รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

รู้จักอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยๆ

อุปกรณ์ทางการแพทย์หลายชนิดช่วยให้แพทย์ตรวจวัดสุขภาพผู้ป่วยได้หลายๆ อย่าง ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ได้ผลการวินิจฉัยโรคมา แพทย์จึงจะสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้

เราอาจจะเคยเห็นอุปกรณ์ทางการแพทย์จะใช้ทั้งในห้องตรวจผู้ป่วยนอกทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วย และหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) อาจสงสัยว่า อุปกรณ์เหล่านี้เรียกว่าอะไร มีหน้าที่ หรือมีบทบาทความสำคัญอย่างไร

หูฟัง (Stethoscopes)

หูฟังน่าจะเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่รู้จักกันดีที่สุด ซึ่งใช้ฟังเสียงหัวใจ เสียงปอด แม้แต่เสียงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ

บทบาทหน้าที่ในการวินิจฉัย

  • ปอดอักเสบติดเชื้อ
  • หลอดลมอักเสบ
  • อาการใจสั่น
  • โรคหัวใจ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ

หูฟังยังใช้ร่วมกับเครื่องวัดความดัน (sphygmomanometer) เพื่อวัดความดันโลหิตอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี “หูฟังแบบใช้ไฟฟ้า” ที่อยากแนะนำให้รู้จัก

หูฟังแบบใช้ไฟฟ้า (electronic stethoscopes) 

พัฒนาคุณภาพของเสียงเมื่อฟังเสียงโทนต่ำของเสียงหัวใจ หรือเสียงโทนสูงของปอด โดยอาจถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกเก็บเสียงไว้

เสียงที่ว่าอาจถูกส่งให้คนหลายๆ คนได้ฟัง หรือส่งไปยังหูฟังอื่นที่เชื่อมต่ออยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการฝึกฝนของแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

เครื่องวัดความดัน (Sphygmomanometer)

มีหลักฐานการศึกษาทางการแพทย์ที่พิสูจน์แล้วว่า การวัดความดันโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพโดยรวมของคนๆ หนึ่ง

บทบาทหน้าที่ในการวินิจฉัย

นอกจากนี้ระดับความดันโลหิตสูงยังเกี่ยวข้องกับหลายๆ โรคด้วย

อุปกรณ์ที่ใช้วัดความดันโลหิตมีหลายชนิด ได้แก่

  • เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดวัดด้วยมือ (manual sphygmomanometer) เชื่อถือได้มากที่สุด เครื่องวัดความดันชนิดใช้ปรอทไม่จำเป็นต้องทำการปรับให้เที่ยงตรงเป็นประจำ จึงใช้ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง
  • เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด (aneroid sphygmomanometer) มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากอาจเสียความเที่ยงตรงไปได้เมื่อตกกระแทกซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยในการทำงาน เครื่องชนิดนี้จึงมีที่หุ้มป้องกันจะช่วยลดโอกาสการเสียหายจากการตกได้ แต่เพื่อให้แน่ใจก็ควรตรวจสอบความเที่ยงตรงด้วย โดยเครื่องวัดความดันชนิดขดลวดจะขึ้นตัวเลขค่าความดันให้อ่านได้และมีลูกยางที่มีลิ้นกั้นอากาศ
  • เครื่องวัดความดันจากนิ้วมือชนิดดิจิตอล (Digital finger blood pressure monitor) เป็นเครื่องวัดความดันที่เล็กที่สุดและพกพาง่ายที่สุด ซึ่งแม้จะใช้งานได้ง่าย แต่ความแม่นยำก็อาจน้อยกว่าชนิดอื่นๆ
  • เครื่องวัดความดันชนิดดิจิตอล (Digital sphygmomanometer) เป็นอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์เช่นเดียวกับเครื่องวัดความดันจากนิ้วมือชนิดดิจิตอล ซึ่งสามารถทำให้ปลอกแขนวัดความดันขยายใหญ่ขึ้นได้ทั้งจากการบีบมือ หรือโดยอัตโนมัติ เครื่องชนิดนี้ใช้งานง่าย แต่ไม่ได้วัดความดันโลหิตออกมาโดยตรง ตัวเลขที่วัดได้หมายถึงความดันของเส้นเลือดแดง (Arterial pressure) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของความดัน Systolic และความดัน Diastolic

เครื่องมือวัดความดันชนิดดิจิตอลจะเป็นประโยชน์ในสถานที่ที่มีเสียงดังซึ่งเครื่องมือวัดความดันชนิดวัดมือจะด้อยประสิทธิภาพ เนื่องจากแพทย์จะต้องคอยฟังเสียง Korotkoff sound ในการวัดความดันโลหิตแบบวัดมือ

