การตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์การแข็งตัวของเลือด หรือที่เรียกว่า Coagulogram เป็นการตรวจเพื่อดูว่าระบบการแข็งตัวของเลือดทำงานได้ปกติหรือไม่ การตรวจนี้มีหลายตัวชี้วัดที่สำคัญ ได้แก่ APTT, PT, และ TT แต่ละตัวชี้วัดมีหน้าที่ในการบอกข้อมูลที่แตกต่างกัน
สารบัญ
1. COAGULOGRAM
คำแนะนำวิธีส่งเลือด : แช่น้ำแข็งขณะนำส่ง (citrate blood 2.7 ml. จุกสีฟ้า mix)
วัตถุประสงค์
เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างตารางในการนำเลือดไปตรวจสอบวัดผลการรักษาอาการเลือดไหลไม่หยุด หรือเลือดขาดคุณสมบัติในการสร้างลิ่มเลือด (clotting) ซึ่งอาจเป็นอันตรายในกรณีที่หากเกิดบาดแผลแล้วเลือดอาจจะไหลออกหมดตัว
COAGULOGRAM จึงอาจถูกเรียกง่ายๆว่า ตารางการสร้างลิ่มเลือด หรือเป็นแบบฟอร์มว่างๆ เพื่อเตรียมไว้ให้แพทย์ท่านกรอกระบุว่า จะเจาะตรวจเลือดตัวใดบ้าง
คำอธิบายอย่างสรุป
- COAGULOGRAM คือ การใช้ตารางช่วยความจำเพื่อลงบันทึกการรักษาหรือการแก้ไขสภาวะเลือดใสเกินไป โปรดดูตัวอย่างตาราง COAGULOGRAM ของการรักษาผู้ป่วยรายหนึ่งในหน้าถัดไป
- คำอธิบายตาราง COAGULOGRAM (ในตัวอย่าง)
- บรรทัดบนช่องแรก ที่พิมพ์ว่า “Hemostasis indicators” นั้นหมายความว่า “ตัวบ่งชี้ปัจจัยต่อการไหลออกของเลือด” ซึ่งจะแสดงผลถึงการไหลของเลือดว่า ไหลออกเร็ว ช้า หรือหยุดไหล ด้วยมีปัจจัยใดแสดงให้เห็นบ้างทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ในช่องนี้จะมีตัวบ่งชี้หลายตัวที่เรารู้จักผ่านตากันมาแล้วที่เกี่ยวข้องกับการไหลหรือหยุดของเลือด เช่น
- Hematocrit คือ ความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดง หากมีความหนาแน่นมากก็จะมีส่วนช่วยให้เลือดหยุดไหลง่าย ถ้ามีน้อยเลือดก็หยุดไหลยาก
- Blood clotting time ซึ่งเป็นค่าเวลามาตรฐานที่ใช้อ้างอิงว่าเลือดควรจะแข็งตัวด้วยเวลานานเท่าใด
- Retraction of blood clot ซึ่งเป็นค่าการยุบตัวของก้อนเลือด
- นอกจากนั้น ยังมีตัวบ่งชี้อื่นๆ ที่แพทย์ผู้ตรวจ ท่านเห็นสมควรนำมาใช้พิจารณาในแต่ละกรณีของผู้ป่วย ดังนั้น COAGULOGRAM ของแต่ละคนจึงอาจใช้ตัวบ่งชี้ต่างกัน โดยเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องล้วงลึก จดจำหรือทำความเข้าใจแต่อย่างใด
- บรรทัดบนในช่องที่สอง ที่พิมพ์คำว่า “Norm” ก็คือ normal หมายความว่า “ค่าปกติของปัจจัยตัวบ่งชี้แต่ละตัว”
- บรรทัดบนในช่องที่สาม ที่พิมพ์ว่า “Prior to therapy” หมายความว่า “ค่าที่ควรตรวจพบได้ก่อนการำบัดรักษา”
- บรรทัดบนในช่องถัดไป ก็จะเสดงผลการใช้ยารักษาโดยระบุจำนวนวันที่ตรวจ ตามที่แพทย์ผู้ดูแลรักษาท่านจะเห็นสมควร
- คำว่า “แช่น้ำแข็งขณะนำส่ง (citrate blood 2.7 ml. จุกสีฟ้า mix)” นั้นหมายความว่า เป็นคำแนะนำเจ้าหน้าที่ผู้เจาะดูดเลือดจากตัวเราให้ปฏิบัติดังนี้
- ดูดเลือดออกมาเพียง 2.7
- ให้ใส่น้ำยา Sodium Citrate เพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว (เนื่องจากน้ำยามีหลายชนิด)
- ให้ปิดหลอดที่บรรจุเลือดด้วยจุกหรือฝาครอบ สีฟ้า
- mix ก็คือให้เขย่าเลือดและน้ำยาผสมกันอย่างสมบูรณ์
