ทอรีน (Taurine) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่โปรตีนซึ่งพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของสัตว์ รวมถึงในเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ทอรีนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำงานของร่างกายหลายประการ
สารบัญ
ประโยชน์ของทอรีน
ทอรีน (Taurine) เป็นกรดอะมิโนซัลโฟนิก (amino sulfonic acid) ที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า “กรดอะมิโน” และเป็นสารเคมีที่เป็นหน่วยโครงสร้างของโปรตีน ซึ่งไม่พบในพืช จึงมีทอรีนเฉพาะในสัตว์เท่านั้น ทอรีนถูกพบในปริมาณมากในสมอง, จอตา (retina), หัวใจ, และเซลล์เม็ดเลือดที่เรียกว่าเกล็ดเลือด ส่วนแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยทอรีนคือเนื้อและปลา
คุณอาจจะเคยได้ยินชื่อของทอรีนว่าเป็น “กรดอะมิโนเฉพาะกาล” (conditional amino acid) คือกรดอะมิโนไม่จำเป็นหรือกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ ซึ่งร่างกายจะต้องการเพิ่มในเวลาที่ขาดแคลนเท่านั้น เช่น เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงแยกออกจาก “กรดอะมิโนที่จำเป็น” (essential amino acid) ซึ่งกรดอะมิโนที่จำเป็นเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้และต้องได้รับมาจากการรับประทานอาหารเท่านั้น การขาดทอรีนส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตช้า หากขาดอย่างรุนแรงจะเกิดอาการ ซึม ตับถูกทำลาย บวม สูญเสียกล้ามเนื้องและไขมันได้ ตัวอย่างอาหารเสริมในกรณีที่ได้รับทอรีนไม่เพียงพอ เช่นอาหารเสริมสำหรับทารกที่ไม่สามารถได้รับนมจากมารดาได้เนื่องจากความสามารถในการผลิตทอรีนของพวกเขายังพัฒนาไม่เต็มที่ และการดื่มนมวัวก็ไม่สามารถได้รับทอรีนได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงมีการใส่ทอรีนในนมชงสำหรับทารก อีกทั้งผู้ที่ต้องรับอาหารผ่านทางสายยางเองก็มักได้รับทอรีนด้วยเช่นกัน ทำให้อาหารสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมีการใส่ทอรีนเข้าไปด้วย ส่วนทอรีนที่ได้รับมากเกินไปจะถูกขับออกจากร่างกายโดยไต
บุคคลที่เสี่ยงต่อการขาดทอรีน คือ ผู้ที่บริโภคมังสวิรัติโดยไม่ได้รับประทานไข่, ผู้ที่ขาดเอนไซม์ cystathionase หรือ CSAD และวิตามินบี 6, ผู้ที่เป็นโรคการดูดซึมบกพร่อง, ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ไม่สามารถสร้างทอรีนเองได้, เด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับสารอาการทางหลอดเลือดดำเป็นระยะเวลานาน และผู้ที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ติดเชื้อรุนแรง หรือภาวะเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น
บางคนรับประทานอาหารเสริมทอรีนเป็นยาเพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure (CHF)), ความดันโลหิตสูง, โรคตับอักเสบ (hepatitis), คอเลสเตอรอลสูง (hypercholesterolemia), และโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) สรรพคุณอื่น ๆ ของทอรีนมีทั้งรักษาอาการชัก (โรคลมชัก (epilepsy)), ออทิสซึ่ม (autism), โรคสมาธิสั้น (attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)), ปัญหาที่จอตา, เบาหวาน, โรคจิต (psychosis), และภาวะติดแอลกอฮอล์ (alcoholism) นอกจากนั้นก็มีการใช้ทอรีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง, เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการเคมีบำบัด, และใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันเซลล์ของร่างกายจากความเสียหายจากปฏิกิริยาเคมีบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจน (oxidation)
ทอรีนออกฤทธิ์อย่างไร?
