ฝ่าเท้า เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ถูกใช้งานมากที่สุด และสามารถนำไปสู่การเกิด “ผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า” ลอกเป็นขุย ลอกเป็นแผ่น อย่างไรก็ตาม การมีผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าสามารถเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หรือปัญหาผิวเท้าที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ สำหรับคนที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าว วันนี้เรามาดูสาเหตุที่เป็นไปได้ของการเกิดผิวเท้าลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า รวมถึงวิธีการรักษา และการป้องกันว่า สามารถทำได้อย่างไรบ้าง
สารบัญ
สาเหตุของการเกิดผิวเท้าลอก
การเกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. โรคผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากรองเท้า
โรคผื่นแพ้สัมผัส เป็นโรคที่เกิดกับผิวหนังชั้นนอกซึ่งไปสัมผัสกับวัตถุบางอย่างแล้วเกิดความระคายเคือง
ดังนั้น รองเท้าบางคู่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอกได้ เพราะวัสดุบางชนิดของรองเท้าสามารถทำให้ผิวเท้าเกิดความระคายเคืองขึ้น และส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาแพ้จนตกสะเก็ด และลอกออก
โรคผื่นแพ้สัมผัสสามารถกระจายจากบริเวณหนึ่งไปสู่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ แม้โรคผื่นแพ้สัมผัสจะไม่ได้เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ด้วยการสัมผัสก็ตาม ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการดังต่อไปนี้
- เป็นแผลพุพอง
- รู้สึกคันเท้า
- เท้าแดง
- รู้สึกแสบร้อนที่ผิวเท้า
2. โรคน้ำกัดเท้า
โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า “Trichophyton” พบได้มากในบริเวณที่มีความชื้น เช่น ห้องล็อกเกอร์ ห้องอาบน้ำ หรือสระว่ายน้ำสาธารณะ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่อุ่นและชื้นเหล่านี้จะทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี นอกจากนี้ รองเท้าที่อุ่นและชื้นก็สามารถทำให้เชื้อราเติบโตได้เช่นกัน
เชื้อรา Trichophyton เป็นเชื้อราที่พบบ่อยในการทำให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยปกติเชื้อรานี้มักไม่ทำให้เกิดอันตราย
ทั้งนี้ โรคน้ำกัดเท้าสามารถเกิดขึ้นที่เท้าข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยการลอกระหว่างนิ้วเท้ามักเริ่มจากนิ้วที่เล็กก่อนที่จะแพร่กระจายออกไป และคนที่เป็นโรคน้ำกัดเท้าก็สามารถแพร่โรคไปสู่คนอื่นได้จากการสัมผัสโดยตรง หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อน
ตัวอย่างอาการของคนที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า
- ผิวแตก
- คันเท้า
- ผิวแดง
- ผิวแห้ง
3. โรคเท้าเปื่อย
โรคเท้าเปื่อยเกิดจากความเสียหายจากเส้นประสาท หลอดเลือด และผิวเท้า จนนำไปสู่การเกิดผิวลอกได้ จะเกิดขึ้นเมื่อเอาเท้าแช่น้ำ หรือแช่ความเย็นเป็นเวลานาน
โรคเท้าเปื่อยไม่ใช่โรคติดต่อที่แพร่กระจายด้วยการสัมผัส โดยอาการทั่วไปของคนที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ได้แก่
- รู้สึกคันเท้า
- เป็นเหน็บชาที่เท้า
- รู้สึกปวด
- มีแผลพุพอง
4. โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส
โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใสจะทำให้เกิดแผลพุพองที่ทำให้รู้สึกคันบริเวณที่เป็น เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า และฝ่าเท้า โดยเรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใสใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าโรคจะหายไปได้
โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใสมักพบได้ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20-40 ปี เชื่อมโยงกับโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และระดับของความเครียดที่สูง แต่โชคดีที่โรคชนิดนี้ไม่ใช่โรคที่ติดต่อ
อาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น
- ปวดเท้า
- เท้าแดง
- คันเท้า
5. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เกิดบริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิว เพราะแบคทีเรียบางชนิดสามารถเข้าไปในผิวผ่านรอยถลอกและรอยบาดได้ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อในชั้นผิวที่ลึกขึ้น เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของผิว แต่มักเกิดขึ้นที่ขาส่วนล่าง และสามารถแพร่กระจายไปสู่เท้า
อาการที่พบโดยทั่วไป ได้แก่
- เท้าบวม
- รู้สึกปวดเท้า
- ผิวอุ่น
- เท้าแดง
- มีแผลพุพอง
- เท้าลอก
การรักษาผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า ฝ่าเท้า
การรักษาภาวะผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากภาวะดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์ก็จะจ่ายยาปฏิชีวนะ สำหรับวิธีรักษาอื่นๆ มีดังต่อไปนี้
1. ใช้ยาทา
การใช้ครีม หรือออยท์เมนท์ (Ointment) ทาที่ผิวอาจช่วยให้อาการดีขึ้น หรือยาที่มีสารไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) อาจช่วยลดการอักเสบ และอาการคันได้เช่นกัน
ส่วนในกรณีที่เชื้อราทำให้เกิดการติดเชื้อ ผู้ป่วยก็ควรใช้ครีมต้านเชื้อรา โดยหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ครีมที่เข้มข้นจะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
2. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
หากโรคผื่นผิวหนังสัมผัสทำให้ผิวระหว่างฝ่าเท้าของคุณลอก ให้หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ด้วย การทาแบริเออร์ครีม (Barrier Cream) ซึ่งเป็นครีมสำหรับทาแผลกดทับอาจช่วยลดการเสียดสีจากรองเท้าได้ นอกจากนี้ควรระวังเรื่องวัสดุรองเท้าด้วย
3. การประคบเย็น
การประคบเย็นประมาณ 15-20 นาที ประมาณ 4 ครั้งต่อวัน สามารถลดอาการคัน และแสบร้อนได้
การป้องกันผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า
- เดินเท้าเปลือยเมื่อเป็นไปได้
- ใส่ถุงเท้าและรองเท้าให้เหมาะสม
- ใส่รองเท้าแตะเมื่ออยู่ในห้องล็อกเกอร์ หรือบริเวณสระว่ายน้ำ
- ใส่ถุงเท้าที่ทำจากผ้าที่ดูดความชื้น เพื่อช่วยลดความชื้นจากผิว
- รักษาเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
- ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ โดยถูซอกเล็บและซอกนิ้วทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่คับแน่น ทำให้เกิดการเสียดสี
- ไม่แบ่งปันรองเท้าและถุงเท้ากับคนอื่น
- ปล่อยให้รองเท้าแห้งก่อนใส่ครั้งต่อไป
ปกติแล้ว ผู้คนส่วนมากสามารถแก้ปัญหาผิวลอกที่เกิดระหว่างนิ้วเท้าได้เองที่บ้าน แต่ในบางครั้งคุณก็อาจต้องไปพบแพทย์ หากการรักษาเบื้องต้นไม่สำเร็จ หรือมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น
- ผิวระหว่างฝ่าเท้ากลายเป็นสีดำ
- มีริ้วสีแดงบนฝ่าเท้า
- เท้าอุ่น
- มีไข้
- ผื่นระหว่างฝ่าเท้าเริ่มมีของเหลวไหลออกมา
ฝ่าเท้า เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น ผิวระหว่างฝ่าเท้ากลายเป็นสีดำ เท้าอุ่น มีไข้ หรือมีริ้วสีแดงบนฝ่าเท้า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม