มะเร็งร้ายของชายไทย ไม่ต้องรอให้เป็นก็ตรวจได้ ปลอดภัยกว่าด้วย


ตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชาย ตรวจอะไรบ้าง? ราคาเท่าไร?

  HDmall สรุปให้! 

ขยาย

ปิด

  • การตรวจคัดกรองมะเร็ง คือการตรวจหาสัญญาณของโรคมะเร็งภายในร่างกาย และอาจช่วยให้พบมะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะแรกๆ 
  • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งอาจประกอบไปด้วยการซักประวัติ ตรวจเลือด ตรวจด้วยอุปกรณ์เฉพาะทาง และสารคัดหลั่ง
  • หัวใจสำคัญของการตรวจคือการตรวจเลือด เพื่อหาสัญญาณจากค่าต่างๆ แล้วจึงค่อยใช้อุปกรณ์เฉพาะทางเจาะลึงลงไป
  • เช็กราคาโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งราคาดีๆ ได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามแอดมิน ให้แอดมินหาโปรให้ @hdcoth

จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่ามะเร็งเป็นโรคร้ายอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยมากว่า 20 ปี ทำให้ปัจจุบันหลายคนเริ่มตระหนักถึงความอันตรายและหันมาเฝ้าระวังโรคมะเร็งกันมากขึ้น

ในบทความนี้เราจะพูดถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในผู้ชาย

ตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชายคืออะไร ทำไมถึงควรตรวจ?

การตรวจคัดกรองมะเร็ง คือการตรวจหาความผิดปกติ หรือข้อบ่งชี้ต่างๆ ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะมะเร็งมักมีอาการไม่ชัดเจน กว่าจะทราบก็เข้าสู่ระยะลุกลามและรักษาได้ยาก

สถาบันมะเร็งแห่งชาติเผยว่าปี 2561 ผู้ชายที่ป่วยเป็นมะเร็งทราบว่าตนเองเป็นตอนเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้วถึง 18.9% และผู้ที่ทราบตอนเข้าสู่ระยะที่ 4 มีมากถึง 36.4% (รวมทั้ง 2 กลุ่มนั้นเท่ากับ 55.3%)

ดังนั้นการตรวจคัดกรองหาสัญญาณของโรคตั้งแต่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้

ตรวจคัดกรองมะเร็งผู้ชายตรวจอะไรบ้าง?

เนื่องจากผู้ที่มาตรวจคัดกรองอาจยังไม่ทราบว่าภายในของตนเองผิดปกติอย่างไร การตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชายจึงเป็นการดูภาพรวมเบื้องต้นว่าส่วนไหนของร่างกายส่งสัญญาณของโรคมะเร็งหรือไม่ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical examination)

การตรวจร่างกายโดยแพทย์ เป็นการเช็กภาพรวมเบื้องต้นจากภายนอกว่าสุขภาพยังคงสมบูรณ์ปกติดีหรือไม่

แพทย์อาจเริ่มจากการซักประวัติเพื่อให้ทราบว่าต้องโฟกัสไปที่ส่วนไหนเป็นพิเศษ เช่น หากมีประวัติสูบบุหรี่ มีเสมหะ ไอเป็นเลือด ก็อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

นอกจากนี้แพทย์อาจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากการวัดความดัน ตรวจวัดดัชนีมวลกาย (BMI) วัดชีพจร

2. ตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการ

ถ้าการตรวจร่างกายโดยแพทย์คือการตรวจภาพรวมภายนอก การตรวจเลือดก็เปรียบเสมือนการตรวจภาพรวมภายใน

การเจาะเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการช่วยแปลผลได้มาก นอกจากค่าที่เราคุ้นเคยกันอย่างไขมันในเลือด หรือไตรกลีเซอไรด์แล้ว ยังสามารถตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งได้หลายชนิด เช่น

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) อย่างที่หลายคนทราบว่าเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม หากพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมากหรือน้อยไปจนผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณว่าในร่างกายมีการอักเสบ ติดเชื้อ หรือมะเร็งได้
  • ตรวจหารสารบ่งชี้มะเร็งตับ (Alpha-fetoprotein: AFP) ปกติสารตัวนี้จะอยู่ในเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากตรวจพบว่ามีมากผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งตับ
  • ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-specific antigen: PSA) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผลิตออกมาจากต่อมลูกหมาก หากมีความผิดปกติขึ้นที่ต่อลูกหมาก อาจทำให้ PSA เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก
  • ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Carcinoembryonic antigen: CEA) เป็นสารที่หลั่งออกมาจากเนื้องอกและอาจเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากจะใช้บ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว ยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจพบสารบ่งชี้มะเร็งชนิดใด ก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะเป็นมะเร็ง เพราะสารบ่งชี้ตัวหนึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งสำหรับผู้ชายจึงต้องอาศัยผลจากการตรวจหลายประเภทร่วมกันนั่นเอง

3. ตรวจด้วยอุปกรณ์เฉพาะทาง

หากตรวจคัดกรองเบื้องต้นแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อมะเร็ง แพทย์อาจให้ตรวจกับอุปกรณ์เฉพาะทางเพิ่มเติม เช่น

  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound) คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปกระทบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายเพื่อให้เกิดเป็นภาพขึ้น หลายคนมักคุ้นเคยกับอัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์ แต่ความจริงแล้วอัลตราซาวด์สามารถใช้ได้กับอวัยวะหลายส่วน เช่น ตับ หัวใจ ไต และช่องท้อง เป็นต้น
  • เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-Ray) รังสีเอกซเรย์สามารถทะลุผ่านอวัยวะได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถถ่ายภาพและหาความผิดปกติได้ชัดเจน

ในบางโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชาย อาจมีการตรวจด้วยอุปกรณ์เฉพาะทางร่วมด้วยโดยไม่ต้องรอยืนยันผลเลือด

4. ตรวจสารคัดหลั่งต่างๆ

สารคัดหลั่งบางชนิดอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งเช่นกัน ดังนี้

  • ตรวจเสมหะ เพื่อนำมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์หาเซลล์มะเร็ง อาจใช้เป็นหนึ่งในการวินิจฉัยมะเร็งปอด
  • ตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางรายอาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะแสบขัด หรือมีเลือดปน การเก็บตัวอย่างปัสสาวะจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็ง
  • ตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Stool occult blood) ซึ่งอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย

มะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชาย อาจมีดังนี้

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancers)
  • มะเร็งตับ (Liver cancer)
  • มะเร็งปอด (Lung cancer)
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)
  • มะเร็งในช่องปาก (Oral Cancer)
  • มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer)

ตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชายราคาเท่าไร?

HDmall ได้รวบรวมราคาโดยประมาณจากสถานที่ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชายมาไว้ให้ที่นี่

แต่ราคาของโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชายนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุที่เหมาะสม รายการตรวจในโปรแกรม สถานที่ จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

  • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชายไม่เกิน 10 รายการ ราคาประมาณ 1,000-4,300 บาท
  • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชาย 20-30 รายการ ราคาประมาณ 4,500-9,200 บาท
  • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ราคาประมาณ 7,200-12,735 บาท

จองบริการตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชายได้ง่ายๆ วันนี้ ผ่าน HDmall.co.th รับส่วนลดหรือแคชแบ็ก หรือเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้อจริง @hdcoth

ถ้ายังไม่แน่ใจว่าซื้อแพ็กเกจไหนดี สอบถามแอดมิน ให้แอดมินหาแพ็กเกจที่เหมาะ โปรดีๆ สถานที่ใกล้ๆ ให้ก็ได้ แตะตรงนี้ได้เลย จะมีแอดมินใจดีคอยตอบคำถามตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat