ลูกหว้า ข้อมูล สรรพคุณ ข้อควรระวัง วิธีใช้เพื่อสุขภาพ

ลูกหว้า เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานออกฝาดเล็กน้อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินหลายชนิด ไม่เพียงแต่เฉพาะส่วนผลที่รับประทานเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ ส่วนอื่นๆ จากต้นหว้าก็มีสรรพคุณทางยาเช่นกัน

ต้นหว้าจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยปลูกมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ลูกหว้ามีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น ห้าขี้แพะ หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกหว้า

ลูกหว้าดิบต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ลูกหว้าต้านมะเร็งได้จริงหรือไม่?

ลูกหว้า มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่มแอนโธไซยานิน กรดเอลลาจิก กรดเฟอรูลิก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สารกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งชนิดต่างๆ และยังพบว่าสารสกัดจากลูกหว้ามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องคลอดและเซลล์มะเร็งเต้านมได้ แต่การศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในหลอดทดลองเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในระดับคลินิกด้วย จึงจะช่วยยืนยันฤทธิ์ต้านมะเร็งของลูกหว้าได้

สรรพคุณของลูกหว้า

ลูกหว้ามีสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • ประโยชน์ทางยา ใช้เปลือกมีรสฝาดรับประทานเป็นยาแก้บิด ต้มในน้ำเดือด แล้วอมแก้ปากเปื่อย คอเปื่อยและเป็นเม็ดแก้น้ำลายเหนียว
  • แพทย์พื้นบ้าน ใช้ใบและผล แก้บิดและท้องร่วง แก้ถ่ายเป็นมูกเลือด ต้มใบและผลในน้ำเดือด รับประทานหลังมีอาการ
  • เมล็ดในลูกหว้า แก้ปัสสาวะมาก แก้ท้องร่วงและบิด และถอนพิษแสลงใจ (พิษแสลงใจ หมายถึงอาการใจหวิว ใจสั่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ) ต้มในน้ำเดือด รับประทานหลังมีอาการ
  • ใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ หรือนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้

การใช้หว้าปรุงอาหาร

ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ ผลอ่อนมีสีแดง เมื่อผลแก่จัด มีสีดำม่วง รับประทานเป็นของหวาน และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ ส่วนน้ำจากลูกหว้าถือเป็นน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ

ข้อควรระวังในด้านรับประทานลูกหว้า

แม้ลูกหว้าจะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่ในการนำมารับประทานก็มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกหว้าเพื่อสรรพคุณทางยา เนื่องจากยังไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่เพียงพอจะยืนยันความปลอดภัยของการใช้ลูกหว้ารักษาปัญหาสุขภาพในสตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการรับประทานลูกหว้า ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค เนื่องจากลูกหว้าดิบ 100 กรัม ให้พลังงานถึง 60 กิโลแคลอรี

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร

Scroll to Top