fatty liver disease myths disease misunderstanding scaled

5 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับเป็นโรคอันตรายที่จะค่อย ๆ ทำลายตับ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ และเป็นโรคพบบ่อยในคนไทยอีกโรค แต่หลายคนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้อยู่ วันนี้ HDmall รวบรวมเรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับไขมันพอกตับมาฝาก ข้อเท็จจริงเป็นยังไง มาทำความเข้าใจโรคนี้ให้มากขึ้นกัน!

1.ไขมันพอกตับไม่มีอาการ

โรคไขมันพอกตับจะเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ระยะแรกแทบไม่มีอาการ ทำให้ไม่รู้ว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่ โดยคนไทยราว 25-30% เป็นโรคไขมันพอกตับโดยไม่รู้ตัว หรือบางคนเจอโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพหรือตรวจโรคอื่น ๆ ส่วนอาการของโรคนั้นมักจะเกิดเมื่อเป็นรุนแรงแล้ว เช่น อ่อนเพลียง่าย คลื่นไส้ จุกแน่นใต้ชายโครงขวาหรือลิ้นปี่ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ตัวเหลืองตาเหลือง คันตามผิวหนัง ท้องและขาบวม เกิดเส้นเลือดฝอยคล้ายใยแมงมุมที่ผิวหนัง ปัสสาวะสีเข้ม และอุจจาระซีด  

ถ้าไม่มีอาการ แล้วรู้ได้ยังไงว่าเราเป็นไขมันพอกตับ! คลิกอ่านเพิ่มเติม

2.ไขมันพอกตับไม่ดื่มเหล้าก็เป็นได้ 

คนส่วนมากมักเข้าใจว่าไขมันพอกตับเกิดได้การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แต่อีกสาเหตุที่พบได้บ่อยไม้แพ้กัน คือ การกินอาหารที่ให้พลังงานสูง โดยเฉพาะกลุ่มไขมัน แป้ง น้ำตาล ทำให้ไขมันส่วนเกินสะสมที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงตับด้วย เมื่อไขมันไปสะสมที่ตับเกินกว่า 5% ของน้ำหนักตับ ก็จะถือว่าเป็นโรคไขมันพอกตับได้แล้ว นอกจากการนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยทำให้เราเสี่ยงกับไขมันพอกตับได้เหมือนกัน เช่น   

  • มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป
  • มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง 
  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด ยากลุ่ม ยากลุ่มสเตียรอยด์ และยาเคมีบำบัด 

3.ไขมันพอกตับเกิดกับผู้สูงอายุ

ไขมันพอกตับไม่จำเป็นต้องเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ไม่ว่าเป็นวัย ก็มีโอกาสเกิดไขมันพอกตับได้ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงของโรค ส่วนมากโรคนี้จะเกิดกับผู้ใหญ่วัยกลางคนหรืออายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ก็รายงานพบเด็กน้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเป็นโรคตับแข็งได้ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับได้มากกว่าวัยรุ่นที่ไม่อ้วนเกือบ 20 เท่า 

4.คนผอมไม่เสี่ยงโรคไขมันพอกตับ

ไม่ใช่กลุ่มคนอ้วนเท่านั้นที่เสี่ยงกับโรคไขมันพอกตับ คนที่ผอมหรือมีน้ำหนักปกติก็เป็นโรคนี้ได้ เพราะปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับเกิดได้จากหลายอย่าง บางคนผอมแต่มีระดับไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง ผอมแต่เป็นความดันโลหิตสูง ผอมแต่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ผอมแต่มีพุงก็อาจทำให้ไขมันสะสมรอบเอวได้ น้ำหนักตัวหรือรูปร่างเลยไม่ได้ตัวบ่งบอกเพียงอย่างเดียวว่าคุณเสี่ยงกับไขมันพอกตับหรือไม่ 

5.ไขมันพอกตับเป็นแล้วไม่หาย รักษาไม่ได้ 

ไขมันพอกตับเป็นโรคที่ไม่มียาหรือวิธีรักษาโดยเฉพาะ แต่การปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการกินของทอด ฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว ของหวาน ผลไม้ที่มีความหวานมาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง 
  • ไม่ควรกินอาหารเสริมหรือยาโดยไม่จำเป็น 
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดไขมันส่วนเกิน
  • ถ้ามีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ควรดูแลและรักษาโรคให้อยู่ในภาวะปกติ
  • พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามอาการ

การดูแลสุขภาพตัวเองอย่างถูกวิธีจะช่วยให้โรคดีขึ้นได้ และคนที่เป็นไขมันพอกตับระยะแรกสามารถหายขาดได้ กลับกันถ้าปล่อยให้โรคให้ลุกลามจนเป็นตับอักเสบและตับแข็ง จะทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ ตับวาย มะเร็งตับ และอาจรุนแรงถึงเสียชีวิต  

ไขมันพอกตับเป็นโรคอันตรายที่มักไม่แสดงอาการ เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ยิ่งปล่อยไว้นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สุขภาพเกิดความเสียหายมากเท่านั้น การรู้จักกับโรคและตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการตรวจสุขภาพตับเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงจากไขมันพอกตับ และโรคตับอื่น ๆ ได้

มีปัจจัยเสี่ยงไขมันพอกตับอยู่รึเปล่าน๊า ลดความกังวลได้ก่อนด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง หาแพ็กเกจอัลตราซาวด์ดูไขมันพอกตับ และแพ็กเกจตรวจสุขภาพตับอื่น ๆ ได้ที่ HDmall.co.th จองง่าย ได้ราคาโปรและส่วนลดเพิ่มทุกครั้งที่จอง คลิกเลย  

Scroll to Top