ปวดหลังเรื้อรัง ระวังเสี่ยงเป็นโรคหมอนกระดูกเสื่อม!
ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ อาการปวดเล็กๆ ที่เรื้อรัง แต่หลายคนอาจมองข้าม เพราะเข้าใจว่าเป็นอาการปวดเมื่อยตามปกติ แค่นวดก็คงหาย แต่รู้ไหมว่า อาการเล็กๆ นี้ อาจเป็นสัญญาณแห่งความเสี่ยงของโรคร้ายแรงอย่างหมอนรองกระดูกเสื่อม! ถ้าใครสงสัยว่าตัวเองกำลังมีอาการเหล่านี้ และไม่มั่นใจว่าปวดเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือเปล่า มาเช็กอาการเบื้องต้นกันได้เลย
หมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไร?
หมอนรองกระดูกเสื่อม (Degenerative disc) เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกเสื่อมอายุไปตามกาลเวลา ตามปกติหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ดี เพื่อรองรับแรงกระแทกขณะเคลื่อนไหว เดิน หรือกระโดด ภายในหมอนรองกระดูกจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ เมื่ออายุมากขึ้น น้ำในหมอนรองกระดูกจะเริ่มลดลง ความยืดหยุ่นลดลง และแบนลงเรื่อยๆ จนกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกเจ็บ หรือปวดตามแนวเส้นประสาท
แต่ปัจจุบันเริ่มพบผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมในช่วงอายุน้อยลง ตั้งแต่อายุ 25 ปีเป็นต้นไป โดยกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดคือช่วงวัย 30-40 ปี
เพราะอะไรถึงเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม?
นอกจากความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยด้านการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เป็นตัวกระตุ้นให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย ได้แก่
- น้ำหนักตัวมาก มีภาวะโรคอ้วน เพราะกระดูกสันหลังต้องรองรับน้ำหนักตัวตลอดเวลา
- ผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ชอบกิจกรรมโลดโผน ที่อาจเกิดแรงกระแทกบริเวณหลังซ้ำๆ
- ใช้งานหลังไม่ถูกต้อง เช่น นั่งทำงานนานๆ นั่งผิดท่า ต้องก้มๆ เงยๆ หรือยกของหนักเป็นประจำ
- ผู้ที่ป่วยเป็นออฟฟิศซินโดรม
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีอาการปวดหลังมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- เคยประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับหลัง
เช็กสัญญาณโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมมักเริ่มจากการปวดหลัง ซึ่งหลายคนอาจมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นการปวดเมื่อยธรรมดา แต่หากลองสังเกตดีๆ จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่
- ปวดต้นคอ ร้าวมาที่ไหล่ หรือแขน เป็นได้ทั้ง 1 หรือ 2 ข้าง
- ปวดหลังบริเวณบั้นเอว ปวดหน่วงๆ ตื้อๆ
- มักปวดเมื่อนั่งทำงานนานๆ ยืนนานๆ หรือเดินนานๆ หรือปวดเวลาไอ จาม หรือเบ่ง
- ถ้าเริ่มเป็นหนักจนมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดร้าวลงขา บางรายมีอาการชา อ่อนแรง
หากเริ่มมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้หลายรูปแบบ ทั้งการตรวจเลือด ตรวจเส้นประสาท เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมรักษาอย่างไร
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและการประเมินของแพทย์ ดังนี้
- การใช้ยา ยาบรรเทาอาการปวดที่ใช้กับผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม เช่น พาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรียรอยด์ แต่บางรายที่มีอาการปวดรุนแรงแพทย์อาจจ่ายยาระงับปวดกลุ่มอื่นๆ ที่มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น
- การทำกายภาพบำบัด อีกหนึ่งวิธีรักษาที่บรรเทาอาการได้คือการกายภาพบำบัด ด้วยท่าออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณโดยรอบหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำท่าที่เหมาะสม วิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด รวมทั้งต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานด้วย แล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