- ให้นำหลอดเลือดแช่ลงในน้ำแข็งตลอดเวลาขณะนำส่งห้องปฏิบัติการ (laboratory)
2. Activated partial thromboplastin time (APTT)
วัตถุประสงค์
เพื่อตรวจสอบการสร้างลิ่มเลือดของบุคคลที่มีเลือดคน (ซึ่งอาจเป็นอันตรายจากสภาวะเสี่ยงโดยโรคหลอดเลือดหัวใจ) ว่าหากใช้น้ำยาเคมีพิเศษจะช่วยทดสอบกับเลือดที่ถูกดูดออกมาใส่หลอดแก้วของผู้นี้แล้วจะใช้เวลากี่วินาทีเลือดจึงจะแข็งตัว เช่น 30 วินาที
ทั้งนี้โดยหากเมื่อกินยาชนิดที่ช่วยให้ลิ่มเลือดละลายตัวแล้วควรรออีกประมาณ 60 นาทีจึงทำการทดสอบ APTT ใหม่อีกครั้งหนึ่งเช่นคราวนี้อาจจะได้ผลว่าทำให้เลือดแข็งตัวในเวลา 70 วินาที
คำอธิบายอย่างสรุป
- APTT ย่อมาจากคำว่า “activated partial thromboplastin time”Thromboplastin คือ บรรดาโปรตีนทั้งหลายที่อยู่ภายใน (ผนัง) หลอดเลือดทั้งโปรตีนในตัวผนังหลอดเลือดเองทั้งเกร็ดเลือดและทางเซลล์เม็ดเลือดนับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นจากระบบภายในร่างกาย (intrinsic system) เองแท้ๆ ที่จุดชนวนช่วยสร้างสภาวะลิ่มเลือดโดยเริ่มมาตั้งแต่ทำให้เลือดคนบางตำราจึงเรียก thromboplastin ว่าเป็นองค์ประกอบจากเนื้อเยื้อ (tissue factor)
- Partial คือบางส่วน
- Activated คือที่ทำให้เกิดขึ้น
- Time คือเวลา (นับเป็นวินาที)
ดังนั้น APTT คือ เวลานับที่เป็นวินาทีที่ได้จากการทดสอบ เพื่อจะทราบว่าเมื่อใส่สารเคมี (น้ำยา) มาตรฐานลงไปแล้วเลือดมันจะแข็งตัวด้วยเวลากี่วินาที
หากไม่ใช้น้ำยามาตรฐานจากควบคุมเวลายากและใช้เวลานานเกินไป เวลาเป็นวินาทีที่ได้จากการทดสอบเลือกดังกล่าวของแต่ละคนนี้ย่อมไม่เท่ากันแต่ที่สำคัญคืออาจใช้เป็นปัจจัยในการวินิจฉัยว่าเลือด ข้นหรือ ใส เกินไปหรือไม่
เลือดข้นเกินไป ย่อมเกิดอันตรายในสภาวะเสี่ยงจากการอุดตันภายในหลอดเลือดที่หัวใจหรือสมองทำให้อาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคสมองขาดเลือด
เลือดใสเกินไปก็ย่อมเกิดภาวะเสี่ยงของการไหลออกไม่หยุดของเลือดเมื่อเกิดบาดแผลภายนอกหรือภายในร่างกายก็ตาม
- คำในวงเล็บที่ว่า “ratio” นั้นคือ อัตราส่วนของเวลาภายหลังการกินยาที่ทำให้เลือดใสต่อเวลาเดิมยังได้อธิบายความหมายแล้วในหัวข้อวัตถุประสงค์
ค่าปกติของ APTT และของ ratio
APTT = 30-40 sec
Ration = 1.5-2.5
ค่าวิกฤตของ APTT
APTT: >70 sec >70 sec
ค่าผิดปกติของ APTT
- ในทางน้อย (เวลาสั้น) อาจแสดงผลว่า
- เลือดข้นเกินไป เนื่องจากอาจกำลังเกิดสภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปภายในหลอดเลือด (disseminated intravascular coagulation, DIC) ก็ได้ซึ่งย่อมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
- อาจกำลังมีการก่อตัวของโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งตามตำราแจ้งว่าข้อมูลตรงนี้ยังไม่ใคร่ทราบกันแพร่หลายมากนัก
- ในทางมาก (เวลานานกว่าปกติ) อาจแสดงผลว่า
- เลือดใสเกินไปอาจขาดโปรตีนสำคัญบางตัวในกระแสเลือด
- อาจเกิดโรคตับแข็ง (cirrhosis of liver)
- อาจขาดวิตามิน เค
- อ่านมียาเฮพาริน (ทำให้เลือดใส) ตกค้าง
- อาจเกิดบาดแผลและเลือดหยุดไหลยาก
