รังแคทำให้ผมร่วงจริงหรือไม่ มาดูคำตอบกัน


รังแค ผมร่วง

รังแคบนหนังศีรษะเป็นหนึ่งในปัญหาหนังศีรษะและเส้นผมที่หลายคนประสบ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเครียดได้ไม่แพ้ปัญหาผมร่วงเลย สำหรับใครที่กำลังเผชิญทั้งปัญหารังแคบนหนังหนังศีรษะและผมร่วง เคยสงสัยไหมว่า ทั้งสองปัญหานี้มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

ความหมายของรังแค

รังแคคือ สะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะที่เกิดจากการหลุดลอกของเซลล์หนังศีรษะชั้นบนสุด ซึ่งโดยปกติแล้วจะค่อยๆ หลุดลอกออก ใช้เวลาประมาณ 28 วัน 

อย่างไรก็ตาม หากมีปัจจัยที่เร่งให้วงจรการหลุดลอกของเซลล์บนหนังศีรษะชั้นบนสุดเร็วขึ้น เช่น จากเดิมใช้ระยะเวลา 28 วัน เปลี่ยนเป็น 7-21 วัน เซลล์ที่หลุดออกมาจะเป็นขุยสีขาว หรือสีเทาที่มีขนาดใหญ่ และมองเห็นได้ชัดแทน

ผู้ที่มีรังแคบนหนังศีรษะนั้น นอกจากจะมีขุยสีขาวที่มักพบบริเวณหนังศีรษะ เส้นผม หรือไหล่แล้ว ในบางรายอาจมีอาการคันหนังศีรษะ หนังศีรษะแห้ง ผมมันง่าย หนังศีรษะจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือมีอาการบวมร่วมด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดรังแค

สาเหตุที่ทำให้เกิดรังแค มีดังนี้

  • มียีสต์ (Yeast) เติบโตที่ผิวมากเกินไป
  • เป็นโรคกลาก หรือติดเชื้อรา
  • โรคผื่นผิวหนัง
  • ปฏิกิริยาแพ้ต่อสเปรย์ฉีดผม มูส เจล หรือสารย้อมสีผม
  • โรคสะเก็ดเงิน

นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ความเครียด และการสัมผัสกับอากาศหนาวเย็น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัญหารังแคแย่ลงได้ และในบางรายอาจมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ความหนาแน่นของผมลดลง หัวล้านเป็นหย่อมๆ หรือทั้งหมดร่วมด้วย

สำหรับผู้ที่กังวลว่า ตนเองอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการแพ้สารเคมี หรือสารประกอบบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเป็นรังแคได้ คุณอาจไปใช้บริการตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ 

ผลการตรวจที่ได้นั้นจะทำให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ 

รังแคเกี่ยวข้องกับผมร่วงอย่างไร?

รังแคไม่ได้ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่ผลกระทบจากการมีปัญหาหนังศีรษะ เช่น อาการคัน ความเครียด หรือหนังศีรษะแห้งก็อาจทำให้ผมร่วงได้ เช่น 

  • ภาวะผมร่วงทั้งศีรษะชั่วคราวจากความเครียด หรือการสะเทือนใจจากเหตุการณ์บางอย่าง
  • การเกาหนังศีรษะบริเวณที่มีรังแคอย่างต่อเนื่อง ทำให้รากผมอ่อนแอ หลุดร่วงง่าย
  • หนังศีรษะแห้งกร้านจะทำให้บริเวณนั้นผลิตน้ำมันออกมามากผิดปกติ และเกาะติดอยู่ที่สะเก็ดบนหนังศีรษะ ส่งผลให้เส้นผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

การใช้แชมพูสูตรต้านรังแค อาจทำร้ายเส้นผม และทำให้ผมแตกปลายได้

แพทย์อาจพิจารณาให้แชมพูที่มีส่วนผสมของสารต้านเชื้อรา หรือน้ำมันดินในผู้ป่วยบางราย

บางครั้งการใช้แชมพูต้านเชื้อรา หรือการสระผมเพื่อขจัดรังแคถี่เกินไปอาจทำให้ผมแห้ง ชี้ฟู และทำร้ายเปลือกนอกของเส้นผมได้ ซึ่งทำให้คุณภาพของเส้นผมและรูปลักษณ์โดยรวมแย่ลงมากกกว่าเดิม อาจสังเกตได้จากการหวีผมได้ยากขึ้น มีผมแตกปลาย หรือผมร่วงมากกว่าเดิม 

อย่างไรก็ตาม การเคลือบผมด้วยเคราตินสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการเคลือบผมเคราตินนั้นมักรวมอยู่ในโปรแกรมทำทรีตเมนต์บำรุงผมของร้านทำผมต่างๆ

การรักษารังแคอย่างเป็นธรรมชาติสามารถช่วยแก้ปัญหาผมร่วงได้

รังแคมีความเกี่ยวข้องกับการมีหนังศีรษะที่แห้ง คัน และตกสะเก็ด การรักษาความชุ่มชื้นให้กับหนังศีรษะจึงช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ 

ดังนั้นการใช้สมุนไพรบางชนิดที่มีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับการรักษารังแค จึงอาจสามารถนำมาใช้ในกรณีนี้ได้ เช่น

  • น้ำหัวหอมดิบ มีสารต้านเชื้อราเหมาะสำหรับใช้รักษารังแค และรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม
  • กระเทียม โดยใช้เนื้อกระเทียมที่มีความเหนียว เป็นเจล ทาพอกที่หนังศีรษะ สามารถแก้ปัญหาผมร่วง และรังแคได้
  • น้ำมันตะไคร้ เป็นยาบำรุงผมที่ดีเยี่ยม และช่วยลดรังแคได้

ผมร่วงไม่ได้เกิดจากรังแคเพียงยังเดียวแต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้อีก ได้แก่ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ฮอร์โมนไม่สมดุล หัวล้านจากพันธุกรรม โรคผมร่วงเป็นหย่อม 

การใช้ยาบางชนิด การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือการใช้ทรีทเมนต์สำหรับเส้นผมมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียด 

บางคนเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว แต่อาการก็แสดงออกทางกายแทน หรืออาจไปใช้บริการตรวจวิเคราะห์ความเครียด ผลที่ได้จะทำให้คุณสามารถนำมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ห่างไกลความเครียดได้ดียิ่งขึ้น  

หากมีปัญหาผมร่วง หรือเป็นรังแคเรื้อรังจนส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิต ลองรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ 

แนะนำให้ไปปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากไม่แน่ใจว่า คุณกำลังประสบปัญหารังแคหรือไม่ ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ผิวหนังและเส้นผมออนไลน์แล้ว ตอบโจทย์คนขี้อาย คนชอบความสะดวกสบาย และคนที่ไม่มีเวลาไปพบแพทย์ด้วยตนเอง

วิธีนี้แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ว่า สิ่งที่คุณเป็นอยู่นั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่ หากจำเป็นต้องได้รับการรักษา ควรรักษาอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ.ธนู โกมลไสย


บทความแนะนำ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat