cope runny nose scaled

7 วิธีช่วยรับมือกับอาการน้ำมูกไหลที่ใครๆ ก็ทำได้

เราสามารถพบอาการน้ำมูกไหลหรือคัดจมูกได้ทั่วไป เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมรุกล้ำเข้ามาในโพรงจมูก ร่างกายจะหลั่งเมือกออกมาเพื่อกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป แม้ว่าการมีน้ำมูกไหลไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย แต่ทำให้คุณรู้สึกรำคาญหรือเหนื่อยหน่ายกับการต้องสั่งน้ำมูกบ่อยๆ นอกจากใช้วิธีแก้น้ำมูกไหลการทานยาแล้ว คุณสามารถบรรเทาอาการน้ำมูกใส ไหลไม่หยุด ด้วยตัวเองด้วยของใกล้ตัวหรือไม่ใช้ยาโดยใช้วิธีดังนี้

1. ล้างจมูก

การใช้น้ำเกลือล้างโพรงจมูกคือหนึ่งในวิธีที่ง่ายและถูกที่สุดที่จะช่วยทำให้น้ำมูกหยุดไหล มีงานวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่ใช้น้ำเกลือในระหว่างที่เป็นหวัดมีอาการต่างๆ น้อยลง ซึ่งประกอบไปด้วย การมีน้ำมูกไหล เจ็บคอ และภาวะคัดแน่นจมูก รวมถึงใช้ยาที่ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งน้อยลง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเกลือมีสารต้านแบคทีเรียและสารต้านการอักเสบที่สามารถฆ่าจุลชีพที่ทำให้น้ำมูกไหล สำหรับวิธีใช้คือ ให้คุณผสมเกลือทะเล 1/2 ช้อนชา และน้ำอุ่น 2 แก้ว จนกระทั่งเกลือละลาย จากนั้นให้คุณหยดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก แล้วเอนศีรษะไปด้านหลังพร้อมกับหายใจช้าๆ และสั่งน้ำมูก โดยให้คุณทำเช่นนี้หลายครั้งต่อวันจนกว่าน้ำมูกจะลดลง

2. ใช้ไอน้ำ

การสูดไอน้ำสามารถช่วยสลายและกำจัดน้ำมูกส่วนเกินในทางเดินหายใจได้ การใส่น้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างไทม์ เปปเปอร์มิ้นต์ หรือยูคาลิปตัส สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เป็นหวัดไปพร้อมกับช่วยกำจัดน้ำมูก ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดที่มีสารประกอบอย่างเมนทอลและไทมอล ซึ่งช่วยลดอาการคัดจมูก สำหรับวิธีทำก็ไม่ยาก ให้คุณต้มน้ำ 1 หรือ 2 แก้ว ในหม้อจนกระทั่งมันเริ่มกลายเป็นไอ ใส่น้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มิ้นต์ น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส หรือน้ำมันหอมระเหยไทม์ลงไปหลายหยด จากนั้นให้คุณนำผ้าขนหนูมาห่อศีรษะ และยื่นหน้าไปตรงที่มีไอน้ำและสูดไอน้ำเข้าไปลึกๆ โดยให้ทำเช่นนี้ 7-10 นาที แล้วค่อยสั่งน้ำมูก โดยให้คุณทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน

3. เครื่องดื่มร้อน

การดื่มน้ำร้อนสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคหวัดอย่างการมีน้ำมูกไหล มีหลายงานวิจัยพบว่า เครื่องดื่มร้อนสามารถช่วยบรรเทาหลายอาการได้ในทันที นักวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะความสามารถของน้ำร้อนที่ช่วยล้างและสลายน้ำมูกส่วนเกิน ทั้งนี้การเติมเลมอน หรือคาโมมายล์ลงในน้ำร้อนเพิ่มเติมจะช่วยให้คุณได้รับสารต้านแบคทีเรียและสารต้านการอักเสบ