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มั่นใจว่าเหตุใดทอรีนจึงสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว (CHF) ได้ แต่ก็มีหลักฐานบางชิ้นที่พบว่าทอรีนเพิ่มการทำงานของหัวใจห้องซ้ายบนขึ้น อีกทั้งทอรีนยังช่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้เนื่องจากการลดความดันโลหิตลงและช่วยกล่อมระบบประสาทซิมพาเทติกที่มักจะทำงานมากเกินไปในผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงและ CHF โดยระบบประสาทนี้เองที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทที่ตอบสนองต่อความเครียด
รับประทาน
- สำหรับโรคหัวใจล้มเหลว: ทอรีน 1.5-6 กรัมต่อวันโดยแบ่งเป็นสองหรือสามโดส
- สำหรับโรคตับอักเสบ: ทอรีน 1.5-4 กรัมทุกวันนาน 3 เดือน
การใช้และประสิทธิภาพของทอรีน
ภาวะที่อาจใช้ทอรีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure (CHF)) การทานทอรีน 2-3 กรัมหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันนาน 6-8 สัปดาห์อาจช่วยให้การทำงานของหัวใจและอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวระดับปานกลาง (New York Heart Association (NYHA) functional class II) ถึงรุนแรง (New York Heart Association (NYHA) functional class IV) ดีขึ้นได้ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรงบางรายจะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วจาก NYHA class IV ถึง II หลังการรักษา 4-8 สัปดาห์ การเพิ่มขึ้นนี้ยังจะเกิดขึ้นต่อเนื่องหากดำเนินการรักษาด้วยทอรีนต่อไปอีกหนึ่งปี อย่างไรก็ตามสำหรับในคนยังต้องมีการทำวิจัยต่ออีกมาก
- โรคตับ (hepatitis) งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีน 1.5-4 กรัมทุกวันนาน 3 เดือนจะช่วยให้การทำงานของตับในผู้ป่วยโรคตับอักเสบดีขึ้น
ภาวะที่ทอรีนอาจไม่สามารถรักษาได้
- พัฒนาการของทารก ทอรีนเป็นกรดอะมิโนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของทารก แต่อย่างไรก็ตามยังมีบางงานวิจัยกล่าวว่าการให้นมชงที่ประกอบด้วยทอรีนแก่ทารกนาน 12 สัปดาห์ไม่ได้ส่งผลต่อน้ำหนัก, ส่วนสูง, สัดส่วนศีรษะ, หรือพฤติกรรมของทารกแต่อย่างใด
- ประสิทธิภาพการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานทอรีนก่อนออกกำลังกาย 1-6 กรัมไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายโดยรวมได้ แต่การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยทอรีนร่วมกับส่วนผสมอื่น ๆ อาจเพิ่มประสิทธิภาพการปั่นจักรยานขึ้นได้ แต่ไม่ใช่กับการออกกำลังแบบเสริมความแข็งแรงหรือการวิ่ง อีกทั้งยังไม่แน่ชัดว่าประโยชน์เหล่านี้เกิดมาจากทอรีนหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ กันแน่
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ทอรีนรักษาได้หรือไม่
- โรคจุดภาพชัดตาเสื่อม (age-related macular degeneration) ทอรีนมีมากในเรติน่าคือประมาณ 45% ของกรดอะมิโนอิสระทั้งหมดในร่างกาย งานวิจัยกล่าวว่าการทานอาหารเสริมโภชนาการที่ประกอบด้วยทอรีนร่วมกับการรักษาตามปรกตินาน 6 เดือนจะช่วยเรื่องสายตาของผู้ป่วย AMD ได้
- อาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากการบำบัดเคมี งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีนจะรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาด้วยเคมีได้
- ผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีนนาน 6 เดือนอาจช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับตับและไตจากการบำบัดเคมีได้
- โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีการดูดซึมบกพร่อง การทานอาหารเสริมทอรีนร่วมกับการรักษาตามปรกติอาจลดการเกิดภาวะไขมันในอุจาระมากในเด็กที่ป่วยเป็นโรคซิสติกไฟโบรซิสได้ อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้ก็อาจไม่เพิ่มการเติบโต, การทำงานของปอด, หรือรักษาอาการอื่น ๆ จากโรคนี้ได้
- เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีน 1.5 กรัมสองครั้งต่อวันนาน 4 เดือนไม่อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด, ไขมันในเลือด, หรือระดับอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานได้แต่อย่างใด
- เหนื่อยล้า งานวิจัยกล่าวว่าการทานเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่ประกอบด้วยทอรีนก่อนขับรถสามารถลดอาการเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ได้
- แผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori (H.pylori) งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีน 500 mg สองครั้งต่อวันร่วมกับการรักษาตามปรกตินาน 6 สัปดาห์จะช่วยลดการติดเชื้อ H.pylori และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้
