self check tooth decay treatment how to

เช็กฟันผุด้วยตัวเอง อาการแบบไหนฟันผุ รีบเช็กก่อนต้องถอน

ฟันผุเป็นปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย พบได้ทุกวัย แต่กว่าจะรู้ตัวว่าฟันผุก็ตอนมีอาการปวดฟันขึ้นมาแล้ว ยิ่งฟันผุรุนแรงก็ยิ่งรักษาได้ยาก เสียค่าใช้จ่ายสูง และมีโอกาสที่ต้องถอนฟันหลังการรักษาไปแล้ว วันนี้จะชวนทุกคนมาเช็กฟันผุด้วยตัวเองกัน จะได้รีบรักษาก่อนสูญเสียฟันแท้ไป

ฟันผุเกิดจากอะไร

ฟันผุเป็นผลมาจากกรดภายในช่องปากกัดกร่อนผิวเคลือบฟัน ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของฟัน และมีหน้าที่ปกป้องฟัน ทำให้ผิวเคลือบฟันเกิดหลุมขึ้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้เคลือบฟันจะยิ่งเสียหาย

ฟันถูกกักกร่อนลึงลงไปถึงเนื้อฟันและโพรงประสาทฟันมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเหงือกและฟัน ตั้งแต่อาการปวดฟัน เสียวฟัน มีกลิ่นปาก มีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร ไปจนถึงเป็นโรคเหงือก และการติดเชื้อรุนแรงได้เลยทีเดียว

ปกติแล้ว กรดภายในช่องปากจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเรากินอาหารเข้าไป ยิ่งถ้าฟันของเรามีคราบหินปูนเยอะ มีเชื้อแบคทีเรียเยอะ กินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลบ่อย ๆ แถมยังทำความสะอาดฟันได้ไม่ดีพอก็จะทำฟันผุได้ง่ายขึ้น

เช็กฟันผุด้วยตัวคุณเอง ฟันผุอยู่ระยะไหน

ฟันผุจะเป็นปัญหาช่องปากที่พบได้ทั่วไป แต่ไม่ควรละเลย เพราะจุดฟันผุเล็ก ๆ บนผิวเคลือบฟันของเรา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ 

ในเบื้องต้นอาจสังเกตสัญญาณของฟันผุได้ด้วยตัวเอง เรามาดูระยะของฟันผุในแต่ละระยะกัน

ฟันผุระยะที่ 1: ฟันสูญเสียแร่ธาตุ

ฟันของเราประกอบไปด้วยแร่ธาตุมากมาย ซึ่งกรดที่เกิดขึ้นภายในช่องปากสามารถสลายแร่ธาตุภายในฟันของเรา ทำให้ฟันอ่อนแอลง โดยมักจะพบรอยขาวขุ่น ๆ หรือฝ้าขาวคล้ายชอล์กบนผิวฟัน และยังไม่มีอาการเจ็บปวด

ฟันผุระยะที่ 2: ผิวเคลือบฟันผุ

ผิวเคลือบฟันทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะป้องกันเนื้อฟันที่อยู่ภายใน พอผิวเคลือบฟันผุจะเกิดโพรงหรือรูฟันผุเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ทำให้กรด เศษอาหาร และเชื้อโรคสามารถเข้าสู่โพรงนี้ และการแปรงฟันทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ทั่วถึง

ฟันผุระยะที่ 3: ฟันผุเป็นรูลึกถึงเนื้อฟัน

เนื้อฟันเป็นชั้นถัดลงมาจากเคลือบฟัน มีความเปราะบาง และมีเส้นประสาทอยู่มากมาย

หากรูฟันผุลุกลามเข้าสู่ชั้นเนื้อฟัน จะทำให้เกิดอาการเสียวฟัน โดยเฉพาะเมื่อกินของหวาน เย็นจัดหรือร้อนจัด และจุดฟันผุจะมีสีน้ำตาลเข้มมากขึ้น

ฟันผุระยะที่ 4: ฟันผุลุกลามลงโพรงประสาทฟัน

ถัดจากชั้นเนื้อฟันลงมาจะเป็นโพรงประสาทฟันที่เป็นประสาทรับความรู้สึก หากถึงระยะนี้จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน จะทำให้ปวดฟัน เคี้ยวไม่ได้ เหงือกบริเวณฟันซี่ที่ผุจะบวมแดง จุดฟันผุจะยิ่งเข้มขึ้นจนเป็นสีดำ

ฟันผุระยะที่ 5: ฟันเป็นหนอง

ถ้าปล่อยไว้นานจนเนื้อเยื่อในโพรงฟันเกิดการติดเชื้ออักเสบ หรือตายได้ และเชื้อสามารถลุกลามลงปลายรากฟันจนเกิดหนอง 

