อย่างที่เราทราบกันดีว่า แสงแดดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวของเราแก่ก่อนวัย อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุของการเกิดริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ จุดด่างดำ ผิวหย่อนคล้อย โรคมะเร็งผิวหนัง ทำให้ผิวไหม้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การไม่ทาครีมกันแดดเมื่ออยู่นอกบ้านไม่เพียงแต่ทำให้ผิวมีโอกาสไหม้แดดมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้ผิวของคุณมีโอกาสเสียหายจากแสงแดดมากขึ้นเช่นกัน แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ
1. สกินแคร์บางชนิด
ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย และผลิตภัณฑ์รักษาสิวสามารถทำให้ผิวชั้นนอกบางลง หรือควบคุมการผลิตเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีตามธรรมชาติที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันแสงอาทิตย์ หากผลิตภัณฑ์มีเรตินอล วิตามินเอ ไกลโคลิก กรดซาลิซิลิก หรือไฮโดรควิโนน ผิวของคุณอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากแสงแดดมากขึ้น ทางที่ดีคุณควรทาครีมกันแดด ใส่เสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันแสงแดด และสวมหมวก
2. น้ำหอม
เชื่อหรือไม่ว่า น้ำหอมบางชนิดสามารถทำให้ผิวมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น น้ำหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ ซีดาร์ โรสแมรี มะกรูด และไม้จันทน์ มักมีสารเคมีที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น กล่าวโดย Sonia Batra แพทย์ผิวหนัง เมื่อน้ำหอมกลิ่นเหล่านี้สัมผัสกับแสงแดด มันก็สามารถทำให้ผิวระคายเคือง ผิวอักเสบ หรือทำให้เกิดจุดด่างดำ
3. ยาที่ทาน
ยาสำหรับทานบางชนิดที่มีจุดประสงค์เพื่อรักษาสิวอย่างไอโซเทรทิโนน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผิวไหม้แดดได้มากทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้กันด้วยว่ายารักษาโรคซึมเศร้า ยาต้านฮีสตามีน ยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา และยาต้านการอักเสบ ล้วนแต่ทำให้ผิวไวต่อแสงมากขึ้น ทางที่ดีคุณควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
4. รถยนต์
หากคุณคิดว่าการนั่งอยู่ในรถจะทำให้คุณรอดพ้นจากอันตรายจากแสงแดด คุณคิดผิดแล้วค่ะ เพราะรังสียูวีมี 2 ชนิด คือ รังสียูวีบี และรังสียูวีเอ ซึ่งกระจกหน้าต่างสามารถป้องกันรังสียูวีบีได้ ในขณะที่รังสียูวีเอสามารถทะลุผ่านกระจก และทะลวงเข้าสู่ผิวของเรา ดังนั้นการทาครีมกันแดดทุกวันเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคนที่ใช้เวลาในรถเป็นเวลานาน หรือนั่งใกล้หน้าต่างตอนทำงาน
5. อาหาร
การได้รับไนอาซีน (วิตามิน บี3) ไม่เพียงพอ มีความเชื่อมโยงกับการมีผิวที่ไวต่อดวงอาทิตย์มากขึ้น สำหรับอาหารที่คุณพบวิตามิน บี3 ได้มาก เช่น เนื้อ เห็ด ถั่วลิสง และธัญพืชที่มีการเติมวิตามิน บี3 ในขณะที่อาหารอย่างมะนาว เซเลอรี และพาสลีย์ มีสารประกอบที่ทำให้ผิวมีความไวต่อแสง โดยสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาเช่นเดียวกับภาวะผิวไหม้แดด
6. ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่
การเป็นโรค หรือการรักษาที่ไประงับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และผิวเสียหายจากแสงแดดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อรักษาโรคลูปัส โรคสะเก็ดเงิน หรือโรครูมาติกส์ การรักษาโดยใช้เคมีบำบัด การไม่สามารถควบคุมโรคเอดส์ ฯลฯ
7. การไม่ทาครีมกันแดดในวันที่ไม่มีแสงแดด
คุณสามารถมีผิวไหม้ในวันที่อากาศเย็น หรือแม้แต่วันที่มีเมฆมาก ซึ่งคนส่วนมากมีแนวโน้มที่จะไม่ใช้ครีมกันแดด แต่คุณทราบหรือไม่ว่า 80% ของรังสียูวีสามารถทะลุผ่านก้อนเมฆได้ ดังนั้นไม่ว่าอุณหภูมินอกบ้านเป็นเท่าไร คุณควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงเวลาที่รังสียูวีมีความเข้มข้นมากที่สุด ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 11.00 น.-15.00 น. และให้คุณทาครีมกันแดดทุกวันแม้ว่าวันนั้นจะไม่มีแสงแดดก็ตาม
8. ไม่ทาครีมกันแดดซ้ำ
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ทาครีมกันแดดเพียงแค่ครั้งเดียวก่อนออกจากบ้าน แต่ความจริงแล้ว คุณควรทาครีมกันแดดซ้ำหลังว่ายน้ำหรือเหงื่อออก และให้ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง โดยให้คุณใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 หรือมากกว่านี้ และให้ทาครีมกันแดดประมาณ 1 แก้วช็อตให้ทั่วร่างกาย
จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้ผิวของเราเสียหายจากแสงแดด โดยเป็นได้ตั้งแต่การใช้น้ำหอมไปจนถึงการที่ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานได้แย่ลง นอกจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยบางข้อที่เรากล่าวไปแล้ว คุณก็อย่าลืมทาครีมกันแดดทุกครั้งที่ออกจากบ้านด้วยค่ะ
บทความแนะนำ
- 10 สัญญาณโรคร้าย ที่สังเกตได้จากเท้าของตัวคุณเองได้
- จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation) รักษา ดูแล อย่างไร
- 10 อันตรายจากแสงแดด ภัยหน้าร้อนที่อาจอันตรายกว่าที่คิด
- SPF ในเครื่องสำอาง กันแดดได้จริงหรือไม่ ควรเลือกอย่างไร
- 5 วิธี ช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้า ไม่ต้องใช้ครีม ทำเองได้ง่าย
- 10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับฟิตเนส ที่ควรทำความเข้าใจ
- ออกกำลังกาย ต้องรู้อะไรบ้าง? รวม 10 เรื่องที่ควรรู้!
- รวมอัตราการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่ จากกิจกรรมชีวิตประจำวัน
- วิธีลดหน้าท้องอย่างได้ผล! ด้วยอาหาร การออกกำลังกาย
- สุดยอดวิธี ลดต้นขาสำหรับผู้หญิง ให้เรียวสวยยิ่งขึ้น
- ทำไมถึงมีพุง คนผอมก็มีพุงได้ วิธีลดพุงด้วยตัวเองง่ายๆ
- กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาอย่างไร นวด ประคบ ช่วยได้ไหม?
- การเลือกอดอาหารวันเว้นวัน ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่?
- หลังโค้งค่อม เป็นสัญญาอันตราย บ่งชัดว่ากระดุกเริ่มกร่อน
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- cancer.org, things-that-make-the-skin-more-likely-to-be-damaged-by-sunlight (https://www.cancer.org/healthy/be-safe-in-sun/sun-damage.html)
- medlineplus.gov, things-that-make-the-skin-more-likely-to-be-damaged-by-sunlight (https://medlineplus.gov/ency/anatomyvideos/000125.htm)
- newsinhealth.nih.gov, things-that-make-the-skin-more-likely-to-be-damaged-by-sunlight (https://newsinhealth.nih.gov/2014/07/sun-skin)