- ความดันโลหิตสูง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานทอรีน 6 กรัมทุกวันนาน 7 วัน หรือทอรีน 1.6 กรัมทุกวันนาน 12 สัปดาห์จะช่วยลดความดันโลหิตของผู้ที่มีปัญหาความดันสูงได้
- ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก งานวิจัยกล่าวว่าการทานธาตุเหล็กร่วมกับทอรีน 1000 mg จะเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงและระดับธาตุเหล็กในผู้หญิงที่มีภาวะโลหิตจางจากเหตุขาดธาตุเหล็กได้
- ประสิทธิภาพการทำงานของสมอง งานวิจัยทางคลินิกกล่าวว่าการทานทอรีนร่วมกับคาเฟอีนและวิตามิน B (เครื่องดื่มกระทิงแดง) จะช่วยเพิ่มสมาธิและการใช้เหตุผลของวัยรุ่น แต่ไม่ได้ช่วยเพิ่มความจำขึ้นแต่อย่างใด
- โรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักจะมีระดับของ acetylcoline ต่ำ ในผู้ป่วยอาการรุนแรงมักจะมีระดับทอรีนในน้ำไขสันหลังต่ำร่วมด้วย จากการศึกษาในสัตว์พบว่าเมื่อได้รับทอรีน สัตว์มักจะมีระดับ acetylcoline สูงขึ้น ดังนั้นทอรีนอาจมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ซึ่งยังต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
- อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีน 2 กรัมร่วมกับ branched chain amino acids (BCAAs) สามครั้งต่อวันนาน 2 สัปดาห์จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ที่มีสุขภาพดีที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำได้
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (myotonic dystrophy) งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีน 100-150 mg/kg นาน 6 เดือนจะเพิ่มความสามารถในการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมได้
- การพักฟื้นหลังผ่าตัด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานทอรีนทุกวันนาน 7 วันไม่ได้ช่วยเพิ่มการฟื้นร่างกายหรือป้องกันการเสียชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักได้
- โรคจิต (Psychosis) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานทอรีนร่วมกับยาทางการแพทย์สำหรับโรคจิตสามารถลดบางอาการของผู้ใหญ่อายุน้อยที่มีภาวะนี้เป็นครั้งแรกได้
- นอนหลับไม่เพียงพอ งานวิจัยกล่าวว่าการทานทอรีนร่วมกับคาเฟอีน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยทอรีน, คาเฟอีน, และวิตามิน B (กระทิงแดง) จะช่วยลดความง่วงนอนและเพิ่มปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอได้
- ภาวะสุขภาพอื่น ๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของทอรีนเพิ่มเติม
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ทอรีนในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ทอรีนเพื่อความปลอดภัย
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder): มีข้อกังวลว่าการบริโภคทอรีนมากเกินไปอาจทำให้อาการของโรคอารมณ์สองขั้วมีมากขึ้นได้ โดยมีกรณีหนึ่งจากผู้ชายวัย 36 ปีที่มีการควบคุมโรคนี้อย่างดีต้องถูกนำส่งโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการมาเนีย (mania) ขึ้นมาหลังบริโภคเครื่องดื่มที่มีทอรีน, คาเฟอีน, อิโนซิทอล (inositol), และส่วนผสมอื่น ๆ (กระทิงแดง) นาน 4 วันติด แต่ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากทอรีนหรือส่วนผสมอื่น ๆ ของเครื่องดื่มชนิดนั้นกันแน่
การใช้ทอรีนร่วมกับยาชนิดอื่น
ใช้ทอรีนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นการทานแปะก๊วยร่วมกับยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น
คอยสังเกตอาการเมื่อต้องใช้ทอรีนร่วมกับยาเหล่านี้
- ลิเทียม (Lithium) ลิเทียมอาจมีผลคล้ายยาระบาย ดังนั้นการทานทอรีนอาจลดความสามารถในการกำจัดลิเทียมของร่างกายลงจนอาจทำให้มีลิเทียมตกค้างในร่างกายมากขึ้นจนส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงได้ ควรปรึกษาผู้ดูแลด้านสุขภาพของคุณหากคุณกำลังใช้ลิเทียมและต้องการทานทอรีนก่อน โดยอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณลิเทียมที่คุณใช้ตามความจำเป็น
แหล่งอาหารของทอรีน
ทอรีนเป็นสารที่ไม่พบในพืช แต่พบในสัตว์โดยเฉพาะพวกหอยต่างๆ สาหร่ายทะเลโดยเฉพาะสาหร่ายแดง เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมทั้งในแมลง จากการวิจัยพบว่าผู้ใหญ่ต้องการทอรีนวันละ 40-400 มิลลิกรัม ปริมาณของทอรีนจะลดลงอย่างมากเมื่อนำเนื้อสัตว์ไปปรุงอาหารด้วยการอบหรือการต้ม การต้มจะทำให้สูญเสียทอรีนมากกว่าการอบ โดยการต้มจะทำให้ทอรีนลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง