prenatal care visit schedule disease definition scaled

ฝากครรภ์แต่ละไตรมาส คุณแม่ต้องตรวจอะไรบ้าง

เมื่อรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่คงมีหลายความรู้สึกปนเปกัน ทั้งดีใจ ตื่นเต้น และกังวลใจ สิ่งสำคัญอย่างแรกที่ไม่ควรลืมคือ คุณแม่ควรเข้ารับการฝากครรภ์ทันทีที่มีข่าวดี ยิ่งฝากครรภ์เร็วเท่าไร ยิ่งดีต่อการตั้งครรภ์มากเท่านั้น

การฝากครรภ์จะช่วยให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นไปอย่างราบรื่นจนถึงวันคลอด และยังช่วยป้องกันหรือรักษาความผิดปกติที่อาจเกิดระหว่างตั้งครรภ์ได้ทันอย่างท่วงทีด้วย ไปดูกันว่าฝากครรภ์แต่ครั้ง คุณแม่ต้องตรวจอะไรกันบ้าง

ฝากครรภ์แต่ละไตรมาส ตรวจอะไรบ้าง

การฝากครรภ์พื้นฐานตลอดการตั้งครรภ์มักจะประกอบด้วย (1) การสอบถามประวัติ (2) การตรวจร่างกายและการตรวจสุขภาพครรภ์ (3) การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจแล็บ (4) การประเมินสุขภาพโดยรวม เพื่อตรวจคัดกรอง รักษา และป้องกันโรค 

การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมเวลาตั้งครรภ์เป็น 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน) โดยแต่ละไตรมาสจะมีการตรวจดังนี้

การฝากครรภ์ไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่ 1 (อายุครรภ์ 014 สัปดาห์)

  • การสอบถามประวัติอย่างละเอียด เพื่อค้นหาโรคที่ซ่อนเร้นของคุณแม่ และความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ กรณีคุณแม่มีโรคประจำตัว คุณหมอจะให้คำปรึกษาและวางแผนการดูแลครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์
  • การตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) วัดสัญญานชีพ (ประกอบด้วยชีพจร ความดันโลหิต การหายใจ อุณหภูมิกาย) และตรวจหน้าท้อง เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของครรภ์
  • การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันฟันผุขณะตั้งครรภ์ ที่อาจส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย และภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ ประเมินอายุครรภ์ กำหนดวันคลอด ตรวจตำแหน่งของการตั้งครรภ์ พัฒนาการของทารก ภาวะครรภ์ผิดปกติ และตรวจความผิดปกติของโครโมโซม และคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรมด้วยการประเมินความหนาของถุงน้ำหลังคอทารก (Nuchal translucency) 
  • การตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก
  • การตรวจคัดกรองความผิดปกติโครโมโซมผิดของทารกในครรภ์ หรือการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ปัจจุบันมีหลายวิธีที่ตรวจได้ในไตรมาสแรก เช่น การตรวจ NIPT หรือการตรวจค่าสารชีวเคมีในเลือดคุณแม่
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อคัดกรองการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ 
  • การตรวจเลือด (เฉพาะการฝากครรภ์ครั้งที่ 1) เพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือด หมู่เลือด คัดกรองโรคติดเชื้อต่าง ๆ และตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในรายที่เสี่ยง 
  • ตรวจประเมินสุขภาพจิตและสภาพอารมณ์ เช่น อาการซึมเศร้า ความเครียด ความพร้อมของอารมณ์และจิตใจในการตั้งครรภ์ และความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย 
  • การให้ยาบำรุงครรภ์ เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และแคลเซียม รวมถึงวิตามินในรายที่จำป็น อย่างสังกะสีหรือซิงค์

นอกจากตัวคุณแม่เองแล้ว คุณพ่อเองควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พร้อมกับคุณแม่ในการมาฝากครรภ์ครั้งแรกด้วย ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละคน

การฝากครรภ์ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 1528 สัปดาห์) 

การตรวจจะคล้ายกับไตรมาสแรก คุณหมอจะให้คำปรึกษา ตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ตรวจดูเพศทารกและพัฒนาการเจริญเติบโต

  • การสอบถามประวัติและอาการต่าง ๆ เช่น อาการเจ็บครรภ์ การดิ้นของลูก ประวัติการมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ประวัติน้ำเดิน หรืออาการที่บ่งถึงภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • การตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) วัดสัญญานชีพ (ประกอบด้วยชีพจร ความดันโลหิต การหายใจ อุณหภูมิกาย)
  • การตรวจขนาดยอดมดลูก เป็นการตรวจบริเวณหน้าท้อง เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารก ฟังเสียงอัตราการเต้นของหัวใจทารก และคลำดูท่าทางของทารกในครรภ์
  • การตรวจเลือด เพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 24–28 สัปดาห์ ยกเว้นคุณแม่กลุ่มเสี่ยงจะให้คัดกรองตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรก (การตรวจเลือดจะไม่ได้ตรวจทุกครั้งในไตรมาสที่สอง)
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คัดกรองการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • การตรวจคัดกรองความผิดปกติโครโมโซมผิดของทารกในครรภ์ หรือการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยการเจาะน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ 16–20 สัปดาห์  สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้ตรวจในไตรมาสแรกหรือมีความเสี่ยง 
  • การตรวจอัลตราซาวด์ ในช่วงอายุครรภ์ 18–22 สัปดาห์ เพื่อดูเพศของทารก พัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ความพิการของทารก และวัดความยาวปากมดลูก เพื่อคัดกรองความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด 
  • การให้ยาบำรุงครรภ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟลิก แคลเซียม และวิตามินที่จำเป็น
  • การฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรค ขึ้นอยู่กับประวัติการได้รับวัคซีนของคุณแม่ โดยวัคซีนที่ควรได้รับ เช่น บาดทะยัก คอตีบ ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน และวัคซีนโควิด19 