ข้อสรุปกรณีของคนมีน้ำเลือดใสหรือข้นกว่าปกตินั้นอาจเป็นคุณสมบัติปกติเฉพาะบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ได้ดังนั้นการพิจารณาเพียงค่าเวลาปกติคือ 30 – 40 วินาทีจึงอาจผิดพลาดคาดเคลื่อนได้โดยเหตุนี้จึงควรพิจารณาจากอัตราส่วนที่ได้มาจากการคำนวณง่ายๆที่ว่า
อัตราส่วน = หากได้ค่าอัตราส่วนอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงควรถือว่าน่าพอใจกว่าค่าเวลา APTT ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. Prothrombin Time (PT)
วัตถุประสงค์
เพื่อทราบระยะเวลาเป็น วินาที ที่เลือดซึ่งดูดมาใส่หลอดแก้วจะแข็งตัวโดยอาศัยตัวช่วยจาก ระบบปัจจัยภายนอก (extrinsic system) มาเพิ่มเติมทั้งนี้ด้วยการเติมน้ำยาแคลเซียมมาตรฐานตัวหนึ่งและเรียกปฏิกิริยานี้ว่า “recalcification” ให้เกิดในเลือด แล้วจึงจับช่วงเวลาการแข็งตัว
วัตถุประสงค์ทั่วไป คล้ายคลึงกับการหาค่า APTT ต่างกันตรงที่ใช้ปัจจัยภายใน หรือภายนอก ซึ่งมาช่วยให้เกิดการแข็งตัวของเลือดเท่านั้น การตรวจเลือดในข้อนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีพยาธิสภาพของโรคหัวใจ
คำอธิบายอย่างสรุป
- PT ย่อมาจากคำว่า “Prothrombin Time”Prothrombin เป็นสารประกอบผสมของโปรตีนและน้ำตาล (glycoprotein) ที่ลอยอยู่ในพลาสมา Prothrombin เป็นสารตั้งต้นของ thrombin ซึ่งอาจเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในปฏิกิริยาเปลี่ยนโปรตีนตัวหนึ่งชื่อ “fibrinogen” (ปกติลอยอยู่ในน้ำเลือด) ไปสร้างให้เป็น “fibrin” ซึ่งก็คือลิ่มเลือดที่ปิด หรืออุดรอยเปิดของบาดแผลจนเราเห็นกลายเป็นรอยแผลนูนๆ ขึ้นมาเมื่อแผลหายสนิทแล้วนั่นเองPT จึงเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้จากการทดสอบเลือดที่เจาะเอามาใส่หลอดแก้วภายหลังการเติมน้ำยาแคลเซียมลงในเลือดจนปรากฏผลว่า เลือดแข็งตัว ซึ่งในคนที่มีสุขภาพเลือดเป็นปกติก็จะมีช่วงเวลามาตรฐานอยู่ค่าหนึ่งคือประมาณ 12 วินาที
- แต่ในน้ำเลือดที่ข้นของคนบางคนก็จะแข็งตัวเร็ว ต่อเมื่อให้กินยาละลายลิ่มเลือด (อย่างเดียวกันกับที่หาค่า APTT) ก็จะทำให้จับเวลาของช่วงการที่เลือดจะแข็งตัวยาวนานขึ้น
ในการนี้ หากนำค่าเวลาทั้งสองมาทำเป็นอัตราส่วน คืออัตราส่วน = เวลาแข็งตัวของเลือดหลังจากกินยา/เวลาแข็งตัวของเลือดตามปกติก่อนกินยา - อัตราส่วนนี้อาจใช้เป็นดัชนีชี้ว่า น้ำเลือดมีความข้นมากเกินไปหรือไม่เนื่องจากความข้นของเลือดจะเป็นอันตรายต่อการปิด-เปิดของลิ้น (valve) ระหว่างห้องของหัวใจ และทำให้หัวใจต้องออกแรงมากขึ้นในการส่งเลือดดำไปยังปอด แม้แต่ส่งเลือดแดงไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
- องค์การอนามัยโลก (World Health Organization,WHO) ได้ประกาศให้นานาชาติใช้ค่าอัตราส่วนมาตรฐาน ตั้งแต่เมื่อปี 1983 เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือให้เลือดลดความข้น โดยให้เรียกค่านี้ว่า “อัตราส่วนปกติมาตรฐานนานาชาติ” (International Normalized Ratio) ใช้คำเรียกย่อๆว่า “INR”
WHO กำหนให้ค่า INR ว่าควรอยู่ระหว่าง 2.0-3.5