เครื่อง Ophthalmoscopes

เครื่องมือนี้ถือด้วยมือได้และทำให้แพทย์สามารถส่องดูจอตาของผู้ป่วยได้ เครื่องมือชนิดนี้มักใช้ในการตรวจสำหรับผู้ป่วยนอก

บทบาทหน้าที่ในการวินิจฉัย

อุปกรณ์ที่ใช้ส่องดูตาผู้ป่วยมีหลายชนิด ได้แก่

  • Direct ophthalmoscopes จะให้ภาพหัวตั้งที่มีกำลังขยายประมาณ 15 เท่า โดยเครื่องมือนี้จะถูกถือให้อยู่ชิดตาของผู้ป่วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • Indirect ophthalmoscpoes จะให้ภาพหัวกลับที่มีกำลังขยาย 2-5 เท่า โดยจะอยู่ห่างจากตาของผู้ป่วย 24-30 นิ้ว และแสงที่ใช้ส่องก็แรงกว่า ทำให้ตรวจผู้ป่วยต้อกระจกได้มีประสิทธิภาพมากกว่า Direct ophthalmoscopes

เครื่องตรวจหู Otoscopes 

Otoscopes เป็นอุปกรณ์ถือด้วยมือที่ทำให้แพทย์สามารถตรวจดูในรูหูของผู้ป่วย และตรวจดูเยื่อแก้วหูผ่านทางเลนส์ขยายได้

บทบาทหน้าที่ในการวินิจฉัย

  • การติดเชื้อของหู
  • โรคเสียงดังในหู (Tinnitus) คือ มีเสียงวิ้ง ๆ ในหู
  • สาเหตุของอาการบ้านหมุน หรือเวียนศีรษะ
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)
  • การอักเสบของหูชั้นนอก (Otitis externa)

ส่วนหัวของ Otoscope จะมีไฟส่องอยู่ ไฟและเลนส์ขยายจะช่วยให้เห็นหูชั้นนอกและหูชั้นกลางได้ ส่วนที่แพทย์สอดเข้าไปในรูหูเรียกว่า “Speculum” ชนิดใช้แล้วทิ้ง ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายจะได้ใช้ Speculum อันใหม่ทุกครั้ง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiographs)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจการทำงานทางไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่งสามารถบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและความสม่ำเสมอได้ในระหว่างการตรวจ โดยทั้งคู่จะบ่งบอกถึงปัญหาในหัวใจได้

แพทย์สามารถอ่านผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยบอกได้ว่า ขนาดและตำแหน่งของห้องหัวใจเป็นอย่างไรบ้าง

การใช้งานที่สำคัญที่สุดของการตรวจนี้คือ การวินิจฉัยความเสียหายที่มีต่อหัวใจ และประสิทธิผลของการรักษาด้วยยา หรือการใส่อุปกรณ์

ปรอทวัดอุณหภูมิ (Thermometer)

ปรอทวัดอุณหภูมิจะใช้ในทุกระดับการรักษาตั้งแต่การตรวจร่างกายโดยทั่วไปจนถึงในแผนกฉุกเฉิน

ปัจจุบันมีปรอทวัดอุณหภูมิชนิดอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดระยะเวลาในการวัดอุณหภูมิลง ปรอทชนิดอิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถใช้กับร่างกายส่วนใดก็ได้ เช่น ในปาก รักแร้ ทวาร หรือในหู

บางครั้งเราอาจสงสัยว่า แพทย์ใช้อุปกรณ์การแพทย์อะไรในการวินิจฉัยโรคให้เรา อุปกรณ์การแพทย์นั้นสำคัญอย่างไร

หลังจากได้รู้จักอุปกรณ์ชิ้นสำคัญๆ แล้ว คราวนี้เราจะได้เรียนรู้อาการเบื้องต้นของเราได้ไปพร้อมๆ การตรวจของแพทย์เลย หรือหากมีข้อสงสัยอะไร เมื่อแพทย์ตรวจก็อาจซักถามแพทย์โดยตรงก็ได้

นอกจากนี้เรายังอาจหาซื้ออุปกรณ์การแพทย์พื้นฐาน เช่น ปรอทวัดอุณหภูมิมาใช้งานเองที่บ้านได้อย่างถูกวิธี เพื่อสอดส่องสุขภาพของเราเอง หรือบุคคลในบ้าน


ตรวจสอบความถูกต้องโดย พญ. วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

Scroll to Top