astaxanthin scaled

Astaxanthin (แอสต้าแซนธิน)

Astaxanthin (แอสต้าแซนธิน) สารอาหารที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้จากอาหารตามธรรมชาติเท่านั้น ถือเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แต่มีในปริมาณสัดส่วนที่น้อยมาก อาจต้องกินอาหารทะเลเป็นกิโลกรัมถึงจะได้สารที่เพียงพอ หากต้องการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำ ควรทานแบบสำเร็จรูปจะควบคุมปริมาณสารอาหารชนิดนี้ได้

แอสต้าแซนธิน คืออะไร

แอสต้าแซนธินเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) พบ ในปลาแซลมอน เปลือกกุ้งปู และ Microalgae Haematococcus Pluvialis ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับสารชนิดนี้จากอาหารชนิดอื่น

แต่ปริมาณที่ได้จากธรรมชาติจะน้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสต้าแซนธินเพียง 1 มิลลิกรัม เท่านั้น

แอสต้าแซนธินจากธรรมชาติ มีจากหลายแหล่ง เช่น สาหร่ายสีแดง Microalgae Haematococcus Pluvialis จากประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นการสกัด ด้วยระบบปิด ปราศจากการปนเปื้อน ไม่ใช้สารเคมี ทำให้ได้แอสต้าแซนธินธรรมชาติบริสุทธิ์ 100% มีคุณภาพสูง มีปริมาณความเข้มข้นคงที่

ข้อดีของแอสต้าแซนธิน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว ชะลอความชรา ลดริ้วรอย
  • ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ
  • ช่วยบำรุงสายตาลดอาการเมื่อยล้าของสายตา
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร

โรคที่นิยมบำรุงด้วยแอสต้าแซนธิน

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • โรคพากินสัน (Parkinson’s disease)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูง
  • โรคตับ
  • โรคทางตา ได้แก่ ต้อกระจก (Cataract) และจุดภาพตาเสื่อมตามวัย (Macular degeneration) โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดกับเบาหวานสูง
  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)
  • โรคข้อต่อรูมาตอยด์อักเสบ (Rheumatoid arthritis)

ผู้ที่ควรทานแอสต้าแซนธิน

  • ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
  • ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
  • ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่น
  • ความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  • ผู้ที่ทำงานหนัก
  • ผู้ที่ต้องทํางานใช้สายตากับคอมพิวเตอร์นาน
  • นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ผู้ที่มีภาวะความเครียด
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารอักเสบ

ปริมาณของแอสต้าแซนธิน ต่อวัน

มีรายงานการวิจัยระบุว่า แนะนำให้รับประทานแอสต้าแซนธิน วันละ 2-12 มก. เป็นประจํา

หากมีข้อสงสัยด้านปริมาณที่ควรรับประทาน ควรสอบถามเภสัชกรที่ร้านขายยาหรือแพทย์ในโรงพยาบาล

ประโยชน์ของแอสต้าแซนธิน

สารต้านอนุมูลอิสระ

แอสต้าแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แอสต้าแซนธินมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งแตกต่างกับ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ที่แค่ช่วยปกป้องภายในหรือภายนอกของเยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น ดังนั้นแอสต้าแซนตินสามารถปกป้องเซลล์ได้ครอบคลุมมากกว่านั่นเอง

มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทําการศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ พบว่า แอสต้าแซนธินมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้แรงกว่าสารชนิดอื่น ดังนี้

  • วิตามิน ซี 6,000 เท่า
  • CoQ10 800 เท่า
  • วิตามิน อี 550 เท่า
  • Green tea catechins 550 เท่า
  • Alpha lipoic acid 75 เท่า
  • เบต้าแคโรทีน 40 เท่า
  • สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า

ชะลอความชรา ลดริ้วรอย

ริ้วรอยที่ปรากฏ เป็นผลสืบเนื่องจาก ผิวหนังชั้นในสุดถูกทําลาย เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความชรา ผิวหนังจะใช้เวลาในการสร้างเซลล์ผิวใหม่เพื่อทดแทนเซลล์ผิวที่ตายแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ ส่งผลให้ผิวหนังหม่นหมอง ไม่สดใส เกิดริ้วรอย แอสต้าแซนตินจะดักจับอนุมูลอิสระที่ผลิตออกมา จึงทำให้ผิวหนังสามารถเกิดกระบวนการสร้างใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้น ยืดหยุ่น ริ้วรอยลดลง และเกิดความสมดุลของเกราะกำบังผิว

