what are hemorrhoids scaled

ริดสีดวงเกิดจากอะไรได้บ้าง? รวมทุกตัวการปัจจัยเสี่ยง

ริดสีดวงทวารเกิดจากการโป่งพองของเส้นเลือดดำที่อยู่บริเวณทวารหนัก หรือไส้ตรงส่วนล่าง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก โดยริดสีดวงทวารที่อยู่ภายในจะเกิดภายในทวารหนัก หรือไส้ตรง ในขณะที่ริดสีดวงทวารที่เกิดภายนอกจะอยู่ด้านนอกของรูทวารหนัก

ริดสีดวงทวารหนักภายนอกเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุด และมักจะทำให้เกิดปัญหามากที่สุด โดยสามารถทำให้เกิดอาการปวด คันอย่างรุนแรง และนั่งลำบากได้ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้

มีรายงานว่า ประมาณ 50% ของผู้มีอายุ 50 ปี มักเคยมีอาการของโรคริดสีดวงทวาร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ท้องเสีย ตั้งครรภ์ โรคก้อนเนื้องอกบริเวณอุ้งเชิงกราน การเบ่ง การนั่งนาน ท้องผูกเรื้อรัง ยาต้านเกล็ดเลือด และยาละลายลิ่มเลือด

ลักษณะอาการโรคริดสีดวงทวารหนัก

  • อาการคันอย่างรุนแรงรอบๆ รูทวาร
  • มีการระคายเคือง หรือเจ็บที่รอบๆ รูทวาร
  • มีก้อนที่คัน หรือเจ็บใกล้กับทวารหนัก
  • กลั้นอุจจาระไม่ได้
  • เจ็บเวลาขับถ่าย
  • มีเลือดออกระหว่างขับถ่าย หรือหลังขับถ่าย

ถึงแม้ว่า ริดสีดวงทวารจะทำให้เกิดอาการเจ็บ แต่ก็ไม่ได้เป็นโรคที่รุนแรงถึงชีวิต และมักจะหายได้เอง แม้จะไม่ได้พบแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากเป็นบ่อยๆ อาจทำให้เกิดภาวะซีดจากเลือดที่ออก หรือทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ แต่ก็พบได้น้อย

ภาวะแทรกซ้อนโรคริดสีดวงทวารหนัก

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคริดสีดวงทวารหนักนั้นพบได้น้อย แต่อาจจะประกอบด้วย

  • ลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำ
  • เลือดออก
  • ซีดจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากการเสียเลือด

สาเหตุที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก

ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไร โดยปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องประกอบด้วย

  • การเบ่งขณะถ่าย
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการมีท้องผูกเรื้อรัง
  • การนั่งนานๆ โดยเฉพาะการนั่งถ่ายอุจจาระ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนัก

  • โรคริดสีดวงทวารสามารถส่งผ่านทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกได้ ดังนั้นหากพ่อแม่ของคุณเป็นโรคนี้ คุณก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • การยกของหนักบ่อยๆ เป็นโรคอ้วน หรือใช้งานร่างกายหนักเรื้อรัง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวารหนัก และการยืนนานๆ โดยไม่พักก็สามารถทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้เช่นกัน
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก และท้องเสียบ่อยๆ อาจทำให้ความเสี่ยงในการเป็นริดสีดวงทวารเพิ่มขึ้น
  • หญิงตั้งครรภ์อาจจะมีแนวโน้มเกิดริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมดลูกที่โตขึ้นจะไปกดเส้นเลือดดำของลำไส้ใหญ่ และทำให้เส้นเลือดดำโป่งพองได้

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงทวารหนัก

บางครั้งการตรวจด้วยการดูที่ทวารหนักก็อาจเพียงพอต่อการวินิจฉัย แต่เพื่อยืนยันความผิดปกติที่เกิดขึ้น แพทย์จะทำการตรวจทางทวารหนักด้วยนิ้ว หากพบความผิดปกติอาจมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางทวารหนักเพื่อให้เห็นภายในของทวารหนักได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

การรักษาริดสีดวงทวารหนักประกอบด้วยการรักษาที่บ้าน และที่โรงพยาบาล

การรักษาที่บ้าน

1. วิธีการบรรเทาอาการปวด

มียาทาหลายชนิด เช่น ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone cream) หรือครีมทาริดสีดวงที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้  นอกจากนั้นการแช่ก้นในน้ำร้อนวันละ 10-15 นาที ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน

หรืออาจจะนั่งทับขวดน้ำร้อน เพื่อบรรเทาอาการปวดของริดสีดวงทวารหนักที่อยู่ด้านนอกก็ได้

หากมีอาการปวดมากให้ใช้ยาเหน็บแก้ปวด ขี้ผึ้ง หรือครีม ก็สามารถช่วยลดอาการแสบและคันได้

นอกจากนี้การประคบเย็นที่ก้นอาจช่วยลดอาการบวมจากริดสีดวงได้ ส่วนการใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟ่น (Ibuprofen) หรือแอสไพรินก็สามารถลดอาการปวด หรือไม่สบายตัวได้เช่นกัน

2. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากๆ

หากมีอาการท้องผูก คุณสามารถรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากๆ หรืออาหารเสริมที่เป็นเส้นใยอาหาร เพื่อช่วยทำให้อุจจาระนิ่มลง

หัตถการทางการแพทย์

หากใช้การรักษาที่บ้านแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้หนังยางชนิดพิเศษหัวริดสีดวงทวาร เพื่อตัดเส้นเลือดที่มาเลี้ยงที่ริดสีดวงทวาร จากนั้นริดสีดวงจะค่อยๆ เหี่ยวลง หัตถการนี้ต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น ห้ามทำเองที่บ้านเด็ดขาด

หากวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคุณ แพทย์อาจจะใช้ยาฉีดยาเข้าไปที่เส้นเลือดโดยตรง ซึ่งจะทำให้ริดสีดวงนั้นมีขนาดเล็กลง

การป้องกันโรคริดสีดวงทวารหนัก

ในการป้องกันการเกิดริดสีดวงทวารนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเบ่งขณะถ่าย และไม่กลั้นอุจจาระ
  • ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้อุจจาระไม่แข็ง
  • การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยป้องกันการท้องผูกได้
  • อย่านั่งนานๆ โดยเฉพาะบนพื้นผิวที่แข็ง เช่น คอนกรีต กระเบื้อง
  • การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดริดสีดวงทวารได้ เนื่องจากเส้นใยอาหารสามารถช่วยให้อุจจาระนุ่มลง และทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหนักต้องรักษาสุขอนามัยให้ดี เช่น ทำความสะอาดทวารหนักด้วยน้ำอุ่นระหว่างที่อาบน้ำทุกวัน แต่อย่าใช้ “สบู่” เพราะสบู่สามารถกระตุ้นให้เกิดริดสีดวงทวารได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษชำระที่มีเนื้อหยาบเวลาทำความสะอาดหลังอุจจาระ เพราะอาจทำให้ทวารหนักระคายเคืองได้

ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารควรใช้ยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดอาการของโรค และทำให้ผลลัพธ์ในการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

Scroll to Top