ตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

ตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

ถ้าเรามัวแต่จะรอให้ป่วยก่อนค่อยรักษา หากอาการไม่แสดงแล้วจะรู้ได้อย่างไรกว่าจะป่วย? หรือมัวแต่คิดว่า “ไปตรวจทำไมเปลืองตังค์!” “รู้ไปทำไมเครียดเปล่าๆ!” “ร่างกายได้มาฟรีแต่ทำไมไม่ดูแล!”

คำเหล่านี้ได้ยินมาบ่อยมากแต่ผ่านหูซ้ายก็ทะลุหูขวา ทั้งๆ ที่คนเราใช้ร่างกายในทุกวัน ๆ ตั้งแต่หัวจรดเท้า กลับไม่เคยดูแลมันเลย

แม๋มเจอปัญหากับอาการหงุดหงิด งุ่นง่าน อารมณ์ไม่ค่อยดี นอนไม่หลับ นอนหลับ ก็หลับไม่สนิท ตื่นมาก็รู้สึกไม่สดชื่น น้ำหนักขึ้นทั้งที่กินน้อย และอารมณ์ทางเพศลดต่ำลง เบื้องต้นเลยลองหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิด ซึ่งสาเหตุเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล เลยตัดสินใจหาแพ็กเกจตรวจวัดความสมดุลของฮอร์โมนเกี่ยวกับเพศหญิง

โชคดีมากที่ได้เจอข้อมูลการตรวจฮอร์โมนของทาง HDmall.co.th กับโครงการ HDreview จัดโปรโมชั่น ตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการสำหรับผู้หญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 จึงตัดสินใจโทรเข้าไปนัดหมายเพื่อทำการตรวจทันที เพราะที่นี่มีแผนกเวชศาสตร์ชะลอวัยโดยเฉพาะเลย และยังเดินทางสะดวก แพทย์และโรงพยาบาลมีความน่าเชื่อถือ

การเตรียมตัวก่อนรับบริการก็ไม่ยาก เจ้าหน้าที่จะโทรมาแจ้งให้งดอาหารก่อนเข้ารับบริการ 8 ชม. ส่วนน้ำดื่มได้นะคะ พอถึงวันที่ไปตรวจ สามารถเดินทางด้วย BTS ลงที่สถานีสนามเป้า โรงพยาบาลจะอยู่ตรงข้ามกับสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 พอดี

บรรยากาศของ โรงพยาบาลพญาไท 2

วันนี้แม๋มขับรถไปเอง ก็ลงทางด่วนมาเลี้ยวซ้ายจะเจอโรงพยาบาลเลย โดยโรงพยาบาลจะมีที่จอดรถ 2 อาคารให้เลือกได้อย่างสะดวก จากนั้นเข้าไปที่ตึก B ขึ้นไปชั้น 8 ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ “Premier Life Center” แจ้งว่าได้ทำการนัดไว้ตรวจไว้ (ก่อนไปสามารถทำประวัติผ่าน Call Center 1772 ได้เลยนะคะ)

ขั้นตอนการลงทะเบียนก่อนตรวจระดับฮอร์โมน เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากลงทะเบียนเสร็จ เจ้าหน้าที่จะเข้ามารับนัดและให้นั่งรอเพียงสักครู่ ก็เรียกเข้าไปให้วัดความดัน ชั่งน้ำหนักและส่วนสูง สอบถามข้อมูลส่วนตัวเบื้องต้น ต่อมาจะมีพี่พยาบาลเข้ามาทำการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจฮอร์โมนต่างๆ

รายการตรวจระดับฮอร์โมนหญิง 13 รายการ ที่ รพ.พญาไท 2

ทั้งหมด 13 รายการ ประกอบด้วย

  1. Consultations Anti – Aging Medicine
  2. ตรวจระดับฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH)
  3. ตรวจระดับฮอร์โมน Follicle Stimulating Homone (FSH)
  4. ตรวจระดับฮอร์โมน Estradiol (E2)
  5. ตรวจระดับฮอร์โมน Progesterone
  6. ตรวจความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating hormone-TSH)
  7. ตรวจความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (Free T3-FT3)
  8. ตรวจความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (FT4-Free T4)
  9. ตรวจระดับฮอร์โมน Dehydroepiandrosterone Sulphate (DHEA-S)
  10. ตรวจระดับฮอร์โมน IGF1
  11. ตรวจระดับฮอร์โมน IGFBP3
  12. Sex Hormone Binding Globulin
  13. ตรวจระดับอินซูลิน (Insulin)

ขั้นตอนการตรวจระดับฮอร์โมน เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

ขั้นตอนการตรวจระดับฮอร์โมน เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