การฝากครรภ์ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 29 สัปดาห์เป็นต้นไป)

การตรวจจะคล้ายกับไตรมาสก่อน ๆ โดยจุดประสงค์เพื่อวางแผนการคลอด การสังเกตอาการนำก่อนคลอด การดูแลสุขภาพตัวคุณแม่เอง ทั้งก่อนและหลังคลอด 

  • การตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) วัดสัญญานชีพ (ประกอบด้วยชีพจร ความดันโลหิต การหายใจ อุณหภูมิกาย)
  • การตรวจอัลตราซาวด์ ในช่วงอายุครรภ์ 32–36 สัปดาห์ เพื่อประเมินน้ำหนักตัว ปริมาณน้ำคร่ำ ตรวจดูการเจริญเติบโตและท่าของทารก ตรวจหาภาวะรกเกาะต่ำ หรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ 
  • การตรวจขนาดยอดมดลูก เป็นการตรวจบริเวณหน้าท้อง เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารก ฟังเสียงอัตราการเต้นของหัวใจทารก และคลำดูท่าทางของทารกในครรภ์
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินภาวะโลหิตจาง ดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อย่างการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และซิฟิลิส และโรคติดเชื้ออื่น ๆ (การตรวจเลือดจะไม่ได้ตรวจทุกครั้งในไตรมาสที่สอง)
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อคัดกรองภาวะโปรตีนและน้ำตาลรั่ว
  • การให้ยาบำรุงครรภ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟลิก แคลเซียม และวิตามินที่จำเป็น
  • การฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรค ขึ้นอยู่กับประวัติการได้รับวัคซีนของคุณแม่ในอดีต 
  • การเตรียมตัวก่อนคลอด คุณหมอจะพูดคุยกับคุณแม่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการคลอด พร้อมให้คำแนะนำต่าง ๆ เช่น การสังเกตอาการใกล้คลอด สอนนับการดิ้นของทารกในครรภ์ การคุมกำเนิดหลังคลอด
  • การประเมินความพร้อมของร่างกาย เพื่อเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับทั้งคุณแม่และลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดแบบธรรมชาติหรือการผ่าคลอด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

ภายหลังการตรวจในแต่ละครั้ง ของทุกไตรมาส จนกว่าคุณแม่จะคลอด คุณหมอจะบันทึกข้อมูลการฝากครรภ์และผลการตรวจลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดฝากครรภ์หรือสมุดชมพู) และเวชระเบียนของสถานพยาบาล ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการฝากครรภ์

เมื่อฝากครรภ์แล้ว ต้องไปตรวจบ่อยแค่ไหน 

ส่วนใหญ่คุณแม่ต้องมาตรวจครรภ์เฉลี่ย 1012 ครั้งตลอดการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่มีโรคประจำตัวหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์อาจต้องมาพบกับคุณหมอมากกว่านั้น 

โดยความถี่ในการฝากครรภ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 1835 ปี มีดังนี้

  • อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ นัดหมายทุก ๆ 4 สัปดาห์
  • อายุครรภ์ระหว่าง 2832 สัปดาห์ นัดหมายทุก ๆ 23 สัปดาห์
  • อายุครรภ์ระหว่าง 3240 สัปดาห์ นัดหมายทุก ๆ สัปดาห์

ทั้งนี้ ความถี่หรือจำนวนครั้งที่คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอในแต่ละสัปดาห์ อาจยืดหยุ่นตามความเหมาะสม โดยคุณหมอจะช่วยกำหนดระยะเวลาและช่วงเวลาที่เหมาะสมให้อีกครั้ง

สำหรับการไปตรวจครรภ์น้อยกว่านั้นก็อาจเป็นไปได้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า 8 ครั้งตลอดการตั้งครรภ์ ตามที่องค์การอนามัยโลกและกรมอนามัยแนะนำ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์

สุขภาพของลูกน้อยที่ดี เริ่มได้ตั้งแต่ในครรภ์ เลือกฝากครรภ์กับรพ. และคลินิกที่คุณแม่เชื่อใจ เช็กแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร คลอดเหมาจ่าย จองกับ HDmall.co.th มีราคาโปรให้ด้วยนะ 

Scroll to Top