4. ขิง

ขิงถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคหวัดมานานกว่าหลายพันปี ซึ่งมีงานวิจัยสมัยใหม่ได้สนับสนุนคำกล่าวอ้างจากคนโบราณที่บอกว่าขิงเป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคหวัดได้อย่างมีประสิทธิผล ขิงสามารถยับยั้งไม่ให้ไวรัสเกาะติดกับเซลล์ ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้ร่างกายแสดงอาการอย่างการมีน้ำมูกไหล อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีทานขิง งานวิจัยระบุว่า วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ดีที่สุดคือ การทานขิงแบบสด หากคุณไม่สามารถทนกลิ่นขณะเคี้ยวขิงสด ให้คุณทานคู่กับน้ำผึ้ง หรือนำไปขูดใส่ในอาหารก็ได้ค่ะ นอกจากนี้คุณอาจทานในรูปแบบของชา โดยให้คุณแช่ขิงที่หั่นแล้วในน้ำร้อน 10 นาทีก่อนดื่ม

5. กระเทียม

กระเทียมถูกยกให้เป็นดาวเด่นเมื่อพูดถึงการกำจัดเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการน้ำมูกไหล สมุนไพรชนิดนี้มีสารประกอบที่ชื่อว่า อัลลิซิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและไวรัส ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองที่ทานกระเทียมเป็นหวัดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ทาน อีกทั้งยังหายจากหวัดเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม คุณสามารถรับมือกับอาการน้ำมูกไหลโดยทานกระเทียมวันละ 1 กลีบทุกวัน นอกจากจะทานแบบดิบแล้ว คุณก็อาจใส่กระเทียมในอาหาร หรือทานในรูปแบบของแคปซูลก็ได้ค่ะ

6. รากชะเอมเทศ

รากชะเอมเทศมีสารประกอบชื่อว่า Glycyrrhizin ซึ่งสามารถช่วยกำจัดเมือกส่วนเกิน ทำให้ระยะเวลาที่คุณมีน้ำมูกสั้นลง นอกจากนี้รากชะเอมเทศยังมีสรรพคุณช่วยต้านไวรัสและแบคทีเรีย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน คุณสามารถทานรากชะเอมเทศในรูปแบบของชาหรือแคปซูล

7. น้ำมันมัสตาร์ด

ในทางการแพทย์อายุรเวท น้ำมันมัสตาร์ดเป็นน้ำมันที่ถูกนำมาใช้รักษาไซนัสโดยช่วยกำจัดเมือก ซึ่งมีงานวิจัยพบว่า น้ำมันมัสตาร์ดมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทรงพลังที่สามารถกำจัดเชื้อโรคที่มีความทนทานมากที่สุดอย่าง E.coli ทั้งนี้คุณสามารถใช้น้ำมันมัสตาร์ดโดยนำน้ำมันไปต้มจนกระทั่งน้ำมันอุ่น แล้วให้คุณหยดน้ำมันเข้าไปในรูจมูกแต่ละข้างโดยที่ศีรษะเอนไปข้างหลัง ปล่อยทิ้งไว้สักครู่แล้วค่อยสั่งน้ำมูก ให้คุณทำเช่นนี้วันละ 1-2 ครั้งต่อวัน

เราสามารถบรรเทาปัญหาน้ำมูกไหลโดยใช้วัตถุดิบในครัวหรือของใช้ที่สามารถหาได้ในบ้าน วิธีแก้น้ำมูกไหลเป็นน้ำใสๆ ไม่หยุดจึงไม่ใช่เรื่องยาก ที่สำคัญนอกจากการใช้วิธีเหล่านี้แล้ว คุณควรเพิ่มการดื่มน้ำเพื่อที่ร่างกายจะได้ขับน้ำมูกส่วนเกินออกมาได้เร็วขึ้น ช่วยบรรเทาอาการอย่างเป็นธรรมชาติ


ที่มาของข้อมูล

Scroll to Top