ปัจจุบันมีกระแสที่เชื่อว่าการอดอาหารวันเว้นวันนั้นจะสามารถช่วยลดน้ำหนักและยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง แต่ข้อมูลจากงานวิจัยที่ทำการเปรียบเทียบระหว่างวิธีอดอาหารวันเว้นวันกับการจำกัดแคลอรีตามปกตินั้นไม่ได้พบความแตกต่างแต่อย่างใด นักวิจัยพบว่าการเลือกอดอาหารวันเว้นวันนั้นเป็นวิธีที่ลดน้ำหนักได้ยากและอาจเพิ่มระดับ LDL cholesterol ในเลือด
ข้อมูลที่พบจากงานวิจัย
นักวิจัยได้ทำการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 100 คน ออกเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มแรก ให้ใช้วิธีการอดอาหารวันเว้นวัน ซึ่งหมายความว่าในวันที่อดอาหารนั้นพวกเขาจะรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียง 25% ของพลังงานที่ต้องการ และในวันที่ไม่อดอาหารนั้นจะรับประทานมากกว่าปกติ (ประมาณ 125% ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน)
- กลุ่มที่สอง รับประทานอาหารที่ให้พลังงานวันละ 75% ของพลังงานที่ต้องการทุกวัน
- กลุ่มที่สาม รับประทานอาหารตามปกติ เป็นเวลา 6 เดือน
ก่อนจะทำการติดตามน้ำหนักของผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ 6 เดือน
ผลจากงานวิจัยพบว่ากลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองนั้นลดน้ำหนักได้ประมาณ 5.5% ของน้ำหนักตัวเดิม ก่อนที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 12 และมีระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินและค่าโปรตีนที่แสดงถึงการอักเสบดีกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารตามปกติ
เมื่อทำการติดตามผลที่เดือนที่ 12 หลังเข้าร่วมงานวิจัย พบว่ากลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองนั้นไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นว่ากลุ่มที่หนึ่งมีระดับ LDL cholesterol ที่เพิ่มขึ้น 11.5 mg/dl เมื่อเทียบกับกลุ่มที่สอง ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดสมองอุดตันได้ ดังนั้น วิธีนี้จึงไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมในการลดน้ำหนัก
แล้วเราจะสามารถนำข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าวมาใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร ?
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและสามารถเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมดได้เพียง 69% ทำให้ผลที่พบนั้นอาจจะไม่แม่นยำได้ นอกจากนั้นยังมีผู้ที่เลือกหยุดการรับประทานอาหารทั้งสองแบบกลางคัน ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อข้อมูลจากงานวิจัย
มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่ชอบวิธีการอดอาหารแบบวันเว้นวันเนื่องจากทำให้พวกเขารู้สึกหิวและกระสับกระส่ายในวันที่ต้องอดอาหาร และเมื่อเวลาผ่านไปกลับพบว่าพวกเขารับประทานอาหารมากขึ้นในวันที่อดอาหารและน้อยลงในวันที่ไม่อด ทำให้ผลที่ได้รับอาจจะใกล้เคียงกับกลุ่มที่จำกัดปริมาณแคลอรีทุกวัน
งานวิจัยนี้ยังมีข้อจำกัดอีกหลายประการ เช่นไม่ได้มีการทำการศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่เดิม ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่าในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้นจะมีความดันโลหิต cholesterol หรือคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้นหรือไม่
บทสรุป
บทสรุปที่เราได้เรียนรู้จากงานวิจัยนี้ก็คือ วิธีการอดอาหารดังกล่าวนั้นเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม และมีอีกหลายวิธีที่สามารถลดน้ำหนักได้และยังดีต่อสุขภาพเช่นการกินผักและผลไม้, เลือกรับประทานไขมันชนิดที่ดี, กินโปรตีนที่ไม่ติดมัน และออกกำลังกาย
เปรียบเทียบราคา แพ็กเกจคอร์สลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย
บทความแนะนำ
- 8 สิ่งที่ทำให้ผิวหนังมีโอกาสเสียหายจากแสงแดดมากขึ้น
- จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation) รักษา ดูแล อย่างไร
- 10 อันตรายจากแสงแดด ภัยหน้าร้อนที่อาจอันตรายกว่าที่คิด
- SPF ในเครื่องสำอาง กันแดดได้จริงหรือไม่ ควรเลือกอย่างไร
- 5 วิธี ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า ไม่ต้องใช้ครีม ทำเองได้ง่าย
- 10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฟิตเนส ที่ควรทำความเข้าใจ
- ออกกำลังกาย ต้องรู้อะไรบ้าง? รวม 10 เรื่องที่ควรรู้!
- รวมอัตราการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ จากกิจกรรมชีวิตประจำวัน
- วิธีลดหน้าท้องอย่างได้ผล! ด้วยอาหาร การออกกำลังกาย
- สุดยอดวิธี ลดต้นขาสำหรับผู้หญิง ให้เรียวสวยยิ่งขึ้น
- ทำไมถึงมีพุง คนผอมก็มีพุงได้ วิธีลดพุงด้วยตัวเองง่ายๆ
- กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาอย่างไร นวด ประคบ ช่วยได้ไหม?
- หลังโค้งค่อม เป็นสัญญาอันตราย บ่งชัดว่ากระดุกเริ่มกร่อน
- 10 สัญญาณโรคร้าย ที่สังเกตได้จากเท้าของตัวคุณเองได้
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Weight loss: Feel full on fewer calories. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/weight-loss/art-20044318)
- Diet vs. Exercise: The Truth About Weight Loss. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/features/diet-vs-exercise-the-truth-about-weight-loss)
- Diet & Weight Loss. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/topics/diet-and-weight-loss)