- การผ่าตัด เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมค่อนข้างรุนแรง และไม่สามารถรักษาโดยวิธีอื่นๆ ได้ โดยสามารถผ่าตัดได้ 2 วิธี ได้แก่
- ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลัง แพทย์จะผ่าตัดโดยใส่สกรูทำด้วยโลหะไทเทเนียม ยึดระหว่างกระดูกสันหลัง วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อกระดูกให้มากขึ้น
- ผ่าตัดใส่หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนกระดูกที่เสื่อมออก แล้วแทนที่ด้วยหมอนกระดูกเทียม ซึ่งทำจากโลหะไทเทเนียมและพลาสติก
นอกจาก 3 วิธีที่กล่าวมาแล้ว ยังมีวิธีรักษาทางเลือกอื่นๆ อีกด้วย เช่น การใช้เลเซอร์คลื่นความความถี่สูง (Radio Frequent) ขดลวดความร้อน (IDET) แต่วิธีเหล่านี้อาจได้ผลเพียงชั่วคราว ในกลุ่มผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงเท่านั้น แต่หากเริ่มมีอาการชา อ่อนแรง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อความปลอดภัยสูงสุด
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดรักษาเริ่มต้นที่ประมาณครั้งละ 100,000 บาทเป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาและค่าบริการโรงพยาบาล
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ถือเป็นโรคที่เรื้อรัง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมา เช่น กระดูกสันหลังกดเบียดทับเส้นประสาทจนเดินลำบาก เดินแล้วไม่สมดุล เหมือนจะหกล้ม กระดูกสันหลังงอกกดทับเส้นประสาท โพรงกระดูกสันหลังตีบตัน บางรายที่ร้ายแรงมากอาจเป็นอัมพาตครึ่งล่างได้
ฉะนั้นถ้าไม่อยากป่วยร้ายแรง ต้องรีบปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงสาเหตุตั้งแต่ตอนนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ต้องทำงานนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ ต้องยกของหนักเป็นประจำ มาจำกัดความเสี่ยงด้านการรักษา ด้วยประกันสุขภาพ Mobile Syndrome ที่คุ้มครอง 11 โรคฮิตที่เกิดจากการใช้งานโทรศํพท์มือถือและคอมพิวเตอร์เป็นประจำ ได้แก่
- หมอนรองกระดูกเสื่อม
- อาการนิ้วล็อค
- โรคไมเกรน
- โรคเอ็นข้อมืออักเสบ
- อาการอักเสบของกล้ามเนื้อมือหรือข้อมือ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- โรควุ้นสายตาเสื่อม
- ภาวะกระดูกคอเสื่อม
- กระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท
- การอักเสบของกล้ามเนื้อคอ
- การปวดศีรษะเรื้อรัง
จ่ายเริ่มต้นเพียง 999 บาทต่อปี คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท! พิเศษ ซื้อที่ HDmall.co.th วันนี้ รับแคชแบ็กสูงสุด 150 บาท หมดเขต 31 ธ.ค.64
ประกันแผน 1 IPD จ่ายปีละ 999.- รับแคชแบ็ก 50 บาท คลิกเลย
ประกันแผน 2 OPD+IPD จ่ายปีละ 3,150.- รับแคชแบ็ก 150 บาท คลิกเลย
หากสงสัยเกี่ยวกับประกันและความคุ้มค้องทักหาแอดมินสอบถามเพิ่มเติม คลิกเลย
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด ควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจซื้อประกันทุกครั้ง
ที่มาของข้อมูล
- โรงพยาบาลศิริราชปิยะมหาราชการุณย์, ปวดคอร้าวมาไหล่เสี่ยง! หมอนรองกระดูกเสื่อม(https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/503) 1 ธันวาคม 2564.
- โรงพยาบาลกรุงเทพ, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท(https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/article-type/herniated-disc) 1 ธันวาคม 2564.
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรคนิ้วล็อครักษาโดยการสะกิดไม่ต้องผ่าตัด (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh) 28 พฤษภาคม 2562.