การเจาะเลือดผ่านไปด้วยดี ไม่เจ็บเลยเพราะพี่พยาบาลจะคอยบอกทุกระยะ อุปกรณ์อื่นๆ ก็ดีมาก พี่พยาบาลอธิบายอย่างละเอียดทั้งขั้นตอนปฏิบัติตัวก่อนและหลังเจาะเลือด ช่วยให้คนไข้ไม่เกิดแผลซ้ำ (ปกติเป็นคนเขียวช้ำง่าย)

หลังจากนั้น พี่เจ้าหน้าที่ก็ให้นั่งรอเพื่อเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยห้องรับรองมีเครื่องนวดบริการด้วย (ชอบมากกกกก)

ผู้ใช้บริการตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

เมื่อได้เข้าไปพบกับคุณหมอ พ.ญ.กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี แม๋มได้เล่าปัญหาที่เจอกับตัวเอง เช่น รู้สึกว่านอนไม่เพียงพอ ตื่นเช้ามารู้สึกไม่ค่อยจะสดชื่น อาการนอนหลับไม่สนิท เหนื่อยง่าย อารมณ์ทางเพศลดลง ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทั้งกับตัวเองและคนใกล้ชิด

ขั้นตอนการตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

คุณหมอได้อธิบายว่าเมื่อคนเรามีอายุ 30 ปีขึ้นไป ปริมาณ Growth Hormone จะลดต่ำลง ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ แนะนำให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น นอนให้เป็นเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ และทำใจให้สบาย อย่าเครียดเรื่องงาน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ส่งผลต่อการผลิต Growth Hormone ของร่างกาย และอย่างแม๋มในวัยอายุ 34 ปีเป็นวัยของการเปลี่ยนแปลงทางด้านความมั่นคง การงาน ความรับผิดชอบ และภาระต่างๆ จึงทำให้มีความเครียดแฝงมาได้ค่ะ

ผู้ใช้บริการตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

ส่วนเรื่องของอารมณ์ทางเพศ คุณหมอแนะนำให้ตรวจฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testoseterone) เพิ่มด้วย เพราะแม้จะเป็นเพศหญิง แต่ก็เป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่ออารมณ์ทางเพศเช่นเดียวกัน หากน้อยกว่าเกณฑ์ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้

ตัวนี้ตรวจเพิ่มเติมจากโปรแกรม 13 รายการนะคะ เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เกิดและหาแนวทางแก้ไขได้อย่างตรงจุดต่อไป ทั้งนี้จะต้องมาดูผลเลือดอีกครั้งจะสามารถแสดงออกมาได้หมดว่ามีภาวะฮอโมนตัวไหนที่บกพร่องไปบ้างค่ะ

โดยรวมคุณหมอน่ารักและให้คำปรึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน สอบถามปัญหาอย่างละเอียดและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และยังแนะแนวทางแก้ไขป้องกันกับแม๋มได้อย่างละเอียดและชัดเจน รู้สึกดีมากๆ สรุปแล้วเราคุยกันประมาณ 40 นาทีได้ค่ะ

ผู้ใช้บริการตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการ เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากรับฟังคำปรึกษาจากคุณหมอเสร็จแล้วก็ทำการนัดวันฟังผลในสัปดาห์ถัดไปเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากผลของการตรวจต่อไป ถือเป็นการตรวจฮอร์โมนของผู้หญิงเป็นครั้งแรก

รู้สึกประทับใจมากๆ พี่ๆ เจ้าหน้าที่และพี่พยาบาลบริการดีเยี่ยม คุณหมอให้ข้อมูลได้อย่างเข้าใจง่ายและบอกแนวทางแก้ไขใครอยากชัดเจน ทำให้แม๋มรู้สึกมั่นใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะสามารถถูกแก้ไขได้

ก่อนกลับพี่เจ้าหน้าที่ยังมอบ Gift Voucher ไว้ใช้ทานอาหารภายใน รพ.ด้วยค่ะ

ฟังผลตรวจระดับฮอร์โมน 13 รายการสำหรับผู้หญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

มาถึงวันฟังผลกันแล้ว จากวันที่แม๋มไม่ยอมไปตรวจเพราะคิดว่าไม่เป็นอะไรเลย..จนวันที่เห็นผลตรวจก็ทำให้เครียด ตกใจ กังวลว่า เราปล่อยให้จิตใจและการใช้ชีวิตที่คิดว่าดีแล้วทำร้ายสุขภาพภายในขนาดนี้เลยหรอ เลยจะมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ นะคะ

ทั้งหมดนี้คือเป็นจริงๆ และคิดว่าคนอื่นอ่านแล้วก็คงคิดว่าตัวเองก็เป็น ก็ปกติไม่ใช่เหรอ? (ใช่ แม๋มก็คิดแบบนั้นมาก่อน แต่มันไม่ปกติค่ะ)