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน

คนที่เป็นเบาหวานจะมีการสร้างอนุมูลอิสระปริมาณมาก เมื่ออนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น เชลล์ตับอ่อนที่สร้างอินซูลินถูกทําลายได้ง่าย ทําให้อินซูลินทำงานผิดปกติ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการศึกษาพบว่าแอสต้าแซนธินธรรมชาติ สามารถลดอนุมูลอิสระในเซลล์ตับอ่อนได้ จึงช่วยชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความไวต่อการทำงานของอินซูลินกับเซลล์ภายในร่างกายอีกด้วย

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อนุมูลอิสระสามารถทำลายเซลล์ของผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ ซึ่งแอสต้าแซนธินสามารถกำจัดและป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทําลายผนังหลอดเลือด จึงช่วยยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า แอสต้าแซนธินธรรมชาติ สามารถลดการเกิดออกซิเดชันของ LDL Cholesterol ลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันรวม และช่วยเพิ่ม HDL Cholesterol (ไขมันชนิดดีต่อสุขภาพ) ได้อีกด้วย

ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร

แอสต้าแซนธินธรรมชาติจะช่วย ลดการเกิดการอักเสบในทางเดินอาหาร อันเนื่องมาจากเชื้อ H.pyroli อันเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร และกระเพาะอาหารอักเสบ

ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อดวงตา

แอสต้าแซนตินจะต่อต้านการทำลายของอนุมูลอิสระ ที่ซึมผ่านเยื่อหุ้มเชลล์ที่กล้ามเนื้อตา ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงจอตา ช่วยให้กล้ามเนื้อที่ปรับย่อขยายเลนส์ตาแข็งแรงมากขึ้นและทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดความเมื่อยล้าจากการหดตัวของกล้ามเนื้อดวงตา

ช่วยเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ

จากผลการศึกษาโดยให้รับประทานแอสต้าแซนธิน ธรรมชาติ ขนาด 2-4 มก./วัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า แอสต้าแซนธินธรรมชาติช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น ช่วยเพิ่มระดับ ความทนทานของร่างกาย ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้นและอ่อนเพลียน้อยลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้แอสตาแซนธินรักษาได้หรือไม่