ทำให้เกิดอาการปวดฟัน อาการปวดอาจลามไปยังบริเวณกรามและใบหน้า ฟันโยก เคี้ยวไม่ได้ ใบหน้าบวม และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต 

ระยะนี้ควรได้รับการรักษาโดยเร็ว เพราะการติดเชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ทำให้เกิดการอักเสบตามมา อย่างโพรงจมูกอักเสบ ตาอักเสบ และอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้

หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ควรรีบไปตรวจกับทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากอื่น ๆ ตามมา และช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาได้ด้วย

ฟันผุปล่อยไว้นานเสี่ยงทะลุโพรงประสาท รักษายาก รักษานาน แถมค่าใช้จ่ายสูง มีฟันผุหรืออยากให้คุณหมอเช็กสภาพฟันให้ เจอก่อน อุดฟันก่อน คลิกดูโปรอุดฟันจากคลินิกทันตกรรมทั่วไทย 

ฟันผุรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

การรักษาฟันผุมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยทันตแพทย์จะประเมินสภาพฟันและแนะนำการรักษาที่เหมาะกับฟันแต่ละคนมากที่สุด 

การรักษาฟันผุทุกระยะ ทันตแพทย์จะต้องมีการเสริมฟลูออไรด์เข้มข้นให้กับผิวฟัน อาจจะเป็นรูปแบบของเจลหรือครีม เพื่อเสริมสร้างแร่ธาตุให้ฟันกลับมาแข็งแรง ก่อนจะรักษาตามปัญหาฟันแต่ละคน ดังนี้

การอุดฟัน

การอุดฟันเป็นวิธีรักษาฟันผุเบื้องต้น โดยทันตแพทย์จะใช้วัสดุทดแทนที่มีสีคล้ายฟันอุดลงไปบริเวณที่ฟันผุ เพื่อเติมเต็มเนื้อฟันและเคลือบฟันที่หายไป รวมถึงช่วยป้องกันเศษอาหาร และสิ่งสกปรกเข้าไปในโพรงที่ผุจนอาจทำให้ฟันผุรุนแรงขึ้น

อย่าปล่อยให้ฟันผุตัวร้ายลอยนวล เพราะอาจทำให้คุณต้องสูญเสียฟัน และความมั่นใจไปได้ เช็กแพ็กเกจอุดฟันในราคาอุ่นใจ สบายกระเป๋าได้ที่ HDmall.co.th คลิกเลย

การทำครอบฟัน

ครอบฟันจะใช้รักษาเมื่อฟันผุเข้าสู่เนื้อฟันแล้ว โดยทันตแพทย์จะกรอฟันส่วนที่ผุออก แล้วพิมพ์แบบจำลองของฟัน แล้วนำไปครอบลงไปบนฟันเดิม เพื่อทดแทนฟันส่วนที่ผุ และถูกกรอออกไป

การรักษารากฟัน

ฟันผุระยะรุนแรงและเกิดการติดเชื้อ ทันตแพทย์จะใช้การรักษารากฟัน ซึ่งจะมีตั้งแต่การนำส่วนที่ติดเชื้อออก การรักษารากฟันให้คงเดิมไว้ ไปจนถึงการทำรากฟันเทียม เพื่อทดแทนรากเดิม

การถอนฟัน

ฟันผุระยะรุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนฟันซี่นั้นออก โดยอาจทดแทนด้วยการทำสะพานฟันหรือการใส่ฟันปลอม เพื่อช่วยในการเคี้ยวอาหาร และความสวยงาม

การป้องกันฟันผุนั้นย่อมดีกว่าการรักษาภายหลัง จึงไม่ควรละเลยการดูแลช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ โดยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน และใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย 

และไม่ลืมไปตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ทุก 612 เดือน เพราะฟันและช่องปากมีซอกมุมต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ทั้งหมด ซึ่งจะป้องกันการเกิดคราบหินปูนที่ทำให้เกิดฟันผุ หรือเมื่อเจอฟันผุแล้วจะได้รักษาได้ระยะแรก

นานแค่ไหนแล้วที่ไม่เจอหมอฟัน ฟันผุระยะแรกมักไม่มีอาการ เช็กฟันผุหน่อยดีไหม เจอเมื่อไร อุดฟันได้ก่อน คลิกเลย อยากปรึกษาคุณหมอ หรือมองหาแพ็กเกจอุดฟัน ครอบฟัน รักษารากฟัน หรือถอนฟัน HDmall.co.th มีครบ ได้ราคาโปรเหมือนกันนะ คลิกที่นี่

Scroll to Top