต่ำได้

5. ธัญพืชต่างๆ

ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย ขนมปัง มันฝรั่ง ถั่ว ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เลือดเป็นลิ่มน้อย บรรเทาอาการของโรคได้ดี

6. ผลไม้อบแห้ง

ลูกพรุน ลูกเกด ทานตะวัน อินทผาลัม กล้วยตาก ผลไม้แบบแห้งจะมีโพแทสเซียมมาก เหมาะสำหรับคนเป็นโรคความดันต่ำ หากรับประทานในเวลาว่างจะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น และทำให้ไม่เหนื่อยง่ายด้วย

สิ่งที่ต้องรับประทานเพิ่มเติมนอกเหนือจากอาหารประจำวัน

  • เน้นอาหารประเภทโปรตีน ร่างกายของผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันต่ำ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดโปรตีนในร่างกาย และอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย การเติมโปรตีนจากสัตว์ และโปรตีนจากธรรมชาติ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเหลือง พืชตระกูลถั่วต่างๆ จะช่วยลดอาการความดันต่ำที่มีอยู่ได้เช่นกัน
  • รับประทานอาหารเสริมประเภทวิตามินบี เช่น วิตามินบี 1 , วิตามินบี 12
  • รับประทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียม และวิตามินอี

ปรับพฤติกรรมเพื่อเปลี่ยนโรค

นอกจากการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้อาการความดันต่ำที่เป็นอยู่มีอาการดีขึ้นแล้ว พฤติกรรม และกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราก็ควรปรับให้ห่างไกลจากโรคนี้ด้วย เช่น

  1. การฝึกการหายใจ เพื่อช่วยให้เลือดสามารถกระจายไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของระบบ หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น การนั่งสมาธิ การฟังดนตรีบำบัด
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เลือดสูบฉีด การหายใจดีขึ้น รวมถึงช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ช่วยกระตุ้นหลอดเลือดให้สามารถไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  3. ดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง ไม่เหนื่อยง่ายอีกด้วย
  4. ลดความเครีย เพราะยิ่งคุณเครียดเลือดยิ่งไปเลี้ยงสมอง และส่วนต่างๆ ของร่างกายน้อยลง คุณอยากลองฝึกปล่อยวาง ไม่กดดัน ไม่ยึดติด หาอะไรคลายเครียดให้สมองแจ่มใส เมื่อทุกส่วนของร่างกายทำงานผสานกันได้ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ข้อสังเกตเกี่ยวกับอาการของโรคความดันต่ำ

อย่างที่ทราบกันดีว่า อาการของโรคความดันต่ำเกิดจากการลดลงของเลือด และการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ อีกทั้งผู้ป่วยบางรายอาจเกิดโรคนี้จากสภาวะโลหิตจางจากกรรมพันธุ์ ซึ่งนำไปสู่ภาวะความดันต่ำได้เช่นกัน

เพราะผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการเหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะเป็นประจำ ทำงานหนักไม่ค่อยได้ รวมถึงการเสียเลือดมากเกินไป ก็มีแนวโน้มทำให้เป็นโรความดันต่ำได้เช่นกัน ลองสังเกตตนเองว่า มีอาการดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ หากพบอาการควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

โรคความดันต่ำก็ไม่ใช่โรคร้ายแรงอย่างที่คิด เราสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หากรู้จักวิธีการดูแลตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกิน สารอาหารที่ควรได้รับ หรือเมนูอาหารที่ควรรับประทาน นอกจากนี้ คุณยังต้องไม่ลืมพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แค่นี้ก็ช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อย่างที่ตั้งใจได้


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Scroll to Top