อย่างที่เคยเล่าไปว่าแม๋มเจอปัญหา หงุดหงิดง่าย เครียด (แบบไม่รู้ตัว) อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย หลงลืม สมองช้า ฟ้าไม่สดใส ร่างกายไม่อยากจะทำอะไร ขี้เกียจออกกำลังกาย อยากนอน Sex Activity ลดลง น้ำหนักขึ้นทั้งๆ ที่กินน้อยลงคุมอาหารแล้ว อยากของหวาน เค็ม ป่วยบ่อยภูมิคุ้มกันต่ำ

คุณหมอบอกว่าแม๋มมีอาการต่อมหมวกไตล้า ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่ถูกกระตุ้นโดยความเครียดเรื้อรัง โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม “โรคที่ถูกลืม” เนื่องจากภาวะนี้มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงที

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการตรวจสุขภาพทั่วไปไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยภาวะนี้ค่ะ

ฟังผลตรวจระดับฮอร์โมน เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

การวินิจฉัยภาวะต่อมหมวดไตล้า จะต้องวัดระดับของฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal Hormones) 2 ตัวที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด เจ้าฮอร์โมนสองตัวนี้คือ ฮอร์โมนแห่ง “ความเครียด”

ปัจจุบันการรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจึงมุ่งไปที่การปรับให้ฮอร์โมน 2 ตัวนี้อยู่ในระดับที่สมดุลค่ะ ซึ่งผลตรวจของแม๋มมีค่าไม่ปกติเลยสักตัว มีทั้งมากไปและน้อยไป

มาถึงวิธีแก้และวิธีดูแลที่คุณหมอแนะนำ สั้นมากแถมไม่ยากด้วย คุยกับคุณหมออยู่ 1 ชม.เพื่อปรับพฤติกรรมและความเข้าใจกัน ซึ่งคุณหมอก็รับฟังและช่วยหาทางออกจนลงตัวได้ค่ะ

  1. ออกกำลังกาย (อย่าอ่านแค่ผ่านไปเพราะมันสำคัญจริงๆๆๆ ตระหนักเถ๊อะ) หมอแนะนำให้คนอาการนี้เดินค่ะ (ถ้าหักโหมอาการจะแย่กว่าเดิม) โดยเริ่มเดินวันละ 20 นาที เดินแบบห้ามหยุด แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาและกิจกรรมอื่นๆ ตามที่ชอบ
  2. พักผ่อนสมอง ขอแบบโล่งๆ โปร่งๆ ไร้สภาวะตึงเครียดกดดัน 20 นาที ไม่ว่าจะเล่นโยคะ สวดมนต์ ฟังเพลง แต่จิตใจต้องจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นโดยไร้ความกังวลใดๆ ในโลกนี้เลย ถือเป็น Quality Time
  3. กินข้าวเช้าทุกวัน และนอนก่อน 4 ทุ่ม เพราะ Growth Hormone จะหลั่งในช่วงเวลา 22.00 – 02.00 น. (อยากให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ มันสำคัญมาก ไม่ใช่แค่เพิ่มความสูงแต่อย่างใด)

ในช่วงแรกคุณหมอให้กินวิตามินเสริมช่วยประมาณ 1-2 เดือน เช่น Fish Oil, Magnesium, Vit D3, DHEA, Q10 Indole 3 Carbinal (คำนวณ Dose สั่งผลิตเฉพาะรายบุคคลเลยนะคะ) เพื่อให้วิตามินช่วยร่างกายให้กลับมาสภาวะปกติได้เร็ว

ซึ่งระหว่างนี้ต้องทำตามที่แนะนำด้วย คุณหมอยืนยันและมั่นใจมากว่ากลับมาตรวจเลือดครั้งหน้า ปกติแน่นอน 100%

ฟังผลตรวจตรวจระดับฮอร์โมน เช็คความไม่สมดุลของฮอร์โมนหญิง ที่โรงพยาบาลพญาไท 2

สิ่งที่ได้รับจากการตรวจครั้งนี้คือ

  1. กลับบ้านมา หยิบรองเท้าผ้าใบ ปัดฝุ่นแล้วออกไปเดิน & ปั่นจักรยาน
  2. ได้รู้ว่าความเครียดมันคือตัวร้ายตัวจริงเสียงจริง
  3. ทบทวนและให้ความสำคัญกับสุขภาพอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
  4. คนที่รักเราคือคนที่ห่วงใยสุขภาพเรา ขอบคุณคุณ Nawanop ผู้สนับสนุน ผลักดัน จ่ายเงิน น่ารักที่สุด

การตรวจครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการดีๆ ของ HDreview และโรงพยาบาลพญาไท 2 ซึ่งเต็มใจและยินดีมากที่จะได้รีวิวเพื่อให้เพื่อนๆ ได้กลับมาเห็นความสำคัญของสุขภาพค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top