การฟอกสีฟันเป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนฟันเหลืองหรือฟันคล้ำ ให้กลับมามีสีสว่างสดใสเหมือนเดิม แม้การฟอกสีฟันจะปลอดภัย แต่แน่นอนว่าทุกการลงทุนก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
ต่อไปนี้คือข้อควรรู้และความเสี่ยงที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจฟอกสีฟัน
สารบัญ
ฟอกสีฟันคืออะไร?
ฟอกสีฟัน คือการใช้น้ำยาหรือเจลที่มีส่วนผสมของสารฟอกขาวทาบริเวณฟัน สารฟอกขาวจะซึมเข้าชั้นเคลือบฟันและแตกตัวเม็ดสีออก ทำให้ฟันดูขาวขึ้น
หากทำการฟอกสีฟันที่คลินิก อาจมีการใช้แสงกระตุ้นเพื่อเร่งปฏิกริยาของสารฟอกขาว ส่วนมากมักเห็นผลหลังจากฟอกเสร็จได้ทันที
สารฟอกขาวที่นิยมใช้ เช่น ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) และ คาร์บาไมด์ เปอร์ออกไซด์ (Carbamide peroxide)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฟอกสีฟัน
การฟอกสีฟันในปัจจุบันนี้มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการดูแลของทันตแพทย์ แต่อาจมีบางคนที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกสีฟันบ้าง ซึ่งอาการที่พบบ่อยมีดังนี้
1. เสียวฟัน (Tooth Sensitivity)
อาการเสียวฟันเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากระหว่างที่สารฟอกสีฟันซึมเข้าชั้นเคลือบฟันเพื่อแตกตัวเม็ดสี อาจทำให้ปลายประสาทได้รับกระทบทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้
นอกจากนี้หากมีการใช้แสงบางประเภทกระตุ้นปฏิกริยาก็อาจทำให้เกิดความร้อนจนฟันแห้ง ต้นเหตุของอาการเสียวฟันได้เช่นกัน
อาการนี้ควรจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ในช่วงนี้ควรใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ดังนี้
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มร้อนจัด เย็นจัด เช่น ต้มยำ ไอศกรีม น้ำแข็ง เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น มะนาว น้ำส้ม เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
2. ระคายเคืองเหงือก
การระคายเคืองเหงือกอาจเกิดขึ้นหากน้ำยาฟอกสีฟันสัมผัสกับเหงือก หรือริมฝีปาก โดยมักเกิดกับสารฟอกสีฟันที่มีความเข้มข้น 30% ขึ้นไป
บางคนอาจสังเกตเห็นว่าเหงือกเปลี่ยนเป็นสีขาวหลังจากสัมผัสน้ำยา และควรจะค่อยๆ หายไปเองในเวลาอันสั้น
ในกรณีฟอกสีฟันที่คลินิกทันตกรรม ทันตแพทย์จะป้องกันน้ำยาให้อยู่แล้ว แต่หากใช้ชุดฟอกสีฟันที่บ้าน อาจต้องดูให้แน่ใจว่าถาดฟอกสีฟันแนบสนิทกับฟัน เพื่อลดโอกาสที่น้ำยาฟอกสีฟันจะไหลออกมา
3. รู้สึกเจ็บหรือปวดหลังจากฟอกสีฟัน
อาการเจ็บหรือปวดหลังฟอกสีฟัน อาจเกิดในคนที่มีชั้นเคลือบฟันบาง (Sensitive enamel) เมื่อสารเคมีที่ทาบนฟันซึมเข้าไปชั้นลึกขึ้น อาจกระทบกับปลายประสาทจนรู้สึกเจ็บได้ หรือน้ำยาสัมผัสกับเหงือกก็อาจรู้สึกเจ็บได้เช่นกัน
อาการเจ็บหรือปวดถือเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ควรเกิดขึ้น หากรู้สึกเจ็บขณะฟอกสีฟันควรแจ้งทันตแพทย์ทันที ทันตแพทย์อาจรอให้อาการดีขึ้นก่อนค่อยดำเนินการฟอกสีฟันต่อ
บางกรณีทันตแพทย์อาจปรับความเข้มข้นของน้ำยาฟอกสีฟันให้น้อยลง และใช้เวลาในการฟอกสีฟันให้สั้นลงเพื่อลดผลกระทบ
4. เฉดสีไม่ได้ตามต้องการ
ก่อนฟอกสีฟันที่คลินิกทันตกรรม ทันตแพทย์จะพูดคุยถึงเฉดสีที่ต้องการก่อนฟอกสีฟัน แต่ผลลัพธ์การฟอกสีฟันอาจไม่ได้สีเท่ากับเฉดที่เลือกไว้ ขึ้นอยู่กับสีฟันเดิมของแต่ละคน ความเข้มข้นของน้ำยาฟอกสีฟัน
นอกจากนี้หากใครใส่อุปกรณ์ทางทันตกรรมอื่นๆ เช่น ครอบฟัน อุดฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม จะไม่ขาวสว่างขึ้นเหมือนฟันซี่อื่นๆ ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาทางแก
ดังนั้น บางคนอาจต้องใช้ชุดฟอกสีฟันกลับไปฟอกต่อที่บ้าน เพื่อให้ได้เฉดสีที่ต้องการ