ทั้งนี้ WHO ยืนยันว่า ค่า INR ที่ได้กำหนดไว้นี้ใช้ได้กับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นสั่นรัว (atrial fibrillation) ผู้ป่วยใช้ลิ้นหัวใจเทียม (artificial heartvalves) และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำอักเสบมีลิ่มเลือด (thromboplebitis)
ค่าปกติของ PT และ INR
- ให้ยึดถือตามค่าที่แสดงไว้ในในรายงานผลการตรวจเลือด (ถ้ามี)
- ค่าปกติทั่วไป
PT = 11.0-12.5 sec
INR = 2-3.5
ค่าผิดปกติของ PT
- ค่าผิดปกติในทางที่ยาวนานขึ้น อาจแสดงผลว่า
- อาจเกิดโรคตับ (เช่นตับแข็งตับอักเสบ ฯลฯ ) เนื่องจากตับเป็นผู้สร้างสารประกอบให้เกิดลิ่มเลือด (coagulation factors) แต่เมื่อตับอักเสบจึงอาจสร้างสารตัวนี้ได้ไม่พอเพียง
- อาจขาดวิตามิน เค
- ท่อน้ำดีอาจถูกปิดกั้นเนื่องจากวิตามิน เค จะถูกผลิตและส่งออกมาใช้ทางท่อน้ำดีเมื่อท่อน้ำดีผ่านไม่สะดวกจึงทำให้วิตามิน เค ไม่พอใช้
- ผู้รับการตรวจอ่านมีสู่ภาวะปกติของตนเองที่แตกต่างจากผู้อื่นกล่าวคือปกติเลือดอาจจะใสเกินไป
- ค่าผิดปกติในทางที่ใช้เวลาน้อยกว่าปกติ อาจแสดงผล
- เลือดอาจยังข้นเกินไป
- อาจมีโรคเกี่ยวกับตับที่ผลิตโปรตีนส่งมาสู่กระแสเลือดมากเกินไป
ค่าผิดปกติของ INR
- ค่าผิดปกติในทางมาก อาจบงชี้ว่าเลือดใสเกินไป
- ถ้าผิดปกติในทางน้อย อาจบ่งชี้ว่าเลือดคนมากจนอาจมีลิ่มเลือด
4. Thrombin time (TT)
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบว่า fibrinogen ซึ่งเป็นโปรตีนในกระแสเลือดที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างลิ่มเลือดมีสภาวะว่าเป็นปกติหรือไม่? เนื่องจากว่า thrombin นั้นเป็นเอ็นไซม์ที่จะช่วยเปลี่ยน fibrinogen ให้เป็น fibrin (ลิ่มเลือดที่อุดบาดแผล)
การตรวจเลือดในข้อนี้จึงเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติของเอนไซม์ thrombin ซึ่งจะมีผลต่อการสร้าง fibrin นั่นเอง
สรุปว่าการตรวจเลือดในหัวข้อนี้เป็นการตรวจประสิทธิภาพของเอนไซม์ทรอมบิน ซึ่งแตกต่างจากการตรวจปัจจัยภายใน (APTT) และปัจจัยภายนอก (PT) ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทช่วยเลือกให้แข็งตัวเป็นลิ่มเลือดด้วยกันทั้งสิ้น
คำอธิบายอย่างสรุป
- TT คือ thrombin time
- การเจาะเลือดออกมาใช้ตรวจสอบก็กระทำคล้ายคลึงกับการตรวจหาค่า APTT และ PT แต่เมื่อได้เลือดออกมาอยู่ในหลอดแก้วแล้วจึงจะทดสอบด้วยการเติมน้ำยาเอนไซม์ทรอมบินมาตรฐานที่ผลิตจากมนุษย์ (standard human thrombin) หรือจากวัว (standard bovine thrombin) ซึ่งจะมีผลทำให้เลือดแข็งภายใน 2-3 วินาทีในกรณีเป็นเลือดของผู้มีสุขภาพเป็นปกติ
- ในกรณีต้องการทราบ thrombin ratio ก็ให้ผู้ถูกตรวจสอบกินยาละลายลิ่มเลือดประมาณ 60 นาทีแล้วเจาะเลือดออกมาตรวจใหม่ด้วยวิธีการเติมน้ำยาอย่างเดิมซึ่งย่อมจะได้ระยะเวลาที่ยาวขึ้น
เอาเวลาเป็นวินาทีหลังกินยา หารด้วยเวลาเป็นวินาทีก่อนกินยาก็จะได้ตัวเลขของอัตราส่วนเวลาที่ เรียกว่า thrombin time ratio
ค่าปกติของ TT และ TT ratio
- TT : 2 – 3 sec
- TT ratio : ให้ยึดถือตามค่ามาตรฐานปกติของใบรายงานผลการตรวจเลือด
ค่าผิดปกติทางน้อยและมาก ก็อาจแสดงผลคล้ายคลึงกับผลของ APTT และ PT ที่กล่าวถึงมาแล้ว