  • ภาวะสูญเสียการมองเห็นตามอายุ (age-related macular degeneration (AMD)) AMD เกิดจากเรตินาได้เสียหายไปบางส่วน โดยงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการกินอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน ลูทีน ซีอาแซนทีน วิตามินอี วิตามินซี สังกะสี และทองแดงจะช่วยลดความเสียหายที่ศูนย์กลางของเรตินาในผู้ป่วย AMD ได้ แต่จะไม่ช่วยหากความเสียหายนั้นเกิดขึ้นโดยรอบพื้นที่ของเรตินา
  • ภาวะการกดรัดเส้นประสาทมีเดียน (carpal tunnel syndrome) งานวิจัยกล่าวว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน ลูทีน บีตา-แคโรทีนและวิตามินเอ ไม่ได้ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือแต่อย่างใด
  • อาหารไม่ย่อย (dyspepsia) งานวิจัยพบว่าการกินแอสตาแซนธิน 40 mg ทุกวันจะลดอาการกรดไหลย้อนของผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยได้ อีกทั้งยังสามารถออกฤทธิ์ได้อย่างดีในผู้ป่วยภาวะอาหารไม่ย่อยจากการติดเชื้อ H. pylori แต่หากเป็นการกินขนาดต่ำ 16 mg ทุกวันจะไม่ช่วยให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น รวมถึงไม่ลดอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย หรือลดปริมาณแบคทีเรีย H. pylori ในกระเพาะอาหาร
  • กล้ามเนื้อเสียหายจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการกินแอสตาแซนธินต่อเนื่องนาน 90 วันไม่ได้ช่วยลดความเสียหายของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย (กลุ่มที่สังเกตคือนักฟุตบอลชาย)
  • ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน ลูทีน และน้ำมันดอกคำฝอย ไม่ได้ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย 4 วันแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับการกินน้ำมันดอกคำฝอยเพียงอย่างเดียว
  • ประสิทธิภาพการออกกำลังกาย งานวิจัยที่กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้แอสตาแซนธินกับศักยภาพการออกกำลังกายนั้นยังคงขัดแย้งกัน บางชิ้นกล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะลดเวลาที่นักกีฬาชายใช้ในการออกกำลังกายในแต่ละรอบลง แต่งานวิจัยชิ้นอื่นๆ กลับแสดงให้เห็นว่าแอสตาแซนธินไม่ได้ช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการออกกำลังกายของนักกีฬาลงแต่อย่างใด
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยกล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยลดระดับไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) และเพิ่มไขมันดี (HDL) งานวิจัยชิ้นอื่นๆ ได้กล่าวอีกว่าการกินแอสตาแซนธิน, เบอร์แบร์ริน (Berberine), โพลีโคซานอล (Policosanol), ข้าวยีสต์แดง, โคเอนไซม์คิว10 (coenzyme Q10) และกรดโฟลิก จะเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) และลดปริมาณคอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันไม่ดี (LDL) และลดไตรกลีเซอไรด์ของผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติลง
  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย งานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยเพิ่มอัตราการมีบุตรของผู้ชายที่มีปัญหามีบุตรยาก
  • อาการจากภาวะหมดประจำเดือน (Menopausal symptoms) งานวิจัยกล่าวว่าการกินผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน วิตามินดี3 ไลโคปีน (lycopene) และซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ (citrus bioflavonoids) ทุกวันจะช่วยลดอาการต่างๆ จากการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ปวดข้อต่อ อารมณ์แปรปรวน และปัญหาการขับถ่าย
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA)) งานวิจัยพบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแอสตาแซนธิน ลูทีน วิตามินเอ วิตามินอี และน้ำมันดอกคำฝอยจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์รู้สึกดีขึ้น
  • แดดเผา แอสตาแซนธินอาจช่วยลดความเสียหายบนผิวหนังจากแสงอาทิตย์ได้ โดยแอสตาแซนธินชนิดรับประทานจะใช้เวลา 9 สัปดาห์ในการลดอาการแดงและสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนังที่เกิดจากรังสียูวี
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น งานวิจัยพบว่าการกินแอสตาแซนธินจะช่วยดึงให้ผิวหนังเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดริ้วรอยบนผิวหนังของทั้งชายและหญิงวัยกลางคน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในผิวหนังอีกด้วย งานวิจัยอื่นๆ ยังได้แสดงให้เห็นว่าการกินแอสตาแซนธินพร้อมกับการทาครีมแอสตาแซนธินบนใบหน้า 2 ครั้งต่อวันจะช่วยลดริ้วรอยได้จริง
  • ภาวะอื่นๆ

ผลข้างเคียงของแอสตาแซนธิน

แอสตาแซนธินค่อนข้างปลอดภัยเพราะเป็นสารที่พบได้ในอาหาร เมื่อใช้เป็นอาหารเสริมในปริมาณ 4-40 mg ต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ หรือ 12 mg ทุกวันเป็นเวลา 6 เดือน

แอสตาแซนธินสามารถใช้ร่วมกับคาโรทีนอยด์ วิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ อย่างปลอดภัยที่ 4 mg ต่อวันเป็นเวลานาน 12 เดือน ส่วนผลข้างเคียงจากแอสตาแซนธินอาจมีทั้งทำให้ลำไส้ทำงานมากขึ้นและทำให้อุจจาระมีสีแดง อีกทั้งแอสตาแซนธินขนาดสูง ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้แอสตาแซนธินในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้แอสตาแซนธินเพื่อความปลอดภัย

การใช้แอสตาแซนธินร่วมกับยาชนิดอื่น ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มยาที่มีปฏิกิริยากับแอสตาแซนธิน

Scroll to Top