โกโก้ มีคาเฟอีนไหม ดีต่อสุขภาพอย่างไร

คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อ “โกโก้” หรือ “ช็อกโกแลต” ที่เป็นของหวานสุดโปรดของใครหลายๆ คน แต่จะมีใครรู้บ้างว่า แหล่งกำเนิดของโกโก้นั้นมาจากไหน และนอกจากความอร่อยแล้ว การรับประทานโกโก้มีประโยชน์ หรือโทษต่อร่างกายอย่างไรบ้าง โกโก้ มีคาเฟอีนไหม ไปติดตามอ่านกันเลย

คุณค่าทางโภชนาการ

ผงโกโก้ (Cocoa Powder) ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (5.4 กรัม)

ผงโกโก้ ปริมาณ 100 กรัม

  • พลังงาน 228 กิโลแคลอรี่
  • โปรตีน 19.60 กรัม
  • ไขมัน 13.70 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 57.90 กรัม
  • ไฟเบอร์ 37 กรัม
  • น้ำตาล 1.75 กรัม
  • คาเฟอีน 230 มิลลิกรัม
  • ทีโอโบรมีน 2060 มิลลิกรัม
  • ฟีนิลอะลานีน 0.941 กรัม

Source: USDA Database

โกโก้ มีคาเฟอีนไหม ?

โกโก้ มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ โดย 1 ช้อนโต๊ะ (5.4 กรัม) จะมีคาเฟอีนปริมาณ 12 มิลลิกรัม และสารกระตุ้นอื่นอย่าง ทีโอโบรมีน ซึ่งโดยรวมจะมีผลน้อยกว่ากาแฟในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

ผงกาแฟแห้งที่ 1 กรัม จะมีปริมาณคาเฟอีน 31.4 มิลลิกรัม (ไม่มีสารทีโอโบรมีน) [Source]

ประโยชน์ของโกโก้ต่อสุขภาพ

  • โกโก้อุดมด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย หรือเกิดความบาดเจ็บเสียหาย และช่วยลดการอักเสบได้ดี
  • ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง ยืดหยุ่น และป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน เพราะโกโก้สามารถเพิ่มไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) และลดปริมาณไขมันชนิดไม่ดี (Low Density Lipoprotein: LDL) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองได้
  • ในโกโก้ และช็อกโกแลต อุดมไปด้วยกรดอะมิโน tryptophan ที่ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่ง serotonin ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และไม่เครียด
  • โกโก้มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับคาเฟอีน ชื่อว่า “ทีโอโบรมีน (Theobromine) และ “ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine)” จึงช่วยกระตุ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด ทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า อีกทั้งมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการหอบหืด ผู้ที่ไวต่อสารคาเฟอีนก็ไม่ต้องตกใจ เพราะส่วนประกอบที่เป็นสารคาเฟอีนในโกโก้นั้นมีอยู่ในปริมาณน้อยมาก
  • ผงโกโก้ที่ไม่ผสมน้ำตาลนั้นมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในรูปไฟเบอร์ที่สูงมากกว่าน้ำตาล ดังนั้นจึงทำให้อยากอาหารน้อยลง เหมาะแก่การควบคุมน้ำหนัก

โทษของโกโก้ต่อสุขภาพ

  • การรับประทานช็อกโกแลต หรือโกโก้ซึ่งอุดมด้วยไขมันปริมาณมาก แล้วหากเพิ่มนม หรือน้ำตาลเข้าไปอีก ก็จะส่งผลให้ระดับไขมัน และน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจได้
  • ในโกโก้มีสารทีโอโบรมีนสูง ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับคาเฟอีนอ่อนๆ การรับประทานโกโก้มากๆ จึงอาจทำให้เกิดอาการใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมากกว่าปกติ นอนไม่หลับ และเวียนหัวได้
  • คนที่แพ้คาเฟอีน ปวดหัวหลังดื่มกาแฟ อาจทานโกโก้ได้บ้าง แต่ควรระวังการทานโกโก้ในปริมาณที่มากเกินไป

บริโภคโกโก้ในรูปแบบไหนได้บ้าง?

  • ผงโกโก้ และผงช็อกโกแลต เมื่อ Cocoa nib ผ่านกระบวนการบด และให้ความร้อน จะกลายเป็นของเหลวเหนียวหนืด ซึ่งเรียกว่า “Cocoa liquor” ใน Cocoa liquor จะมีไขมันโกโก้ผสมอยู่ ทำให้มีรสหอม มัน แต่ราคาค่อนข้างแพง หาก Cocoa liquor ถูกแปรรูปเป็นผงโดยไม่ได้รีดไขมันโกโก้ออก เราจะเรียกว่า “ผงช็อกโกแลต” แต่หากรีดไขมันออกจนเหลือเพียง 0-25% แล้วค่อยทำเป็นผง เราจะเรียกว่า “ผงโกโก้” ซึ่งผงแปรรูปทั้ง 2 ชนิด สามารถนำมาชงเป็นเครื่องดื่มร้อน-เย็น ใช้ทำขนม เช่น เค้ก คุกกี้ ให้รสชาติเข้มข้นหอมอร่อย
  • ช็อกโกแลตแท่ง เกิดจากการนำ Cocoa liquor ไปขึ้นรูป ซึ่งหากไม่มีการเติมส่วนผสมอื่น เช่น น้ำตาล หรือเม็ดผลไม้ ก็จะกลายเป็นดาร์กช็อกโกแลต 100% ที่มีรสชาติขม และมักใช้ทำขนมมากกว่านำมารับประทานเปล่าๆ แต่หากมีการเติมนม หรือน้ำตาลลงไป ก็จะได้ช็อกโกแลตแท่งที่มีรสชาติหวานอมขม และหอมมันอร่อย
  • นมช็อกโกแลต เป็นการนำ Cocoa liquor ไปผสมกับนมสดและน้ำตาล จนได้นมรสช็อกโกแลตรสชาติหวานมัน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน

หากคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ควรเลือกรับประทานโกโก้ในรูปแบบดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งมีปริมาณเนื้อโกโก้สูง และมีไขมันจากนมกับน้ำตาลต่ำ แม้รสชาติจะขมไปบ้าง แต่ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าช็อกโกแลตนม และไวท์ช็อกโกแลตอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ควรเลือกเครื่องดื่มที่ชงจากผงโกโก้ เช่น โกโก้ร้อน โกโก้เย็น ก็ควรเลือกสูตรที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบดีกว่าชงจากผงช็อกโกแลต เนื่องจากผงโกโก้มีปริมาณไขมันน้อยกว่า เราจึงสามารถดื่มด่ำกับรสและกลิ่นที่โปรดปรานได้ โดยไม่ต้องกลัวอ้วน หรือไขมันส่วนเกิน


เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจเบาหวาน

Scroll to Top