diabetic hypoglycemia disease definition

น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะอันตรายพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน รู้สาเหตุ อาการ วิธีรับมือ

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ป่วยเบาหวานว่าจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป แต่อันที่จริงต้องไม่ต่ำจนเกินไปด้วย เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำหรือที่เรียกกันว่าน้ำตาลตก 

ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข ปล่อยให้อาการรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ช็อก หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ แล้วผู้ป่วยเบาหวานควรทำอย่างไรเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ป้องกันได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

ภาวะน้ำตาลต่ำหรือน้ำตาลตก คืออะไร มีอาการอย่างไร

ภาวะน้ำตาลต่ำ (Hypoglycaemia) หรือน้ำตาลตก นั้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่พบได้มากในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes) ซึ่งใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือฉีดยาอินซูลิน 

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ราว 3.9 มิลลิโมลต่อลิตร) ส่วนภาวะน้ำตาลต่ำในคนทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเบาหวานนั้นจะต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ราว 3.1 มิลลิโมลต่อลิตร)

ผู้ป่วยเบาหวานที่น้ำตาลในเลือดต่ำบางรายอาจไม่พบหรือไม่สังเกตเห็นอาการ บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง และยังอาจพบอาการตอนกลางคืนหรือตอนนอนได้ด้วย ดังนี้

สัญญาณเตือนอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ 

  • ผิวดูซีด
  • รู้สึกหิวมาก อยากอาหาร
  • อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  • ตัวสั่น มือสั่น เหงื่อออก
  • ปวดศีรษะ วิงเวียนคล้ายจะหมดสติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว
  • สับสน มึนงง ไม่มีสมาธิ
  • กระสับกระส่าย วิตกกังวล
  • ชาหรือรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มแทงที่ริมฝีปาก ลิ้น แก้ม

อาการน้ำตาลในเลือดต่ำตอนกลางคืน

  • นอนไม่หลับ 
  • นอนฝันร้าย 
  • ร้องไห้ขณะนอนหลับ
  • เหงื่อออกมากจนเปียกชุ่มชุดนอนหรือผ้าปูที่นอน
  • เหนื่อยล้า สับสน หรือกระสับกระส่ายหลังตื่นนอน

อาการน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรง 

  • ร่างกายทำงานไม่สมดุลกัน 
  • มีปัญหาในการพูดหรือพูดไม่ชัด
  • มองเห็นเป็นภาพเบลอ ภาพซ้อน หรือเหมือนมองผ่านอุโมงค์
  • ทานอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ง่วงซึม มีอาการสับสน ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • เมื่อไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเสี่ยงต่ออาการชัก หมดสติ หรือเสียชีวิต แต่พบได้น้อยมาก 

กรณีผู้ป่วยเบาหวานเผชิญกับน้ำตาลในเลือดต่ำหลายครั้งในสัปดาห์เดียว อาจส่งผลต่อระบบความจำ ทำให้ความจำเสื่อม สมองพิการชั่วคราวหรือถาวร หรือหลับไม่ตื่นได้ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับการรักษาหรือตัวยาให้เหมาะสมมากขึ้น 

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานถึงน้ำตาลตก น้ำตาลในเลือดต่ำ

น้ำตาล (Glucose) ที่ร่างกายได้รับนั้นมักมาจากอาหาร เมื่อผู้ป่วยเบาหวานผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ ก็ต้องฉีดอินซูลินหรือทานยากระตุ้นการหลั่งอินซูลินเพิ่มเติม เพื่อช่วยแปลงน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน 

แต่หากปริมาณอินซูลินมากเกินไป หรือทานยาดังกล่าวแล้วไม่ปรับพฤติกรรมให้สมดุลกัน ก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงนั่นเอง ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำตาลต่ำจากพฤติกรรมที่ไม่สมดุลกับการใช้ยา เช่น 

  • ทานอาหารไม่เพียงพอ 
  • อดทานอาหารบางมื้อ 
  • ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น แต่ยังทานอาหารเท่าเดิมหรือไม่ปรับปริมาณการใช้ยา
  • ดื่มแอลกอฮอล์ตอนท้องว่างหรือดื่มมากเกินไป 

คนปกติทำไมน้ำตาลในเลือดต่ำ เหมือนคนเป็นเบาหวานไหม

น้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะที่พบได้ทั้งในคนทั่วไป และผู้ป่วยเบาหวาน เพียงแค่ว่าจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดยาอินซูลิน รวมถึงยารักษาเบาหวานชนิดทาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป 

โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ 

  • อายุน้อย หรืออายุมากกว่า 60 ปี 
  • ป่วยเป็นเบาหวานนานกว่า 10 ปี
  • ใช้ยาหลายชนิด
  • ใช้ยากระตุ้นการหลั่งอินซูลินกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) เช่น ยาไกลพิไซด์ (Glipizide) ยาไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) หรือยาไกลบูไรด์ (Glyburide)
  • มีปัญหาการทำงานของตับและไต ป่วยเป็นโรคตับหรือโรคไต
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1

ไม่เคยมีอาการ ไม่เป็นเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยง เช็กก่อน แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน ใกล้บ้านที่ HDmall.co.th โปรดีมีจำกัด รีบเลย!

เมื่อผู้ป่วยเบาหวานน้ำตาลตก ควรทำอย่างไร

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถบรรเทาอาการน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่รุนแรงได้ด้วยการเติมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย โดยเน้นอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว ตามสูตร 15 (กรัม) : 15 (นาที) : 15 (กรัม)

1. ทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม จะเทียบเท่ากับอาหารและเครื่องดื่มอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ลูกอม 23 เม็ด
  • น้ำผึ้งหรือน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
  • ส้ม 2 ลูก หรือกล้วย 12 ลูก
  • ขนมปัง 1 แผ่น
  • ไอศกรีม 2 สกูป
  • น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม ปริมาณ 180 มิลลิลิตร 1 แก้ว
  • น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว      

2. เวลา 15 นาทีหลังทานคาร์โบไฮเดรต แนะนำให้วัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแล้ว ให้ทานอาหารที่ช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดอย่างแซนด์วิช หรือทานอาหารมื้อหลักทันทีที่ถึงเวลา

3. ทานคาร์โบไฮเดรตซ้ำอีก 15 กรัม หากทานคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมแรกแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดยังต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หลังทานให้รอ 15 นาทีแล้วจึงตรวจวัดระดับน้ำตาลอีกครั้ง

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นเด็กอาจต้องปรับลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง เพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายตามที่แพทย์แนะนำ เช่น เด็กโตทานน้อยกว่า 15 กรัม เด็กเล็กทานน้อยกว่า 10 กรัม และเด็กทารกทานน้อยกว่า 8 กรัม

ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นภายใน 1520 นาที กรณีที่อาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงจนพูดไม่รู้เรื่อง ชัก หมดสติ ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที ไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอาหารหรือน้ำเด็ดขาด ป้องกันอาหารติดหลอดลมหรือสำลัก  

วิธีป้องกันน้ำตาลตกในผู้ป่วยเบาหวาน 

หลักการสำคัญในการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานนั้นอยู่ที่ความสมดุลระหว่างการใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือดและการปรับพฤติกรรมอย่างพอดี

โดยควรใช้ยาทั้งอิซูนลินและยาทานต่าง ๆ ในปริมาณตามที่แพทย์สั่ง ให้สอดคล้องกับปริมาณอาหารมื้อหลักและมื้อรอง รวมถึงปริมาณการออกกำลังกายในแต่ละวัน เพื่อให้น้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกายและน้ำตาลที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานอยู่ในระดับที่สมดุลกัน เช่น

  • พกอาหารมื้อเล็ก ๆ ผลไม้ หรือของว่างติดตัวไว้เสมอ
  • ไม่งดอาหารหรือทาอาหารช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้
  • ทานของว่างเพิ่มขึ้นหากออกกำลังกายมากกว่าปกติ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ หากจำเป็นควรดื่มพร้อมทานของว่างไปด้วยไม่ให้ท้องว่าง

การหมั่นสังเกตความผิดปกติ จดบันทึกอาการ และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วอยู่เสมอ จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น จนความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือน้ำตาลตกนั้นลดน้อยลงได้

หน้ามืดเหมือนน้ำตาลตก จะเป็นเบาหวานมั้ยเนี่ย? เช็กด่วน แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน ใกล้บ้านที่ HDmall.co.th ราคาโปรจะหมดแล้ว รีบเลย!

Scroll to Top